ชนพื้นเมืองในเขตลุ่มน้ำอเมซอน ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเจ้าอะราไพม่า มันจัดเป็นหนึ่งในปลานํ้าจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อะราไพม่าจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ พบในลุ่มน้ำอเมซอน มันสามารถโตได้ถึง 3 เมตร และหนักถึง 200 กิโลกรัม
ปลาอะราไพม่ามันสามารถหายใจเอาอากาศได้โดยตรง โดยการฮุบอากาศ ทำให้มันสามารถอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนน้อยได้ และในกรณีไม่มีน้ำมันยังคนได้เป็นวัน ปลาชนิดนี้นอกจากจะล่าปลาอื่นเป็นอาหาร แต่ยังล่านก กิ้งก่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก แม้แต่จระเข้ขนาดเล็ก งู ปลาปิรันย่า ก็ยังเป็นอาหารของมันได้เช่นกัน
จุดเด่นของมันที่นอกจากขนาดมันแล้วคือเกล็ดอันหนา ซึ่งเปรียบได้เหมือนเสื้อเกราะกันกระสุน แม้แต่พวกปิรันย่าก็ไม่สามารถกัดเข้าได้ เกล็ดที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น ทำให้พวกมันเองก็ได้รับความสนใจจากกองทัพสหรัฐด้วย
นักล่าตัวใหญ่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากบ้านเกิดของพวกมัน
ถึงอะราไพม่าจะเป็นนักล่าระดับบนในอาณาจักรสัตว์ แต่ทว่าศัตรูที่น่ากลัวที่สุดสำหรับมันก็คือ “มนุษย์” เนื่องจากมันเป็นปลาที่มีรสชาติดี ชนพื้นเมืองตั้งฉายามันว่า “ปลาค็อดแห่งลุ่มน้ำอเมซอน” เนื้อมีสีขาวและก้างที่น้อย ทำให้มันเป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนในท้องถิ่นรวมถึงในเมืองด้วย
การล่าที่เกินขอบเขตทำให้ประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว และในช่วงปี 1990 นั้น ได้เริ่มมีกฏหมายคุ้มครองพวกมัน แต่การล่าผิดกฏหมายก็ยังดำเนินต่ออยู่ดี ทำให้พวกมันเริ่มหายไปจากบางส่วนของอเมซอน แต่ต้องขอบคุณการทำงานอย่างหนักของภาครัฐและชุมชนท้องถิ่นทำให้การล่าที่ผิดกฎหมายนั้นลดลงอย่างมาก
อย่างไรก็ตามอะราไพม่านั้นไม่ได้หายไปจากโลก ในแง่หนึ่งคือการที่มนุษย์ต้องกินพวกมัน ทำให้พวกมันยังไม่สูญหายไป นั้นเพราะมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างจริงจัง จนทำให้ชาวบราซิลสามารถกินปลาชนิดนี้ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อพวกในธรรมชาติ
ทุกวันนี้ การจับปลาอะราไพม่านั้นถูกห้ามในบราซิล ยกเว้นพื้นที่ๆ มีข้อตกลงกับทางท้องถิ่น โดยปกติอะราไพม่าจะใช้เวลาในช่วงฤดูฝนที่นํ้าท่วมบางส่วนของป่าเพื่อการขยายพันธุ์ และจะกลับสู่แม่นํ้าหรือทะเลสาบเมื่อเข้าสู้ฤดูแล้ง โดยในเขตแม่น้ำ และทะเลสาบรอบๆ ในตอนเหนือของบราซิล โครงการฟื้นฟูนี้ได้คำนวนประชากรปลาในแต่ละปี โดยชุมชนท้องถิ่นนั้นได้เฝ้าทางเข้าทะเลสาบในช่วงเวลาหนึ่งของปี เพื่อป้องกันพวกลักลอบจับปลา
“ในช่วงฤดูกาลที่อนุญาตให้ล่าได้นั้นอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน โดยปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 1.5 เมตร ต้องถูกปล่อยกลับไป”
หลังจาก 11 ปี นับจากที่เริ่มต้นโครงการ ตอนนี้มีอะไรไพม่ามากถึง 4000 ตัว ในทะเลสาบของชุมชน
จากการวิจัยของ Campos-Silva เกี่ยวกับทะเลสาบรอบๆ แม่น้ำ Juruá ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าประชากรอะราไพม่าเพิ่มขึ้นมากกว่าสี่เท่าตัว และเริ่มมีการอพยบไปในทะเลสาบแห่งใหม่และขยายตัวออกไป
ตอนนี้ประเมินว่ามีอะราไพม่ามากขึ้นถึง 300,000 ตัวในทะเลสาบ 1,358 แห่ง และมีชุมชน 400 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการนี้
รายได้จากการจับปลาในชุมชนคือ การสร้างผลประโยชน์ที่ย้อนกลับไปยังชุมชน และรายได้พวกนี้ยังได้มาสนับสนุนในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สร้างโรงเรียนและเรื่องสุขภาพในชุมชน รวมถึงความเท่าเทียมทางเพศ
ข้อความถึงพวกที่จับปลาผิดกฏหมาย “พวกเขาควรเข้าร่วมกับการประมงที่ถูกกฏหมาย และเริ่มต้นจับปลาแบบยั่งยืน “ความภูมิใจคือคุณสามารถจับปลาพวกนั้นและไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะมายึดมันไปจากคุณ” และหวังว่ากระแสการอนุรักษ์นี้จะช่วยกระตุ้นให้ชุมชน มีส่วนร่วมมากขึ้นและยังช่วยอนุรักษ์สัตว์ในอเมซอนนี้ได้ด้วย
“เรากำลังเผชิญกับการลดลงของสัตว์ขนาดใหญ่ทั่วโลก” ที่นี่เรามีกรณีเชิงบวกที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถนำทั้งการบริโภคของมนุษย์ และการอนุรักษ์รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันได้
ปลาช่อนอเมซอน ยักษ์ใหญ่ใจดี จากลุ่มน้ำอเมซอน
เคยเห็นคอกช่อนอเมซอนในธรรมชาติหรือเปล่า?