ผู้เขียนรายงานพบว่า ลักษณะบุคลิกภาพแบบ โรคประสาท (neuroticism) ซึ่งเป็นลักษณะของอารมณ์ด้านลบต่างๆ รวมถึงความโกรธ วิตกกังวล และความหงุดหงิด ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความเครียด “อาการซึมเศร้าที่มีนัยสำคัญทางคลินิก มักเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ของโรคประสาทกับความเครียดที่พบเจอในชีวิต”
ในทางกลับกัน นักวิจัยอธิบายว่าศีลห้าข้อของศาสนาพุทธ เชื่อมโยงกับการปรับปรุงคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ เช่น “การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความยืดหยุ่น และ อุเบกขา (ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลาง)” ซึ่งทั้งหมดนี้อาจช่วยป้องกันความปวดร้าวทางจิตใจได้
ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามค้นหาว่า การยึดมั่นในพฤติกรรมทางศีลธรรมทั้งห้านี้ มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรคประสาท ความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลห้าได้แก่ “การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดปดและเสพของมึนเมา” แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจฟังดูเหมือนง่าย แต่โปรดจำไว้ว่าข้อจำกัดในการปลิดชีวิตมีผลกับผู้ที่มิใช่มนุษย์เช่นกัน ซึ่งหมายความว่าการตบยุงถือเป็นการละเมิดหลักปฏิบัติ …แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดมากนัก
ผลการวิจัยจากผู้เข้าร่วม 644 คน พบว่าในขณะที่การรักษาศีลห้า ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมโยงระหว่างโรคประสาทและโรคซึมเศร้า แต่ก็ลดโอกาสในการเกิดอาการซึมเศร้าได้
ในบรรดาผู้เข้าร่วมที่มีความยึดมั่นในศีลในระดับต่ำ ทุกจุดบนมาตรวัดความเครียดมีกับการเพิ่มขึ้น 0.273 คะแนนบนมาตรวัดภาวะซึมเศร้า ในทางกลับกันผู้ที่มีระดับความยึดมั่นในระดับสูง จะเห็นว่าคะแนนภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเพียง 0.157
“การถือศีลห้า มีหลักฐานว่ามันช่วยลดผลกระทบของความเครียดที่รับรู้ต่อภาวะซึมเศร้า” ผู้เขียนการศึกษากล่าว และเสริมว่า “คนที่รักษาศีลห้า ในระดับสูงมีโอกาสน้อยที่จะเกิดอาการซึมเศร้า ..แน่นอนว่าเราสามารถถือศิลห้าได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นชาวพุทธ”