ในทางทฤษฎีคือได้ แต่ไม่สามารถทำได้จริง!
เหตุผลหลักๆ เลยที่การทำให้เป็นจริงมันไม่สามารถทำได้จริง “เพราะมันคือสิ่งมีชีวิต” สิ่งแรกคือ ปลามีไม่มากพอ นั้นเพราะว่า “ปลาไหลไฟฟ้าไม่สามารถขยายพันธ์ในสถานที่ปิดได้ มันจะขยายพันธุ์ได้ในธรรมชาติเท่านั้น”
และถึงแม้จะขยายพันธ์ได้จริง แต่การเลี่ยงปลาไหลไฟฟ้าให้สามารถปล่อยพลังไฟฟ้าได้มากพอ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 – 4 ปี และการจะสร้างฟาร์มผลิตไฟฟ้าขึ้นมา จำเป็นต้องใช้ปลาไหลไฟฟ้าจำนวนมาก นี้ยังไม่รวมความเสี่ยงที่มันจะตาย หรือกัดกันเองอีก
ปลาไหลไฟฟ้าเป็นปลาที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ตลอดเวลา
ปลาไหลไฟฟ้าผลิตพลังงานให้ไฟประดับบนต้นคริสต์มาส โดยใช้หลักการง่ายๆ คือต่อสายไฟจากต้นคริสต์มาสเข้ากับแผงอะลูมิเนียม 2 แผ่น และนำไปติดตั้งในตู้ของปลาไหลไฟฟ้า ทุกครั้งที่มันเคลื่อนที่ผ่านแผงอะลูมิเนียม ก็จะเกิดไฟกระพริบที่ต้นคริสต์มาส
นี้แสดงให้เห็นว่าปลาไหลไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องโดนตัวถึงช็อต แต่แค่มันว่ายเข้าใกล้ก็เพียงพอแล้ว นั้นเพราะว่าปลาไหลไฟฟ้า เป็นปลาที่สายตาแย่มาก มันจึงต้องปล่อยพลังไฟฟ้าอ่อนๆ ออกมาตลอดเวลา เพื่อนำทาง หาอาหาร หรือระวังภัย
“ด้วยหลักการณ์นี้ จึงเป็นไปได้ที่จะสะสมพลังงานจากปลาไหลไฟฟ้า มาไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในภายหลัง มันก็คล้ายกับสะสมพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ แต่! ปลาไหลไฟฟ้าไม่สามารถให้พลังไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง พวกมันมีขีดจำกัด มันจะปล่อยเฉพาะยามจำเป็นเท่านั้น จึงยากที่จะควบคุม”
คลิปแสดงปลาไหลไฟฟ้าและต้นคริสต์มาส
ต้นแบบพลังงานชีวภาพ
อย่างที่บอกเอาไว้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับปลาไหลไฟฟ้ามีหลากหลายรูปแบบ แต่เรื่องการทำฟาร์มพลังงานจากปลาไหลไฟฟ้าก็ยังถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้น ขั้นตอนการสร้างพลังงานของปลาชนิดนี้ก็ยังนำไปสู้การศึกษา “พลังงานชีวภาพ”
ตัวอย่างเช่นเมื่อปี 2008 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale ได้ออกแบบเซลล์ชีวภาพเทียม ที่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้แบบเดียวกับการทำงานของอิเล็กโทรไซต์ของปลาไหลไฟฟ้า แถมยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าที่ปลาไหลไฟฟ้าผลิตถึง 28% ซึ่งในอนาคตอาจต่อยอดจนสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานให้กับ “อวัยวะเทียม” ได้