แมลงกินได้ 14 ชนิด ที่ถูกกินมากที่สุดในไทย

แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่จำนวนมากที่สุดในโลก หากนับเฉพาะชนิดที่กินได้มันก็มีมากกว่า 2,100 ชนิด และหากนับเฉพาะในประเทศไทยก็มี 194 ชนิด และมีมากถึง 50 ชนิด ที่มีให้กินกันตลอดทั้งปี โดยแมลงที่คนไทยกินกันและเห็นอยู่ตามตลาดส่วนใหญ่จะเป็นแมลงทอด ซึ่งจะมีตั้งแต่ หนอนไหม รถด่วน ตั๊กแตน จั๊กจั่น ด้วง เป็นต้น แล้วประเทศไทยเองก็น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เก่งที่สุด ในเรื่องการเก็บเกี่ยวและแปรรูปแมลงเพื่อเอามากิน และเมื่อมาถึงตรงนี้ หลายคนก็น่าจะสงสัยกันว่า แมลงชนิดไหน? ที่พบได้ในไทยและถูกกินมากที่สุด สำหรับเรื่องนี้ผมได้ไปค้นข้อมูลจากวารสารวิทยาศาสตร์ mdpi และสรุปมาเล่าให้ฟังกัน ... ถ้าดูแล้วชอบก็อย่าลืมกดติดตาม กดกระดิ่ง หรือหากต้องการสมัครสมาชิกก็ทำได้เช่นกัน

ชนิดที่ 1 – ตั๊กแตนปาทังก้า (Patanga succincta)

Advertisements

ตั๊กแตนปาทังก้า (Bombay locust) เป็นแมลงอันดับแรกๆ ที่คนทั่วไปมักจะนึกถึง เมื่อถามถึงแมลงทอด โดยปกติแล้วตั๊กแตนปาทังก้าถือเป็นศัตรูพืชระดับภัยพิบัติ หรือก็คือ พวกมันสามารถทำลายล้างพืชไร่ทั้งจังหวัดจนเหลือแต่ตอได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับในไทย ตั๊กแตนพวกนี้ มีราคาแพง จึงถูกจับกินจนหมดโอกาสเพิ่มจำนวนให้มากพอที่จะทำลายล้างพืชไร่ได้

สำหรับ ตั๊กแตนปาทังก้า หรือ ตั๊กแตนบอมเบย์ มีขนาดประมาณ 7 เซนติเมตร บินเร็ว เป็นสายพันธุ์ที่พบได้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปกติแล้วตั๊กแตนพวกนี้มักจะอยู่กันแบบโดดเดี่ยว นานๆ ทีจะมีพฤติกรรมเป็นฝูง แต่ในอินเดียจะบ่อยมากเป็นพิเศษ ปัจุบันในประเทศไทยมีการเลี้ยงเพื่อส่งขายทั้งตั๊กแตนโตเต็มวัย และ ไข่ตั๊กแตน ซึ่งมีราคาแพงมาก โดยเฉพาะไข่จะมีราคาขั้นต่ำที่ขีดล่ะ 1 พันบาท

ชนิดที่ 2 – จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus)

จิ้งหรีดทองดำ หรือ จิ้งหรีดแอฟริกา (African cricket) เป็นจิ้งหรีดชนิดที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด จัดเป็นจิ้งหรีดขนาดกลางจนถึงใหญ่ เมื่อโตเต็มวัยจะยาวได้ประมาณ 3 เซนติเมตร จุดสังเกตุสำคัญคือ ที่โคนปีกจะแต้มสีเหลือง 2 จุด เป็นแมลงที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งเอาไปทอดกิน เลี้ยงปลาตู้ เลี้ยงแมลงขนาดใหญ่ เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน หรือ นำไปเป็นเหยื่อตกปลา และยังเอามากัดต่อสู้กันอีกด้วย

ในธรรมชาติจิ้งหรีดทองดำ จะขุดรูอาศัยตามทุ่งหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืน ชอบเล่นแสงไฟ กินรากไม้และกล้าอ่อนเป็นอาหาร เป็นแมลงที่พบได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชีย รวมทั้งจีน ไปจนถึงเกาะบอร์เนีย

ชนิดที่ 3 – แมลงกระชอน (Gryllotalpa africana)

แมลงกระชอน หรือ แมงกระชอน (Mole cricket) เป็นแมลงอีกชนิดที่นิยมกินกัน โดยจะเอาตัวเต็มวัยไปทอดกิน หรือ อาจมีการแปรรูปไปทำเป็นน้ำพริก แมงกระชอนมีลำตัวมีสีน้ำตาล ส่วนหัวมีสีดำกว่าส่วนอื่นๆ ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน แมลงชนิดนี้ไม่กระโดด ออกหากินในเวลากลางคืน ขุดรูอาศัยอยู่ในดินที่ชื้นแฉะบริเวณใกล้แหล่งน้ำ

Advertisements

ชนิดที่ 4 – แมลงดานา (Lethocerus indicus)

Advertisements

แมลงดานา หรือ แมงดานา(Giant water bug) เป็นแมลงกินได้ที่มีราคาค่อนข้างแพง และยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยแมลงดานาจะนิยมกินกันทั้งตัวที่โตเต็มวัยและไข่ นอกจากจะเอาไปทอดแล้ว ยังเอาไปทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดา น้ำปลาแมงดา เป็นต้น เป็นแมลงที่พบวางขายแบบสดๆ ในตลาดท่องถิ่นมากที่สุดชนิดหนึ่ง

แมลงดานาเป็นแมลงที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพฤติกรรมเล่นกับแสงสว่างเหมือนกับแมลงทั่วไป จึงสามารถจับได้ด้วยวิธีนี้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นท้องทุ่ง หรือท้องนาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รวมถึงเอเชียตะวันออก

ชนิดที่ 5 – จิ้งโกร่ง (Brachytrupes portentosus)

จิ้งโกร่ง (Short-tailed cricket) มีลักษณะคล้ายกับจิ้งหรีดมาก แต่ก็มีจุดสังเกตุง่ายๆ อยู่ตรงที่ จิ้งโกร่งมีรูปร่างขนาดใหญ่และอวบอ้วนกว่า และหัวก็กลมใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่จิ้งหรีดจะตัวเล็กหัวเล็กและผอมกว่า แน่นอนว่าทั้งสองอาศัยทำรังโดยการขุดรูอยู่ในดิน ออกหากินในตอนกลางคืน โดยจิ้งโกร่งสามารถนำมาประกอบอาหารด้วยวิธีที่เหมือนจิ้งหรีด

Advertisements

ชนิดที่ 6 – จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus mitratus)

จิ้งหรีดทองแดง (Ground cricket) เป็นจิ้งหรีดอีกชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับจิ้งหรีดทองดำแล้ว จิ้งหรีดทองแดงจะตัวเล็กกว่าเล็กน้อย เมื่อโตเต็มวัยจะยาวได้ประมาณ 2.8 เซนติเมตร ลำตัวทุกส่วนจะมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณเหนือขอบตาจะมีแถบสีน้ำตาลเข้มรูปตัว V ในเรื่องการนำไปใช้ประโยชน์ก็เป็นเช่นเดียวกับจิ้งหรีดทองดำ

ชนิดที่ 7 – ด้วงกว่างชน (Xylotrupes gideon)

Advertisements

ด้วงกว่างชน (Scarab beetle) เป็นแมลงอีกชนิดที่ไม่น่าจะกินได้ แต่ก็กินได้ นิยมกินเมื่อโตเต็มวัย ด้วยการเด็ดปีกออก จากนั้นก็เอามาทอด หรือเอามาตำน้ำพริก สำหรับด้วงชนิดนี้ นอกจากจะเอามากินได้แล้ว ยังนิยมเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้ เช่นเดียวกับ ไก่ชน หรือ ปลากัด เป็นด้วงที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้เกือบทุกที่ในประเทศไทย

ชนิดที่ 8 – แมงมัน (Carebara castanea)

แมงมัน (Subterranean ant) เป็นแมลงที่นิยมกินไข่หรือตัวอ่อน พวกมันเป็นมดที่อาศัยอยู่ใต้ดิน และจะหากินได้เฉพาะในเดือนกุมภาพันธุ์ – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีตัวอ่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า “ไข่แมงมัน”

Advertisements

แต่การหาไข่แมงมันในธรรมชาติจำเป็นต้องใช้ความรู้และความพยายามมาก นอกจากจะต้องรู้วิธีดูตำแหน่งรังแล้ว ยังต้องออกแรงขุดหลุมลึกเพื่อนำแมลงพวกนี้ขึ้นมา ระหว่างนั้นยังโดนกัดอีก แถมเมื่อนำขึ้นได้ยังต้องนำไปล้างและคัดแยกอีก จึงไม่แปลกหากได้ไปเจอแมงมันกิโลละเกือบพันบาท

ชนิดที่ 9 – ไข่-ตัวอ่อน มดแดง (Oecophylla smaragdina)

มดแดง (Red ant) เป็นแมลงที่นิยมกินไข่หรือตัวอ่อน เป็นเมนูราคาแพงและหาได้ง่ายในบางฤดูกาลเท่านั้น สำหรับวิธีเก็บไข่มดแดงดูเหมือนจะง่ายกว่าแมงมัน นั้นเพราะรังมดแดงจะมองเห็นได้ง่าย ซึ่งปกติจะอยู่บนต้นไม้ และรังก็ใช้ใบไม้เป็นวัสดุทำรัง แต่เพราะมดแดงเป็นมดที่ดุร้ายและยังกัดได้เจ็บมาก และเมื่อเก็บมาแล้วก็ต้องทำการคัดแยกทำความสะอาด

ทั้งนี้ไข่มดแดงจัดเป็นเมนูที่มีราคาค่อนข้างแพง ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ห้อหมกไข่มดแดง เอาไปแกง ยำ ทดกิน ต้มกินกับมาม่าก็ยังได้ นอกจากนี้ยังเอาไปทำเป็นเหยื่อตกปลาสูตรเด็ดได้อีกด้วย

ชนิดที่ 10 – หนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis)

หนอนไม้ไผ่ หรือ หนอนรถด่วน (Bamboo caterpillar) เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนจะกินเยื่อไผ่เป็นอาหาร หนอนรถด่วนเป็นหนอนผีเสื้อที่มีวงจรชีวิตที่ยาวนานถึงหนึ่งปีเต็ม โดยไผ่ที่พบหนอนรถด่วน ได้แก่ ไผ่ซาง ไผ่หก ไผ่บง ไผ่ไร่รอ และไผ่สีสุก พบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 430 – 1,300 เมตร นิยมนำไปต้ม ทอด ตำน้ำพริก

ชนิดที่ 11 – ดักแด้หนอนไหม (Bombyx mori)

ดักแด้หนอนไหม (Silkworm pupae) คือผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เป็นหนอนที่ชอบกินใบหมอน โดยปกติจะเลี้ยงเอาเส้นไหม โดยดักแด้หนอนไหมก็ถือเป็นผลพลอยได้จากกระบวนสาวไหม นิยมนำมากินด้วยการต้ม ทอด ผัด นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่นำหนอนไหมไปป่นเพื่อใช้เป็นแหล่งโปรตีนแทนปลาป่นอีกด้วย

ชนิดที่ 12 – ผึ้งหลวง (Apis dorsata)

ผึ้งน้ำหวาน หรือ ผึ้งหลวง (Honey bee) เป็นแมลงที่ถูกใช้อย่างคุ้มค่ามาก นั้นเพราะสิ่งที่ได้จากผึ้งชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำผึ้ง ตัวอ่อน เกสรผึ้ง นมผึ้ง ไขผึ้ง หรือแม้แต่พิษจากผึ้ง ล้วมแต่เป็นประยชน์ทั้งสิ้น แต่การจะเก็บสิ่งเหล่านี้กลับมาก็ไม่ง่าย นั้นเพราะผึ้งชนิดนี้ ตัวใหญ่และดุที่สุดในบรรดาผึ้งที่พบได้ในไทย มักจะทำรังขนาดใหญ่รูปครึ่งกลม ในบริเวณป่าที่อุดมสมบูรณ์ และยังชอบทำรังบนที่สูงมากอีกด้วย

แต่ปัจุบันสถานการณ์ของผึ้งชนิดนี้น่าเป็นห่วง เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ถูกตัด และยังถูกล่าอย่างหนักจนเป็นเหตุให้ประชากรของผึ้งลดลงอย่างต่อเนื่อง หากจะให้พูด แมลงชนิดไหนในเรื่องนี้ ที่จะสูญพันธุ์ก่อน ผมว่าต้องเป็นผึ้งหลวงแน่นอน

ชนิดที่ 13 – แมงกุดจี่ (Paragymnopleurus aethiops)

แมงกุดจี่ หรือ ด้วงมูลสัตว์ (Dung beetle) เป็นแมลงที่ชื่อและการเป็นอยู่ของมันไม่น่าเอามากินเท่าไร แต่ก็เป็นหนึ่งในแมลงที่คนไทยกินกัน โดยแมงกุดจี่ถือเป็นอาหารพื้นบ้านที่มาจากกองขี้ควาย วิธีการปรุงต้องเด็ดปีกแข็งๆ ออกก่อนปรุง จากนั้นก็เอามา ทอด ต้ม ผัด แกง และคั่วก็ได้

ทั้งนี้ในงานวิจัย แมงกุดจี่ ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ทรงพลังที่สุดในโลก ซึ่งสามารถแบกรับน้ำหนักได้ 1141 เท่า ของน้ำหนักตัว โดยสายพันธุ์ของด้วงชนิดนี้ พบอาศัยอยู่ในทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา

ชนิดที่ 14 – จั๊กจั่น (Meimuna opalifera)

จั๊กจั่น (Cicada) เป็นแมลงที่หากินได้ในช่วงฤดูร้อน โดยปกติแล้วจั๊กจั่นเป็นแมลงที่มีช่วงชีวิตที่ยาวนาน ซึ่งอาจอยู่ได้ถึง 18 ปี แต่ช่วงเวลา 90% หรือมากกว่านั้นจะอยู่ใต้ดิน นิยมนำมากินเมื่อจั๊กจั่นโตเต็มวัยหรือเมื่อขึ้นมาจากดิน ส่วนเมนูเด็ดก็มี คั่วจักจั่น ตำจักจั่นสดใส่มะม่วงเปรี้ยว แกงผักหวานใส่จักจั่น เป็นต้น

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements