9 ข้อเท็จจริงของ ‘ไอโซพอดยักษ์’ สัตว์ประหลาดที่โดดงับหัวฉลามได้

ไอโซพอดยักษ์คือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล ที่ความลึกตั้งแต่ 500 เมตรลงไป เจ้ายักษ์ 14 ขา เหล่านี้ เป็นญาติของเหาตัวเล็กๆ ที่คุณอาจพบว่ากำลังวิ่งเล่นอยู่ในสวน แม้ว่าจะเป็นญาติห่างๆ กันก็ตาม และแม้มันจะดูอ่อนแอ ไม่มีพิษมีภัย แต่มันก็ดูหน้ากลัวเล็กน้อย โดยปกติพวกมันเป็นสัตว์กินซาก แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็มีหลักฐานว่า ไอโซพอดยักษ์ กระโดดงับหัวฉลามตัวเป็นๆ และนี่คือ 9 ข้อเท็จจริงของ 'ไอโซพอดยักษ์'

1. ไอโซพอดยักษ์ ตัวใหญ่ที่สุดในโลกคือ?

Advertisements

สำหรับไอโซพอดที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษย์รู้จัก คือ บาทีโนมัส กีกันเตอุส (Bathynomus giganteus) ขนาดปกติของไอโซพอดชนิดนี้ อยู่ที่ 18 – 36 เซนติเมตร แต่เชื่อหรือไม่ว่าเคยมีรายงานการพบไอโซพอดยักษ์ขนาด 76 เซนติเมตรด้วย ซึ่งพบโดยยานดำน้ำลึกเมื่อปี พ.ศ. 2553

นักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยแน่ใจนักว่า ทำไมไอโซพอดพวกนี้จึงมีขนาดใหญ่มาก แต่เชื่อว่าขนาดมหึมาของพวกมันอาจเป็นการปรับตัวที่ช่วยให้พวกมันอยู่รอดจากแรงกดดันสุดขั้วของมหาสมุทรลึก

2. ไอโซพอดยักษ์ไม่ใช่แมลง

แม้มันจะคล้ายแมลงแต่ความจริงมันเป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชีย และมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง ปู และสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งอย่างหนอนบางชนิด

3. พวกมันอยู่ใต้ทะเลลึกสุดๆ

ไอโซพอดยักษ์อาศัยอยู่ที่ความลึก 160 – 2,000 เมตร และอาจลึกกว่านั้น แล้วมันก็ชอบพื้นโคลนหรือดินเหนียว ซึ่งพวกมันจะมุดเข้าไป เพื่อให้เป็นที่กำบัง ไอโซพอดพวกนี้จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรนอกประเทศญี่ปุ่น และในทะเลจีนใต้ และแม้พวกมันจะเป็นสัตว์น้ำลึก แต่หากจำเป็นก็สามารถขึ้นมาอยู่ระดับผิวน้ำโดยที่ไม่ตายง่ายๆ

4. ไอโซพอดยักษ์เป็นสัตว์กินเนื้อ และอาจล่าเอง

Advertisements

แม้ว่าโดยทั่วไปเชื่อกันว่า พวกมันเป็นสัตว์กินของที่ตายแล้ว โดยจะกินซากสัตว์ที่ตกลงมาจากเบื้องบน แต่มีหลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่า พวกมันอาจกินสัตว์ที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวช้าอย่างฟองน้ำด้วย นอกจากนี้ยังพบไอโซพอดยักษ์โจมตีอวนลาก หรือแม้แต่โจมตีฉลามโดยการกระโดดงับหัวก็เคยมีมาแล้ว

5. พวกมันอยู่ได้นานมากโดยไม่ต้องกินอะไรเลย

ไอโซพอดยักษ์ตัวหนึ่งในญี่ปุ่น อยู่ได้นานเป็นเวลาห้าปีโดยไม่กินอะไรเลย ก่อนจะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ไอโซพอดยักษ์ในที่เลี้ยง ก็ยังกินอาหารยากมากอีกด้วย

6. พวกมันอยู่ในสภาวะกึ่งไฮเบอร์เนตเกือบตลอดเวลา

กึ่งไฮเบอร์เนต (SEMI-HIBERNATION) หมายถึง เกือบที่หยุดการทำงานตลอดเวลา หรือก็คือเกือบตายแล้วนั้นเอง จะเรียกว่าโหมดประหยัดพลังงานก็ได้ เนื่องจากอาหารในทะเลลึกอาจมีน้อยและอยู่ไกลกันเกินไป

ไอโซพอดยักษ์จึงจำกัดการใช้พลังงานของพวกมัน พวกมันจะมีการเผาผลาญอาหารช้าลง ไอโซพอดยักษ์สามารถชะลอการเผาผลาญและลดระดับการใช้พลังงาน เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้เป็นเวลาหลายปีโดยไม่ต้องกินอะไร

7. พวกมันมีไข่ที่ใหญ่ที่สุดในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล

Advertisements

ไข่ของไอโซพอดยักษ์ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.3 เซนติเมตร ตัวเมียจะไม่กินอาหารในช่วงเวลาที่กำลังดูแลไข่ แต่จะฝังตัวเองในตะกอนเพื่อลดการใช้พลังงานและเพื่อปกป้องไข่ของมัน

Advertisements

8. ลูกที่ออกมา หน้าตาเหมือนไอโซพอดโตเต็มวัย

ไอโซพอดยักษ์ในวัยเยาว์จะไม่มีระยะตัวอ่อน เมื่อเกิดออกมาพวกมันจะดูเหมือนตัวเต็มวัย และจะยาวประมาณ 8.6 เซนติเมตร สิ่งที่พวกต่างจากตัวเต็มวัย คือ “ขาคู่สุดท้าย” ที่หายไป และเมื่อโตเต็มวัยจะมีขาทั้งหมดเจ็ดคู่

9. ไอโซพอดยักษ์กัด!

การทำงานกับไอโซพอดยักษ์จำเป็นต้องสวมถึงมือ เนื่องจากมีโอกาสที่มันจะกัดมือ ต้องไม่ลืมว่ามันเป็นสัตว์กินเนื้อ พวกมันสามารถกัดได้ทุกอย่าง แม้ว่าปากดูไม่ใหญ่ แต่หากถูกกัดจะต้องเจ็บอย่างแน่นอน

สุดท้ายสัตว์อย่างไอโซพอดที่อยู่ในความลึก ที่มีแสงน้อยและอาหารก็น้อย ตาของพวกมันจึงไม่ค่อยดี แม้มันจะเป็นสัตว์ที่มีดวงตาที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับร่างกาย แต่มันจะใช้การสัมผัสเพื่อช่วยนำทางในความมืด โดยเฉพาะบาทีโนมัส กีกันเตอุส (Bathynomus giganteus) ไอโซพอคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จะมีหนวดที่ยาวมากกว่าครึ่งของลำตัว หนวดจึงเป็นอวัยวะรับความรู้สึกขนาดใหญ่ เพื่อให้พวกมันสัมผัสสิ่งต่างๆ ได้ มันมีประสิทธิภาพมากเมื่ออยู่พื้นทะเล …และแม้พวกมันจะดูไม่มีเนื้อ แต่มายุคนี้ก็มีเมนูแปลกๆ ที่เอาไอโซพอดยักษ์มากินอยู่เหมือนกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements