ความหวังใหม่การสร้างเซลล์ไข่ ‘แรดขาวเหนือ’ ที่เหลือ 2 ตัวสุดท้ายในโลก

แรดขาวเหนือ (Northern White Rhinos) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างที่สุด เนื่องจากในตอนนี้พวกมันเหลือเพียง 2 ตัวสุดท้ายในโลก แถมทั้งคู่ยังเป็นตัวเมีย การคงอยู่ของสายพันธุ์ตกอยู่ในมือของนักวิจัยที่ต้องแข่งกับเวลา

แรดขาวเหนือ 2 ตัวสุดท้ายในโลก ที่เป็นตัวเมียทั้งคู่มีชื่อว่า Najin วัย 33 ปี และลูกสาวของมันชื่อ Fatu วัย 22 ปี มันเหมือนเป็นการนับถอยหลังของการสิ้นสุดของสายพันธุ์นี้ แต่ตอนนี้ทีมงานของ The BioRescue Project ซึ่งประสานงานโดย Leibniz Institute for Zoo and Wildlife Research (Leibniz-IZW) มีความคิดดีๆ อยู่

เมื่อเหลือตัวเมียเพียงสองตัว เห็นได้ชัดว่าพวกมันไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง ทีมงานกำลังพยายามหาวิธีที่ทะเยอทะยานอย่างเหลือเชื่อ เพื่อช่วยชีวิตแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์โดยสมบูรณ์

กระบวนการนี้จะเซลล์ผิวหนังของแรดที่ตายแล้ว เพื่อสร้างสเปิร์มและเซลล์ไข่ เมื่อสร้างสเปิร์มและเซลล์ไข่แล้ว แนวคิดก็คือการสร้างตัวอ่อนที่จะนำไปฝังลงในแรดขาวใต้

แม้ว่าการเปลี่ยนจากผิวหนังที่ตายแล้ว ไปสู่ลูกแรดที่มีชีวิตอาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่กระบวนการนี้เคยทำมาก่อนในหนู …อย่างไรก็ตาม สำหรับสายพันธุ์ใหม่แต่ละชนิด จะต้องเผชิญความท้าทายใหม่ๆ เช่นกัน

เซลล์ผิวหนังที่ว่านี้ ได้รับมาจาก Nabire ป้าของ Fatu ซึ่งเสียชีวิตในปี 2015 จากนั้นเซลล์เหล่านี้ จะถูกแปลงเป็นเซลล์ต้นกำเนิดหลายเซลล์ และจากเซลล์ต้นกำเนิดเหล่าจะเป็นสารตั้งต้นของไข่แรด และสเปิร์มที่จำเป็นในการสร้างลูกแรดเหนือตัวใหม่ที่มีชีวิต

“นี่เป็นครั้งแรกที่เซลล์สืบพันธุ์ในยุคดึกดำบรรพ์ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ใกล้สูญพันธุ์ ที่ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ต้นกำเนิดได้สำเร็จ” มาซาฟูมิ ฮายาชิ ผู้เขียนคนแรกของการศึกษาอธิบาย

แต่ยังไงก็ยังคงมีหลายขั้นตอนที่จะต้องพยายามทำให้สำเร็จ ทั้งหมดก็เพื่อช่วยชีวิตสายพันธุ์นี้ นักวิจัยหวังว่าความรู้ที่ได้รับระหว่างกระบวนการนี้จะสามารถช่วยสายพันธุ์อื่นๆ ได้ในอนาคตเช่นกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements