ทะเลสาบที่สามารถลบออกซิเจนออกไป
นี่เป็นสิ่งที่น่ากลัวสุดๆ ของ “ทะเลสาบคีวู” คือมันระเบิดได้ และไม่ใช่ระเบิดธรรมดาๆ เพราะระเบิดของทะเลสาบคีวูมีขนาด 55 พันล้านตัน มันจัดเป็นทะเลสาบอันตรายที่สุดในทะเลสาบในชั้น Killer Lake และในแอฟริกามี 5 แห่ง เป็น 3 แห่งที่อันตรายมาก (Lake Kivu, Lake Nyos, Lake Monoun)
ความจริงทะเลสาบคีวูแห่งนี้ไม่เคยระเบิด แต่อีก 2 แห่งเคยมาแล้ว และมีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นล่าสุดกับทะเลสาบไนออส มันเป็นการระเบิดขนาดเล็ก (เมื่อเทียบกับทะเลสาบคีวู) แต่มันเพียงพอที่จะสังหารทุกชีวิตในรัศมี 15 ไมล์ ผลก็คือ มีผู้เสียชีวิต 1,746 คนและ ปศุสัตว์ 3,500 ตัว ยังไม่นับสัตว์ชนิดอื่นๆ …ทั้งหมดขาดอากาศตาย
หากสิ่งที่อยู่ใต้น้ำขึ้นสู่ผิวน้ำ ก๊าซมีเทนที่สะสมอยู่ที่ก้นทะเลสาบถึง 55 พันล้านตัน และยังมีคาร์บอนไดออกไซด์อีกมหาศาล มันจะ “ลบ” ออกซิเจนทั้งหมดในรัศมีหลายสิบไมล์หรืออาจเป็นร้อยไมล์ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ลอยขึ้นมา แต่ที่โชคดีมันอาจจะไม่ติดไฟ เพราะออกซิเจนโดนลบออกไปชั่วคราว (ตายอยู่ดีแค่ศพสวย)
มีการประเมินในสภาพแย่ๆ หากมันระเบิดขึ้นมาอย่างรุนแรง จะมีผู้คนนับล้านต้องตายอย่างไม่รู้ตัว และแม้จะเป็นทะเลสาบในพื้นที่ชนบท แต่ก็มีผู้คนราว 2 ล้านคน “ตกอยู่ในความเสี่ยง” ด้วยเหตุนี้ทะเลสาบแห่งนี้จึงมีฉายาว่า “ทะเลสาบนักฆ่า” และมันเป็นเหมือนคำสาปจริงๆ
ไฟฟ้า 30% สำหรับแอฟริกาตะวันออก
30% ต่อปี ไม่ใช่ประเทศเดียว แต่เป็นประเทศแอฟริกาตะวันออกทั้งหมด เรื่องมันเริ่มจากที่ว่า “ทะเลสาบคีวู” มีก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาล แต่ในความอันตรายสุดขีด ก็ยังมีเรื่องดีๆ อยู่บ้าง
เมื่อพวกเขาพบว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้จากทะเลสาบแห่งนี้ได้อย่างง่ายดาย พวกเขาไม่ต้องใช้ความพยายามเจาะลงดินหรือหาตำแหน่งที่มีก๊าซด้วยซ้ำ เพราะไม่ว่าตรงไหนก็มี แถมยังอาจช่วยลดความอันตรายของมันไปได้บ้าง
และจากประมาณการ หากมีโรงไฟฟ้าลอยน้ำขนาด 100 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง อาจต้องใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าก๊าซมีเทนในทะเลสาบลดลงจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่! ก๊าซพวกนี้ก็เพิ่มขึ้นตามธรรมชาติเช่นกัน .. มันเป็นเหมือนพรที่มอบทรัพยากรสำหรับผลิตไฟฟ้าให้กับพื้นที่แถบนี้ (แม้อเมริกาจะเข้ามาแบ่งก็ตาม)