8 เรื่องน่าตกใจของปลาไหลไฟฟ้า ที่อาจทำให้คุณงุนงง

หนึ่งในสิ่งมีชีวิตประหลาดที่สุดในโลก คงต้องเอาปลาไหลไฟฟ้าเข้าไปอยู่ด้วย และเป็นดังชื่อ มันเป็นปลาที่สามารถสร้างไฟฟ้าขึ้นมาใช้เองได้ แต่ต้องบอกว่าไฟฟ้าของมันไม่ได้เบาๆ เพราะมีพลังสูงพอจะทำให้มนุษย์หมดสติ หรือถ้าโดนช็อตอาจถึงตายเลยก็ได้ เดี๋ยวมาดูกันว่าปลาไหลไฟฟ้ามีอะไรที่น่าตกใจบ้าง

ปลาไหลไฟฟ้า

ปลาไหลไฟฟ้าจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ปลาไหล แต่มันเป็นปลาที่มีรูปร่างเพรียวยาวเหมือนปลาไหล และมีความสามารถในการปล่อยไฟฟ้าแรงสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของมัน โดยถิ่นกำเนิดของปลาไหลไฟฟ้ามีแค่ในอเมริกาใต้ พวกมันเป็นนักล่าที่ไม่มีใครอย่างยุ่ง

1.ปลาไหลที่ไม่ใช่ปลาไหล

Advertisements

ถึงมันรูปร่างเหมือนปลาไหล แต่มันไม่ใช่ปลาไหล จริงๆ แล้วมันใกล้เคียงกับปลาดุกมากกว่า เดิมที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันมีชนิดเดียว แต่ในปี 2019 ก็ระบุได้ว่ามันมีชนิดย่อยแยกเป็น 3 ชนิดที่แตกต่างกัน

2. มันสร้างพลังไฟฟ้าที่รุนแรง

ปลาไหลไฟฟ้าได้ชื่อนี้เพราะมีเหตุผล ขึ้นกับสายพันธุ์ของมัน มันสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้แรงสุดถึง 860 โวลต์ มันเป็นกลไกป้องกันตัวและการล่าของปลาไหลไฟฟ้า

โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าประจุไฟฟ้าแรงสูง 860 โวลต์ มาจากสายพันธุ์ Electrophorus Voltai ในขณะที่ Electrophorus electricus และ Electrophorus varii สร้างประจุไฟฟ้าแรงสูงได้ถึง 760 โวลต์และ 572 โวลต์ตามลำดับ

3. พวกมันสามารถกระโจนจากผิวน้ำได้

ไม่เพียงแต่ปลาไหลไฟฟ้าสามารถส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้เท่านั้น แต่ยังเป็นที่รู้กันว่าพวกมันสามารถกระโดดขึ้นจากน้ำเพื่อโจมตีได้ด้วย

Ken Catania นักชีววิทยาของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ ทำการค้นพบโดยไม่ได้ตั้งใจในขณะที่จัดการปลาไหลไฟฟ้าในถัง โดยใช้ตาข่ายที่มีแท่งโลหะ เขาสังเกตว่าเมื่อแท่งโลหะเข้าใกล้ปลาไหลก็พุ่งขึ้นจากน้ำเพื่อโจมตีด้วยไฟฟ้าช็อต กลยุทธ์นี้นอกจากยังช่วยป้องกันตัวแล้ว ยังมีประโยชน์ในการย้ายถิ่นในช่วงหน้าแล้งด้วย เมื่อปลาไหลอาจจะต้องกระโจนไปยังแหล่งน้ำที่ดีกว่า

4. พวกมันวางไข่ในรังที่ทำจากน้ำลาย

Advertisements

ในช่วงฤดูแล้ง ปลาไหลไฟฟ้าตัวเมียจะวางไข่ในรังโฟมที่ทำจากน้ำลาย เพศผู้มีหน้าที่สร้างรังและเฝ้าไข่จนกว่าจะฟักในช่วงฤดูฝน ลูกปลาไหลเฉลี่ย 1,200 ตัวจะฟักออกจากรังที่มีการดูแลอย่างดี

5. พวกมันหายใจได้ทางปาก

แม้ว่าพวกมันจะมีเหงือกเล็กๆ ที่ด้านข้างของหัว แต่ปลาไหลไฟฟ้าจะได้รับออกซิเจนส่วนใหญ่ที่ผิวน้ำ ปลาไหลไฟฟ้าได้รับออกซิเจนประมาณ 80% โดยการกลืนอากาศด้วยปากซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับน้ำที่เป็นโคลนและแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ

6. พวกมันใช้ไฟฟ้าเหมือนกับเรดาร์

เนื่องจากพวกมันมีสายตาที่ไม่ดี และอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยโคลนและตะกอน ปลาไหลไฟฟ้าจึงปรับให้ใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อจุดประสงค์อื่น นั่นคือการค้นหาเหยื่อที่หลบอยู่ ไฟฟ้าที่ปล่อยโดยปลาไหลไฟฟ้า พบว่ามีสามประเภทที่แตกต่างกัน

ปลาไหลใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำสำหรับการนำทาง ไฟฟ้าแรงสูงระยะสั้นสำหรับการล่าสัตว์ และความถี่และความรุนแรงสูงสุดเป็นจังหวะเมื่ออยู่ในโหมดโจมตี หลังปล่อยไฟฟ้าไปยังเหยื่อของมันแล้ว ปลาไหลจะเดินตามสนามพลังไฟฟ้าเหมือนเรดาร์โดยพุ่งเข้าหาเหยื่อแน่นอนว่ามันไม่จำเป็นต้องใช้สายตาเลย

7. พวกมันขดตัวเพื่อรวมพลังไฟฟ้า

Advertisements

ปลาไหลไฟฟ้าใช้กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดในการจัดการเหยื่อขนาดใหญ่หรือเหยื่อที่ท้าทาย พวกมันขดตัวอยู่รอบ ๆ โดยรัดเหยื่อไว้ใกล้หางซึ่งเป็นเหมือนเสาไฟฟ้าสองต้น อย่างน้อยที่สุดกลยุทธ์นี้จะเพิ่มไฟฟ้าเป็นสองเท่า และทำให้จำนวนของการช็อตที่เหยื่อได้รับเพิ่มขึ้น พฤติกรรมนี้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยให้ปลาไหลมีโอกาสที่จะตรึงและเปลี่ยนตำแหน่งเหยื่อเพื่อให้สามารถกินได้ง่ายขึ้น

 

8. ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอวัยวะไฟฟ้า

ในขณะที่ปลาไหลไฟฟ้าสามารถมีความยาวลำตัวได้ถึง 8 ฟุต แต่มีอวัยวะสำคัญเพียง 20% เท่านั้น ส่วนหลังทั้งหมดของปลาไหล 80% ของร่างกาย เป็นอวัยวะที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า แม้แต่ผิวหนังของพวกเขาก็ยังถูกปกคลุมด้วยเซลล์รับไฟฟ้า อวัยวะภายในทั้งหมดถูกบีบเข้าสู่ช่องว่างเล็กๆ ใกล้หนัง

เราจะสร้างฟาร์มปลาไหลไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านได้หรือไม่

นักชีวะตะลึง พบปลาไหลไฟฟ้า 2 สายพันธุ์ใหม่ ไฟฟ้าแรงสูง

Advertisements