หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในมนุษย์ ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนเกือบ 30 ล้านคน นี่คือนับเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงอย่างเดียว
ปลาตาบอดที่อาศัยอยู่ในถ้ำมืดของชาวเม็กซิกัน อาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่นึกถึง แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) กำลังศึกษาปลาตัวเล็กๆ ที่ทั้งแปลก และอ้วน เพื่อเรียนรู้ว่าพวกมันจะช่วยมนุษย์ต่อสู้กับโรคเบาหวานได้ยังไง
ผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ในวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าปลาได้รับการปรับตัว ให้เข้ากับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยเฉพาะ
“การใช้เครื่องมือจัดลำดับยีนที่เรียกว่า CRISPR ของกลุ่มนักพันธุศาสตร์ พบว่าปลาชนิดนี้ ดื้อต่ออินซูลินมาก”
อินซูลินถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสในเลือดของมนุษย์ (หรือที่เรียกว่าน้ำตาลในเลือด) จากอาหารที่เรากินเข้าไป ให้เป็นพลังงาน เปรียบเสมือนรหัสผ่านที่ช่วยให้กลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์ของเรานั้นเอง
ในคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อินซูลินของพวกเขาทำงานไม่ถูกต้องหรือผลิตได้ไม่เพียงพอและมักส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง ในทำนองเดียวกันปลาถ้ำก็มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเช่นกัน แต่พวกมันมีผลกระทบต่อสุขภาพเพียงเล็กน้อย
การศึกษาก่อนหน้านี้ของปลา พบว่าพวกมันมียีนที่กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารอย่างไม่รู้จักอิ่ม หากเป็นคนถือเป็นเรื่องอันตราย แต่ด้วยยีนนี่กลับช่วยให้ปลากักเก็บไขมันในช่วงที่อาหารขาดแคลน ช่วยให้พวกมันอยู่รอดในถ้ำที่มีสาหร่ายจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลัก
จากนั้นนักวิจัยได้เปรียบเทียบปลาถ้ำ กับปลาชนิดเดียวกันแต่มีดวงตาปกติ พวกว่าพวกมันขาดความต้านทานต่ออินซูลินที่เกิดขึ้นในปลาถ้ำ และพบว่าพวกมันมีชีวิตยืนยาวเท่ากัน
เมื่อมนุษย์อย่างเรามีกลูโคสในเลือดสูง โปรตีนในเซลล์ของเราจะถูกเคลือบด้วยน้ำตาลเป็นเป็นหลัก และทำให้มนุษย์เกิดความผิดปกติ
“ปลาถ้ำมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก แต่ไม่มีโปรตีนที่เคลือบน้ำตาล พวกมันทำได้อย่างไร”
ด้วยความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับปลา จะนำไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพดีด้วยน้ำตาลในปริมาณสูงได้อย่างไร? นักวิจัยคิดว่าพวกเขาอาจสามารถพัฒนาสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์รับมือกับโรคเบาหวานได้
ปลาตีน ปลาธรรมดา กลายเป็นโสมทะเลในประเทศจีนได้ยังไง
Advertisementsค้นพบ ปลาช่อนมังกร Dragon Snakehead