6 ปลาน้ำจืดที่คล้าย ‘ปลานิล’ และพบได้ในธรรมชาติไทยตอนนี้

ปลา 6 ชนิดที่คล้ายกับปลานิล ในความหมายของผมคือ คล้ายในเรื่องรูปร่าง เป็นสัตว์ต่างถิ่นเหมือนกัน และพบในธรรมชาติไทยเช่นกัน และผมขอตัด ปลานิลแดง ปลาทับทิม หรือปลานิลที่เกิดจากการข้ามสายพันธุ์ทั้งหมด คงเหลือแต่ชนิดที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและพบเจอในแหล่งน้ำบ้านเราตอนนี้ ...คลิปท้ายเรื่อง

ปลาที่คล้ายปลานิล

ชนิดที่ 1 – ปลาหมอเทศข้างลาย – Oregchromis aureus

Advertisements

ปลาหมอเทศข้างลาย (Blue tilapia, Israeli tilapia) เป็นปลาที่มียาวได้ถึง 50 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปจะแค่ 20 เซนติเมตร มันเหมือนปลานิลอย่างมาก เหมือนซะจนถ้าตกขึ้นมาได้ ก็จะต้องนึกว่าเป็นปลานิลก่อน แต่จุดสังเกตุสำคัญของปลาชนิดนี้คือ ปลาหมอเทศข้างลายจะมีแถบดำแต่ไม่ถึงปลายหาง จากนั้นจะเป็นสีแดงในส่วนที่เหลือแทน

ปลาหมอเทศข้างลาย (Blue tilapia, Israeli tilapia) / Oregchromis aureus

เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาทางตอนเหนือ จนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง อยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2550 จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นอกเหนือจากปลานิลและปลาหมอเทศ แต่จำนวนน้อยกว่าปลาทั้ง 2 ชนิดมาก

ชนิดที่ 2 – ปลาหมอเทศ – Oreochromis mossambicus

ปลาหมอเทศ (Mozambique tilapia) ก็เป็นอีกชนิดที่คล้ายปลานิลมากๆ แต่จะมีรูปร่างที่เล็กกว่า เป็นปลาที่ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดของปลาหมอเทศและปลานิลคือ ปากของปลาหมอเทศจะยาวกว่า และไม่มีแถบหรือลายบนครีบแต่มีปื้นสีจางบนแก้มของปลาตัวผู้

ปลาหมอเทศ (Mozambique tilapia) / Oreochromis mossambicus

ปลาหมอเทศมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แถวๆ แอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ และถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 โดยนำมาจากปีนัง เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ แต่ตอนนี้มีความนิยมน้อยกว่าปลานิล เนื่องจากเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดตัวเล็ก จนในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการนำเอาปลาหมอเทศไปผสมข้ามสายกับปลานิล จนเกิดเป็น “ปลานิลแดง”

ชนิดที่ 3 – ปลานิลอกแดง – Coptodon rendalli

ปลานิลอกแดง (Redbreast tilapia) เป็นปลาที่ยาวได้ถึง 45 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะเล็กกว่านั้นมาก ความแตกต่างของปลานิลอกแดงกับปลานิลคือ ส่วนท้องหรืออกของปลานิลอกแดงจะออกสีแดง เป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 ด้วยเหตุผลเพื่อการประมง ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติประเทศไทย

ปลานิลอกแดง (Redbreast tilapia) / Coptodon rendalli
Advertisements

ชนิดที่ 4 – ปลาหมอสีคางดำ – Sarotherodon melanotheron

Advertisements

ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin tilapia) มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เดิมพวกมันอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ป่าชายเลน จนถึงชายฝั่งทะเล

เป็นปลาที่ทนต่อความเค็มสูง และยังทนต่อความเปลี่ยนแปลงของค่าความเค็มในช่วงที่กว้างมาก และยังอาศัยในน้ำจืดหรือแม่น้ำได้อย่างไม่มีปัญหา

ปลาหมอสีคางดำ (Blackchin tilapia) / Sarotherodon melanotheron

เป็นปลาตัวแสบที่สุดชนิดหนึ่งในปลาต่างถิ่นที่ระบาดในไทย โดยเฉพาะใน จังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรสงคราม จะมีพวกมันเยอะเป็นพิเศษ ถ้าลองปลาชนิดนี้ได้ลงไปในบ่อกุ้ง รับประกันได้เลยว่าเมื่อจับกุ้งขายคุณอาจจะไม่ได้เห็นกุ้งแม้แต่ตัวเดียว

โดยข่าวการระบาดของปลาหมอสีคางดำเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าหน่วยงานจะทุ่มงบนับล้านเพื่อรับซื้อปลาหมอสีคางดำ หรือจะเป็นการใช้สารเคมีเพื่อลดจำนวนปลาชนิดนี้ แต่ทุกอย่างไม่เป็นผล เพราะมันขยายพันธุ์ได้ดีกว่าปลานิลซะอีก …และที่สำคัญคนไทยไม่นิยมกินปลาหมอสีคางดำ

ชนิดที่ 5 – ปลาหมอมายัน – Cichlasoma urophthalmus

ปลาหมอมายัน (Mayan Cichlid) จัดเป็นปลาหมอสีที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ยาวได้ประมาณ 20 เซนติเมตร และอาจใหญ่ได้ถึง 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่ทนทานอย่างเหลือเชื่อ มันสามารถอยู่ในอุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส และยังอยู่ได้อย่างสบายที่ 33 องศาเซลเซียส เป็นปลาที่อยู่ได้แม้ออกซิเจนต่ำ เป็นนักล่าที่เก่ง มีนิสัยดุร้ายหวงถิ่น

ปลาหมอมายัน (Mayan Cichlid)
Advertisements

ปลาหมอมายันเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง พบประวัติการรุกรานในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 โดยจับได้ที่คลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางขุนเทียน และมีการจับได้โดยชาวประมงในปี 2549 โดยใช้ลอบ ข่าย และเบ็ดตกปลา จัดเป็นปลาที่มีอันตรายต่อระบบนิเวศไทยอย่างมาก แต่ยังไม่เท่าปลาหมอสีคางดำในตอนนี้

ชนิดที่ 6 – ปลาหมอบัตเตอร์ Heterotilapia buttikoferi

ปลาหมอบัตเตอร์ (Zebra tilapia) เป็นปลาหมอสีที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก มันตัวใหญ่กว่าปลาหมอสีคางดำ และปลาหมอมายัน แต่โชคยังดีที่มันอร่อยกว่า ถ้าจับได้แนะนำให้เก็บไปกินซะ

ปลาหมอบัตเตอร์ (Zebra tilapia) / Heterotilapia buttikoferi

เป็นปลาหมอที่มีหน้าตาคล้ายปลานิลที่สุด แต่จะมีลวดลายที่สวยกว่า มีลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัวสีเหลืองหรือขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม จึงเคยเป็นที่นิยมในแวดวงปลาสวยงาม

ในประเทศไทยปลาหมอบัตเตอร์ จัดเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีคนนำพวกมันไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่มีมากมาย ในบางเขื่อนโดยเฉพาะในเขื่อนศรีนครินทร์ คุณจะตกปลาหมอบัตเตอร์ ได้มากกว่าปลานิลซะอีก และมันก็ตัวใหญ่มากด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements