7 สายพันธุ์ ‘ปลาทูน่า’ ที่ถูกจับมากินมากที่สุดในโลก

อาจสงสัยว่าปลาทูน่ามีชนิดไหนบ้าง จริงๆ แล้วอาจมีชนิดย่อยลงไปอีก แต่คงเอามาให้ดูหมดไม่ไหว วันนี้เอาตัวสำคัญๆ มาให้ได้รู้จักกัน ถ้ามีประโยชน์ก็แชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นได้อ่านกัน

ความจริงแล้วนอกจากปลาทูน่า 7 ชนิดนี้ ในโลกนี้ยังมีปลาทูน่าชนิดอื่นอยู่อีก แต่ 7 ชนิดถือถือเป็นชนิดที่ถูกจับมากินมากที่สุด ไม่ว่าจะถูกจับเป็นอัดกระป๋อง มาทำซูชิ ทำสเต็ก หรือแม้แต่ทำอาหารสัตว์ .. ลองมาดูกันว่ามีชนิดไหนบ้าง

1. ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Northern Bluefin Tuna)

Advertisements

จัดเป็นปลาทูน่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แพงที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ปลาทูน่า แน่นอนว่ามันเป็นปลาที่นิยมนำไปทำอาหาร โดยเฉพาะ ปลาดิบซาซิมิ ซูชิ รวมทั้งสเต็ก

โดยปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือยาวได้ถึง 3 เมตร แต่ทั่วไปจะมีขนาด 2 เมตร ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม (ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือที่ประมูลแพงที่สุดเมื่อปี 2019 น้ำหนัก 278 กิโลกรัม ราคาราวๆ 1 ร้อยล้านบาท)

2. ปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้ (Southern Bluefin Tuna)

ปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้เป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตอบอุ่นในระดับความลึกไม่กี่สิบเมตร จนถึงลึกระดับพันเมตร พบแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นถึงเขตหนาวในมหาสมุทรแอตแลนติก

ขนาดของปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้ที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 225 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 160-200 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม มีรายงานว่าเคยพบปลาชนิดนี้ยาวถึง 245 เซนติเมตร และเคยพบน้ำหนักสูงสุด 260 กิโลกรัม เป็นปลาที่นิยมกินเป็นปลาดิบ

3. ทูน่าครีบยาว (Longfin Tuna)

ปลาทูน่าครีบยาว หรือ ชื่อในตลาดสหรัฐอเมริกา คือ ปลาทูน่าเนื้อขาว เป็นปลาทูน่าขนาดกลาง พบในแหล่งน้ำเปิดและมหาสมุทรทุกเขตและทุกอุณหภูมิ รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นปลาที่วางไข่ได้ค่อนข้างเยอะ 8 แสน – 2.6 ล้านฟอง ซึ่งจะฟังตัวภายในหนึ่งหรือสองวันเท่านั้น

Advertisements

ปลาทูน่าครีบยาวตัวโตเต็มวัยมีขนาดตัวเฉลี่ย 90–100 เซนติเมตร และอาจมีน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัม ลำตัวมีสีขาวออกเงิน ส่วนหลังมีสีน้ำเงินเข้ม มีครีบส่วนหลังเป็นสีเหลืองเข้ม

ในบางพื้นที่พวกมันมักจะอาศัยอยู่ในในระดับน้ำลึกกว่า 200 เมตรในตอนกลางวัน และอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำในตอนกลางคืน แต่ในบางพื้นที่ พวกมันก็อาศัยอยู่ใกล้ผิวน้ำตลอดวันพวกมันเป็นปลาประเภทที่ไม่นอนหลับ เนื่องจากต้องขยับตัวตลอดเวลาเพื่อให้ได้ออกซิเจนเพียงพอ

4. ปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin Tuna)

Advertisements

ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปแต่ไม่พบในทะเลเมดิเตอเรเนียน เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นอยู่ตลอดเวลา โดยปกติจะอยู่ในระดับผิวน้ำจนถึงระดับลึก 100 เมตร เป็นปลาทูน่าที่มักจะพบได้ในปลาทูน่ากระป๋อง

ปลาทูน่าชนิดนี้มักจะอยู่ร่วมกับฝูงโลมา เมื่อเรือประมงจับพวบมัน ก็จะจับโลมาติดมาด้วย ซึ่งในแต่ละปีมีโลมาตายไปเพราะการจับทูน่าครีบเหลืองจำนวนมาก เชื่อว่าหนึ่งในภัยที่ทำให้โลมาลดจำนวนลงก็เพราะการทำประมงจับทูน่าครีบเหลืองนั้นเอง ปลาชนิดนี้โตเต็มที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตร หนักได้ถึง 200 กิโลกรัม

5. ปลาทูน่าตาโต (Bigeye Tuna)

เป็รปลาที่มีความคล้ายปลาทูน่าครีบเหลืองมาก แต่จะมีดวงตาขนาดใหญ่มาก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ปลาทูน่าตาโต” แต่คนไทยก็ชอบเรียกทับศัพท์ไปเลยว่า “ทูน่าบิ๊กอาย” หรือจะเรียกบิ๊กอายเฉยๆ เป็นปลาที่โตได้ถึง 1.8 เมตร และอาจหนักได้ถึง 180 กิโลกรัม

Advertisements

ปลาทูน่าตาโต ไม่นิยมนำมาบรรจุกระป๋อง เพราะเมื่อเนื้อปลาโดนความร้อนแล้วจะไม่เป็นสีขาว จึงนิยมบริโภคเป็นปลาดิบมากกว่า โดยนำมารับประทานแทนปลาทูน่าครีบน้ำเงิน

6. ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack Tuna)

ปลาโอแถบ หรือ ปลาทูน่าท้องแถบ จัดเป็นปลาทูน่าขนาดเล็ก ปกติมันยาวประมาณ 40 – 80 เซ็นติเมตร แต่อาจยาวได้ถึง 1 เมตร ปลาทูน่าชนิดนี้มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ๆ บางทีก็ไปรวมฝูงกับปลาอื่น

ปลาทูน่าท้องแถบเป็นปลาที่นิยมรับประทานสด รมควัน แช่แข็ง และเป็นวัตถุดิบในการทำปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง ในปัจจุบันปลาทูน่าท้องแถบเป็นปลาทูน่าที่มีอัตราการจับสูงสุดแทนปลาทูน่าครีบเหลือง

7. ปลาทูน่าลาย (Little tunny)

Advertisements

ปลาทูน่าลาย หรือ ปลาโอลาย เป็นปลาทูน่าขนาดเล็ก พบได้ทั่วโลกในน้ำเขตร้อนถึงเขตอบอุ่น โดยเจ้านี่อาจยาวได้ถึง 1 เมตร และหนัก 35 ปอนด์ เป็นปลาที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้มักจะถูกนำเอาไปเป็นเหยื่อตกปลาขนาดใหญ่อย่างเช่น ปลาฉลามและปลามาร์ลิน เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันสูง และตะขอเกี่ยวหลุดยากอีกด้วย

อ่านเรื่องอื่น
Advertisements