ฟอสซิลสุดหายาก สัตว์ดึกดำบรรพ์ขณะฟักไข่
สำหรับซากฟอสซิลนี้ ถูกขุดพบที่ มณฑลเจียงซี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีน โดยนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า มันจะช่วยส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขยายเผ่าพันธุ์ของเข้าสัตว์ดึกดำบรรพ์ในกลุ่ม “เทโรพอด (Theropod)” ที่เป็นสัตว์กินเนื้อและยืนสองขา
จากการตรวจสอบ ฟอสซิลดังกล่าวมีอายุประมาณ 70 ล้านปี มันประกอบด้วยโครงกระดูกของสัตว์วัยเจริญพันธุ์ ตัวอ่อนหรือที่เรียกเอ็มบริโอ (Embryo) และรังที่มีไข่วางอยู่เรียงราย
จากซากนี้เชื่อว่ามันเป็นสัตว์ที่มีขนาดลำตัว 2 เมตร และกำลังนอนฟักไข่ในลักษณะท่าเดียวกับนกยุคใหม่ มันอาจมีรังเหมือนนกยุคใหม่เช่นกัน
ผู้เขียนรายงานนี้กล่าวว่า ฟอสซิลนี้ไม่เพียงแสดงท่าทางของการฟักไข่ของสัตว์ชนิดนี้แล้ว แต่ยังรักษาสภาพตัวอ่อนเป็นอย่างดี ถือเป็นหลักฐานล่าสุดที่จะช่วยให้พวกเราสามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมฟักไข่ของสัตว์กลุ่มเทโรพอด (Theropod) ได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับฟอสซิลที่พบนี้ มันมีตัวอ่อนที่มีพัฒนาการแตกต่างกัน เป็นตัวบ่งชี้ถึงการฟักไข่ออกมาไม่พร้อมกัน ซึ่งถือเป็นรูปแบบของการฟักไข่ของนกยุคใหม่ และสำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้ถูกเผยแพร่ไว้ใน วารสารวิชาการ
Science Bulletin ถ้าหากสนใจลองไปหาอ่านเพิ่มเติมกันได้ และถ้าหากน้าๆ ชอบเรื่องนี้อย่าลืมแชร์ให้ท่านอื่นได้อ่านกัน
พบ ปลาปอด ชนิดใหม่ของโลก จากแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย กาฬสินธุ์
โบนฟิช สุดยอดปลาแห่งแคริบเบียน อาศัยในน้ำลึกไม่กี่ฟุต แต่กับวางไข่ในน้ำลึก
กุสตาฟ จระเข้สังหารหนึ่งเดียวในโลก กับสถิติ 3 ร้อย และยังจับมันไม่ได้