พบพฤติกรรมประหลาด ‘ปลาถ้ำปีนกำแพง’ หรือจะเป็นวิวัฒนาการครั้งใหม่?

อีกเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลาแปลกๆ ที่ไม่ค่อยได้เห็นกัน โดยเฉพาะปลาที่อยู่ในถ้ำใต้ดิน ครั้งนี้ทีมสำรวจได้ไปพบกับภาพที่แทบจะไม่เคยเห็นในถ้ำ มันคือปลาที่พยายามปีนกำแพงถ้ำ มันคิดจะทำอะไร และมันกำลังไปไหน ลองดูจากบทความและคลิปท้ายเรื่อง

“ลึกในป่าฝนของอเมซอน ในถํ้าแห่งหนึ่ง ปลาถ้ำปีนกำแพงได้ถูกบันทึกลงบนแผ่นฟิลม์โดยนักวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก”

ทีมสำรวจได้สำรวจถ้ำหินปูน ใกล้กับเมืองทีน่า (Tena) ประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador) และได้ค้นพบกับเจ้าปลาที่ท้าทายกฏแรงโน้มถ่วง มันแปะติดกำแพงถ้ำซึ่งสูงถึง 10 ฟุต (3เมตร) เหนือทางน้ำใต้ดินของถ้ำ ซึ่งถือว่าสูงสำหรับปลาตัวเล็กๆ แบบนี้

ภายหลังได้วินิฉัยว่าเป็นสายพันธุ์ Chaetostoma Microps ซึ่งเป็นสมาชิกวงศ์ของพวกปลาปลาซัคเกอร์ (Loricariidae) ที่พวกเรารู้จักกันดี …แต่ว่าการวินิฉัยนั้นไม่ถึง 100% ส่วนหนึ่งทีมสำรวจไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บตัวอย่างสัตว์ในถ้ำ ทำได้เพียงแค่การบันทึกทั้งภาพและวีดิโอเพียงเท่านั้น

ภาพบน ‘ปลาผีเสื้อถ้ำ (waterfall climbing cave fish)’ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptotora thamicola เป็นปลาถิ่นเดียวในประเทศไทย ปลานี้เป็นที่รู้จักว่าครีบของมันสามารถเกาะภูมิประเทศและสามารถปีนได้

อย่างไรก็ตาม ปลาปีนผนังก็ไม่ใช่อะไรใหม่ ปลาปีนถ้ำชนิดอื่นที่ศึกษาโดย Geoff Hoese โดยปลาชนิดนี้อยู่ที่ประเทศไทย (ตระกูล Cryptotora Thamicola)

ปลาชนิดนี้มีความสามารถในการปีนอย่างรวดเร็วทั้งผนังถ้ำรวมถึงน้ำตก แต่ทาง House มีข้อสงสัยว่า แล้วบริเวณถ้ำในลำน้ำหลักละ อย่างที่เราดูอยู่ตอนนี้

ทาง House และทีมของเค้าได้สังเกตเจ้า C. Microps พยายามปีนขึ้นพนังถ้ำที่น้ำมีไหลลงมาจากใต้ดิน ความสามารถที่น่าประทับใจนี้เป็นหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพของร่างกาย ทั้งครีบ ผิว และ ปาก

“น้ำปริมารถน้อยๆ ที่ไหลผ่านพวกมันขณะที่พวกมันปีนขึ้นอาจจะช่วยสร้างแรงกดให้กับมัน และยังเป็นที่ช่วยให้ปากมันยึดติดกับพนังถํ้าได้โดยไม่ตกลงมา จากนั้นมันก็สามารถไต่ไปตามพนังถํ้าแบบที่คุณเห็นในวิดีโอ”

เจ้าปลาซักเกอร์ตัวนี้ (ปีนกำแพง 75 องศา) น่าจะใช้แรงดันน้ำและปากของมันรวมถึงผิวหนังเผื่อยึดติดผนังถ้ำ
ปลานักเดินทาง?

สิ่งที่สร้างความงงงวยเกี่ยวกับเจ้าปลาปีนถ้ำที่เพิ่งถูกค้นพบนั้นคือ การที่พวกมันไม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตใต้ดิน ปลาชนิดนี้ไม่ตาบอดหรือยังมีสี ซึ่งต่างจากปลาถ้ำชนิดอื่นๆ “งั้นอะไรคือสาเหตุที่มันลงไปในความมืดมิดนั้น?”

“ปลาชนิดนี้รู้กันดีว่า พวกมันกินสาหร่ายเป็นอาหารหลัก และเนื่องจากในถ้ำนั้นไม่มีแสงแดด จึงไม่น่าจะมีอะไรให้พวกมันกิน’’- House กล่าว ..คำอธิบายเรื่องนี้ที่ง่ายที่สุดคือพวกมันได้ใช้ความสามารถของมัน ในการย้ายไปในที่ต่างๆ ในระยะที่พวกมันสามารถทำได้’’

House ได้ตั้งข้อสังเกตว่าปลาชนิดนี้ปกติจะอาศัยอยู่ในภูมิภาคอเมซอน ซึ่งมีแม่น้ำที่ต้นทางเกิดจากถ้ำในเชิงเขาของเทือกเขาแอนดิส เป็นไปได้ว่าเจ้าปลาซักเกอร์อาจจะแค่เดินทางไปตามลำธารและลงไปตามกระแสน้ำจนถึงถ้ำ House กล่าวไว้

ไปสู่ความมืด?

ปลาหลายชนิดนั้นมีสัญชาตญาณตามธรรมชาติ ที่จะมุ่งหน้าสู่ต้นน้ำเพื่อผสมพันธุ์ซึ่งเจ้าปลาซักเกอร์ชนิดนี้อาจจะเป็นอีกชนิด แต่ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือการที่ปลาปีนถ้ำนั้น จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำถาวร

“วิวัฒนาการเป็นกระบวนการที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง” Hoese กล่าว “เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะดูตัวอย่างที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเช่นที่นี่ เรามีปลาผิวน้ำที่แสดงพฤติกรรมเฉพาะและครอบครองที่อยู่อาศัยที่ผิดปกติ”

ตัวอย่างสำหรับการเปรียบเทียบคือปลาซักเกอร์อีกชนิดหนึ่งที่ทีมสำรวจบันทึกไว้ Astroblepus Pholeter สายพันธุ์ที่ไม่มีสี และมีดวงตาเล็กๆ มันได้เปลี่ยนไปใช้ชีวิตในถ้ำแล้ว

ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า C.microps กำลังเข้าสู่ความมืดเพื่อใช้ชีวิตในถ้ำโดยสมบรูณ์ แต่ Hoese กล่าวว่า “มันเป็นไปได้และเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements