3 เรื่องน่ารู้ของ ‘สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม’ ตัวแรกของโลก

หลายคนอาจจะคิดว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรก ไม่ได้ปรากฏบนโลกจนกว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปหมดเมื่อ 65 ล้านปีก่อน และบางคนยังเชื่อว่าไดโนเสาร์บางชนิดกลายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ..เรื่องจริงเป็นยังไงเดี๋ยวมาดูกัน

ความจริงนั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรกๆ นั้น มีต้นกำเนิดจากพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างเหมือนสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกว่า Therapsids ในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์กำลังเริ่มครองโลก

แต่การวิวัฒนาการอันรวดเร็วของพวกมันนั้นน่าทึ่งมาก หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว มันใช่เวลาไม่นานที่จะเปลี่ยนสัตว์ที่ตัวเท่าหนูให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก

สาเหตุหลักๆ ที่ทำไมพวกมันถึงยังตัวเล็กมากๆ ในช่วงยุคไดโนเสาร์ หลักๆ คือเพื่อความอยู่รอดของมัน โดยไดโนเสาร์นักล่ามีหลากหลายขนาดมาก ตั้งแต่ตัวเท่าไก่จนอาจยาวเกือบ 20 เมตร และสูงถึง 6-7 เมตร

การที่พวกมันมีตัวเล็กเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะจะได้ไม่อยู่ในสายตาผู้ล่า และไม่ลำบากเรื่องการหาอาหาร แต่ถึงแม้พวกนักล่าอย่าง ไทแรนนอซอรัส หรือ T-Rex จะไม่สนใจมัน แต่มันยังต้องระวังนักล่าขนาดเล็กอย่างแรปเตอร์

1. สิ่งที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างจากสัตว์เลื้อยคลาน

Advertisements

สิ่งแรกคือตัวเมียมีต่อมน้ำนมที่ผลิตให้ตัวอ่อนกิน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนหรือมีในช่วงหนึ่งของชีวิต และมีอุณหภูมิเลือดที่อุ่น นักบรรพชีวิวิทยาสามารถแยกสัตว์เลื้อยคลานโบราณ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมช่วงเวลาเดียวกันได้ง่าย โดยดูจากรูปร่างของกระลูกและกระดูกช่วงคอ

ซึ่งจากข้างต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้เริ่มต้นในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก โดยเริ่มต้นมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่คล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงยุคเพอร์เมียน ซึ่งพวกนี้เป็นสัตว์เลื้อยคลานแต่มีบางส่วนที่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กระโหลกและกระดูกช่วงคอ และในช่วงแรกคาดว่าบางชนิดอาจจะเริ่มพัฒนาให้มีขนแล้วเป็นได้

Advertisements

ปัญหาหลักๆ ของนักบรรพชีวิวิทยานั้นคือ การสืบหารอยต่อในช่วงต้นยุคจูแรสสิก เพราะถ้าเทียบพวกกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงยุคไทรแอสซิก กับช่วงยุคจูแรสสิกแล้ว พบว่ามันมีความต่างกันพอสมควร ทำให้ต้องหารอยต่อที่ขาดหายของช่วงเวลานั้นอีกด้วย

2. ชีวิตช่วงแรกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ในช่วงแรก สัตว์เลื้อยคลานที่คล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดมีขนาดตัวหลากหลาย ตั้งแต่ไม่ถึงเมตรจนบางชนิด 3 เมตร แต่พอเริ่มพัฒนาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันก็เริ่มลดขนาดลง พอในช่วงยุคไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมช่วงนั้นขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าหนู สาเหตุหลักๆก็เพื่อความอยู่รอด

อาหารของพวกมันในช่วงแรกๆ ก็คือพวกเมล็ดพืช สัตว์ขนาดเล็ก แมลง บางทีก็แอบกินไข่ไดโนเสาร์ พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน ชีวิตช่วงแรกของพวกมันนั้นยากลำบาก ทำให้พวกมันต้องอดทนเพื่อรอคอยยุคของพวกมัน

3. ยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่

เรื่องที่น่าประหลาด สิ่งที่เป็นตัวช่วยให้พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรอดจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้นั้นคือ “ฤดูหนาวจากนิวเคลียร์” (Nuclear Winter) ที่ทำลายพืชเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของไดโนเสาร์กินพืช

หลังจากไดโนเสาร์กินพืชตายเนื่องจากไม่มีอาหารกิน จะส่งผลกระทบไปยังไดโนเสาร์กินเนื้อ และอุณหภูมิโลกที่ลดลง ส่งผลอย่างมหาศาลกับไดโนเสาร์ที่ยังรอดจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ส่วนหนึ่งพวกมันรอดเพราะร่างกายที่เล็ก มีขนช่วยให้ความอบอุ่น และยังมีความต้องการอาหารที่น้อยและบางชนิดยังสามารถจำศีลได้

หลังจากไดโนเสาร์จากไป ได้เริ่มต้นยุคใหม่คือยุคซีโนโซอิก ซึ่งช่วงนี้เป็นยุคที่เร่งการวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งสัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อ ซึ่งการวิวัฒนาการนี้ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ อย่างเช่น ยีราฟที่ปรับร่างกายให้มีลำคอที่ยาวเหมือนไดโนเสาร์ซอโรพอด

Advertisements

แต่อย่างนั้นในช่วงแรกพวกมันยังต้องรับมือกับพวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ที่รอดจากการสูญพันธุ์มาได้ รวมถึงทายาทของไดโนเสาร์อย่างนกยักษ์ แต่ถึงอย่างงั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เพิ่มจำนวน และวิวัฒนาการต่อๆ มา จนนำไปสู่มนุษย์ยุคใหม่ในที่สุด

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements