คลิปนี้เกิดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในแอฟริกาใต้ มันเป็นช่วงเวลาที่น่าตกใจและเหลือเชื่อในขณะที่นักท่องเที่ยวกำลังเฝ้าดูควายป่าที่ดูเหมือนกำลังพลัดหลงจากฝูงของมัน และมันกำลังนั่งพักอยู่ แต่แล้วควายป่าดูเหมือนจะสักเกตุเห็นสิ่งผิดปกติ มันจึงยืนขึ้นและรีบเดินออกไป
แต่ดูเหมือนมันจะเหลือแรงไม่มากนัก มันไม่สามารถแม้แต่จะวิ่งหนีอันตรายที่กำลังเข้ามา เพียงเวลาไม่นาน ช้างขนาดใหญ่ก็เข้ามาอยู่ในคลิป มันตรงเข้าหาควายป่าอย่างรวดเร็ว และโจมตีอย่างรุนแรงจนควายป่าแน่นิ่งอยู่ตรงนั้น .. ดูจากคลิป
แม้จะเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่คลิปนี้อาจจะน่ากลัวซะหน่อย ช้างไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศไหน มันคือสัตว์ที่ต้องระวังตัวเสมอ อย่างในไทยก็มีข่าวที่นักท่องเที่ยวโดนช้างเหยียบบ่อยๆ .. หากเจอช้าง อย่าเข้าใกล้ เพราะหากมันคิดทำร้าย เพราะมันวิ่งเร็วกว่ามนุษย์ส่วนใหญ่
ความรู้เพิ่มเติม “ช้างแอฟริกา”
ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน
ช้างแอฟริกาโดย มีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชียมาก ตัวผู้มีความสูงขณะยืนประมาณ 12 ฟุต โดยวัดจากหัวไหล่ และมีน้ำหนักประมาณ 12,000 ปอนด์ ในขณะที่ตัวเมียมีความสูงในขณะยืนประมาณ 10 ฟุต และมีน้ำหนักประมาณ 8,000 – 10,000 ปอนด์ มีใบหูที่ใหญ่กว่าช้างเอเชียมีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย งาของตัวผู้จะมีความสั้นและหนากว่า ขณะที่งาของตัวเมียจะเรียวยาวและบางกว่า และจะงอยที่ปลายงวงจะมี 2 จะงอย
ต่างกับช้างอินเดียที่มีเพียงจะงอยเดียว และมีหน้าผากที่ลาดกว่า จะงอยปากล่างสั้นและกลมกว่าช้างเอเชียที่แคบและยาวกว่า แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุเพียง 50 ปี ซึ่งน้อยกว่าช้างเอเชีย แม้ช้างแอฟริกาจะมีขนาดร่างกายใหญ่และส่วนหัวใหญ่โตกว่าช้างเอเชียก็ตาม แต่ทว่ากลับมีขนาดของสมองเล็กกว่า
ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ทั้งบนภูเขาและที่ราบต่ำ ทั้งบริเวณที่เป็นแนวหินและป่าทึบ สามารถข้ามลำธาร ว่ายน้ำหรือปืนภูเขาสูงได้ดี ชอบอาบน้ำ คลุกโคลนหรือคลุกดินหรือทราย ชอบใช้งวงพ่นดินหรือทรายไปทั่วตัว ชอบอยู่ในป่าโปร่ง ไม่กลัวแสงแดด
เป็นช้างที่มีอุปนิสัยดุร้ายกว่าช้างเอเชีย แต่ปกติจะไม่ทำร้ายมนุษย์ก่อน เว้นหากได้รับบาดเจ็บ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา หรือในแอฟริกากลาง เช่น แถบทะเลสาบชาด ในสมัยโบราณ ชาวอียิปต์มีความสามารถในการจับช้าง และชาวคาร์เธจ เคยใช้เป็นช้างศึกในสงครามพิวนิค ขณะที่ชาวโรมันเคยซื้อไปใช้ละเล่นในละครสัตว์ แต่ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ช้างเอเชียในที่สุด เพราะฉลาดและฝึกได้ง่ายกว่า