แต่เอาจริงๆ มาถึงยุคนี้ ปลากั้ง ถือเป็นปลาที่หายากมากๆ เพราะมันมีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในน้ำสะอาดเท่านั้น มันจึงยากมากที่จะพบในแหล่งน้ำทั่วไป ปกติจะเจอในป่า แอ้งน้ำ ลำธาร หรือบริเวณที่น้ำสะอาดจริงๆ จึงไม่แนะนำให้จับมากิน ถึงหัวจะไม่สั่นก็เหอ
สาเหตุที่คนไทยไม่กล้ากิน และเกิดความเชื่อส่วนหนึ่งเกิดจากนิยายเรื่องปลาบู่ทองเรื่องเดียวที่ทำให้ชาวบ้านตาดำๆ ไม่กล้ากิน เกรงใจเจ้าเอื้อยซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง ที่ตามท้องเรื่องมีอยู่ว่า วิญญาณแม่ของเด็กสาวผู้นี้ไปอาศัยอยู่ในร่างปลาบู่ทองนั้นเอง (แล้วมันเกี่ยวไรกะปลากั้งฟ่ะ)
ปลาก้าง หรือ ปลากั้ง
ชื่อสามัญ : Red-tailed Snakehead
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa gachua
ลักษณะทั่วไป
ปลาน้ำจืด ชนิดหนึ่งใน วงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง
ปลาก้าง จัดชนิดของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศไทย โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า “ปลากั๊ง” หรือ “ปลาขี้ก้าง” หรือ “ปลาครั่ง” มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ถือเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และอมไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว และเลี้ยงลูกปลาในระยะวัยอ่อนพร้อมกับตัวเมีย โดยปลาที่พบในแหล่งน้ำแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันด้านสีสัน เช่น ในเทือกเขาสูงในประเทศลาว พบปลาที่มีครีบหลังสีแดงสดเหมือนสีของไฟ
นิสัย
รับสงบ อดทน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และยังเป็นปลาที่ชอบหากินตัวเดียว ชอบอาศัยในบริเวญไม้ปกคลุม
ถิ่นอาศัย
มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเชีย, บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา
อาหาร
ลูกปลา ลูกกุ้ง และตัวอ่อนของแมลง