กบบราซิลจิ๋ว ‘ซุ่มซ่าม’ เหตุเพราะมีช่องหูเล็กเกินไป

สิ่งมีชีวิตมักวิวัฒนาการมา โดยเลือกเก็บส่วนดีๆ เอาไป แต่สำหรับกบชนิดนี้ดูเหมือนจะมีส่วนแย่หลงเหลืออยู่ และมันเป็นเหตุให้กบชนิดนี้กระโดดได้แย่มาก ส่วนสาเหตุหลักก็เพราะกบชนิดนี้มีช่องหูมีขนาดเล็กเกินไป .. คิดท้ายเรื่อง

กบบราซิลที่มีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าปลายดินสอ มันมีชื่อว่า “Brachycephalus ferruginus” โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาท์ อิลลินอยส์ เอดเวิร์ดสวิลล์ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกบและคางคกหลายชนิด จนพวกเขาพบว่า สมาชิกของกบสกุล Brachycephalus จะมีช่องหูครึ่งวงกลมที่เล็กที่สุดในบรรดาสัตว์มีกระดูกสันหลังที่โตเต็มวัย

แน่นอนว่ากบจิ๋วพวกนี้ดูน่ารักมาก แต่การมีช่องหูเล็กๆ ก็หมายความว่า พวกมันไม่สามารถควบคุมตำแหน่งเมื่ออยู่กลางอากาศได้ มันเลยนำไปสู่การร่อนลงที่ดูซุ่มซ่าม

แม้ว่าพวกเราจะทราบดีว่า กบวิวัฒนาการให้กระโดดก่อนที่จะร่อนลงได้อย่างสมบูรณ์ แต่การศึกษาใหม่นี้เน้นว่าการมีช่องหูที่เล็กเกิดไป จะทำให้ความสามารถของกบในการทรงตัวได้รับผลกระทบ

การที่พวกมันเป็นสัตว์ย่อส่วน ได้ส่งผลต่อระบบส่วนหน้าของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหล่านี้ ในกรณีของกบตัวเล็กๆ เหล่านี้ หมายความว่าเอนโดลิมฟ์ (endolymph) หรือของเหลวใสที่อยู่ในหู จะไม่มีที่ว่างพอให้เคลื่อนที่ไปมา

ตามกฎของฮาเก้น–ปัวซูย (Hagen–Poiseuille equation) จะหมายความว่ากบตัวเล็กนี้ ไม่สามารถควบคุมตำแหน่งของร่างกายได้ เมื่อเข้าใกล้พื้นดินมากขึ้น และมักจะจบลงด้วยกลิ้งไปมาบนพื้น .. ดังคลิป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements