ในแอฟริกาใต้ ทุ่งอันกว้างใหญ่ของทะเลทรายนามิบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ดูเหมือนวงแหวนนางฟ้า หรือวงกลมนางฟ้า (fairy circles) นับหมื่นนับแสนวง หากมองจากภาพถ่ายวงกลมแต่ละวงอาจดูมาขนาดเล็ก แต่ความจริงพวกมันมีขนาดตั้งแต่ 10 – 65 ฟุต และทอดยาวหลายร้อยกิโลเมตรทั่วทะเลทราย
ทฤษฏีแรกคือ ทะเลทรายนามิบเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งมาก ดังนั้นพืชจึงต้องแข่งขันกันเพื่อทรัพยากร พวกมันยังขัดขวางพืชที่อยู่ห่างไกลออกไปด้วยการขยายรากให้ยาวและดึงน้ำออกจากดิน ด้วยวิธีนี้ พืชพรรณมักจะหายไปที่ขอบของต้นไม้ ทำให้เกิดช่องว่างที่เว้นระยะห่างอย่างสม่ำเสมอ
“คุณดูพวกมันจากภาพถ่ายดาวเทียมและคุณจะคิดว่า มันเข้ากันได้ดีกับทฤษฎีของพืชที่แข่งขันกันเพื่อน้ำ” Tarnita กล่าว “แต่เมื่อคุณลงไปใต้ดินและพบว่าภายใต้วงกลมพวกนี้มีรังปลวกอยู่
แม้ว่าทฤษฎีปลวกจะได้รับการสนับสนุน แต่ก็ไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่าทำไมรูปแบบดังกล่าวถึงสม่ำเสมอและเป็นระเบียบ?
คำตอบของปริศนาที่แท้จริงคือ?
เพื่อหาคำตอบ Tarnita ร่วมมือกับ Rob Ringle นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแมลงที่อยู่กันแบบสังคมกลุ่มใหญ่ (แมลงที่แบ่งออกเป็นวรรณะเฉพาะทางเพื่อสนับสนุนความสำเร็จโดยรวมของอาณานิคม) ขุดอุโมงค์ใต้ดินขนาดใหญ่เพื่อหาอาหารและยังทำลาย พืชพรรณที่อยู่เหนือพวกมัน
อย่างไรก็ตาม เมื่ออาณานิคมหนึ่งบุกรุกอาณาเขตของอีกอาณานิคมหนึ่ง อาณานิคมทั้งสองก็ต่อสู้กันจนฝั่งหนึ่งถูกทำลายอย่างสมบูรณ์ และที่สังเกตคือ จะมีดินแดนที่ไม่มีรังของปลวกอยู่ขั้นกลางระหว่างพวกมัน ซึ่งพื้นที่วางตรงนั้นมันคือวงกลมหรือรอยเท้าเทพเจ้าแห่งนามิบ
แต่ยังมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจมากกว่านี้อีก วงกลมนางฟ้าเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนมาก และด้วยเหตุนี้เอง จึงมีหลายปัจจัยให้ค้นหา Tarnita อธิบาย “คุณต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น สายพันธุ์ต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพืช ระดับของปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ หรือจุลินทรีย์ที่เติบโตในดิน