รอกสปินนิ่ง หรือเบทคาสติ้ง เลือกใช้อะไรดี

รอกสปินนิ่ง

รอกสปินนิ่ง หรือเบทคลาสติ้งดี..? เป็นปัญหาที่ถูกถามค่อนข้างบ่อยสำหรับผมเลย ต้องบอกว่าเมื่อไม่กี่ปีก่อน รอกเบทคลาสติ้ง ต้องใช้เงินมากกว่า เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่า รอกสปินนิ่ง ราคาถูก ประมาณว่า เบทคาสติ้ง 4,000 บาท ก็แค่เทียบเท่า สปินนิ่ง 2,000 บาท แต่มาถึงยุคนี้ มีเบทคาสติ้งประสิทธิภาพสูงขึ้น ในขณะที่มีราคาถูกลง เดี๋ยวมาดูกันว่าเอาอะไรมาเป็นตัวตั้ง ในการเลือกใช้รอกทั้งสองประเภท

รอกสปินนิ่ง เบทคาสติ้ง หลักการเลือกใช้

Advertisements

ถ้าจะว่ากันตามหลักการ รอกตกปลาที่จะเลือกมาใช้ในงานตกปลาทั่วไป หรือ ตีเหยื่อปลอม จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น สภาพความใสของพื้นน้ำช่วงเวลาในขณะนั้น ชนิดของเหยื่อที่ใช้ ขนาดของสาย และลักษณะภูมิประเทศของแหล่งน้ำ หรือหมายตกปลาที่เราไปนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะทำการตีเหยื่อปลอมด้วยเหยื่อตัวเล็กน้ำหนักเบาซึ่งจำเป็นต้องใช้สายขนาดเล็กตามลงมาด้วย อุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดคือสปินนิ่ง แต่ถ้าแหล่งน้ำนั้นถูกปกคลอมไปด้วยพืชน้ำอย่างหนาแน่นหรือในน้ำเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและอุปสรรคอื่นๆ

รอกสปิน ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้สายเบ็ดขนาดใหญ่เพื่อรีบเอาปลาขึ้นมาให้ได้ ในกรณีเช่นนี้ควรเลือกใช้รอกเบทคาสติ้งที่แมตซ์กับขนาดาย 15-20 ปอนด์ที่มีพลังอัดได้ดีกว่า และสามารถควบคุมแอ๊กชั่นของตัวเหยื่อได้ดีกว่า ทั้งยังมีข้อได้เปรียบทางเชิงกล เมื่อทำการตกปลาด้วยเหยื่อชนิดดำลึก คือช่วยลดแรงเครียดที่เกิดขึ้นบนข้อมือและปลายแขนให้น้อยลง แถมยังช่วยเพิ่มพลังที่เราต้องใช้กล้ามเนื้อในการงัดปลาใหญ่ออกจากสิ่งกีดขวางต่างๆ ให้มากขึ้น

เบทคาสติ้ง มันใช้ยาก

นักตกปลามือใหม่หลายต่อหลายคนมักจะพากันบ่นว่ารอกเบทคาสติ้งนี่ใช้งานยาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของ “สายฟู่” กลัวสายเป็นรังนกนั่นเอง แต่เชื่อหรือไม่ว่าทุกคนนั่นแหละแม้จะเป็นมือโปรก็ตามจะต้องประสบกับปัญหานี้ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือพอป้องกันได้ ถ้าให้ความระมัดระวังอยู่สองสามเรื่อง แม้สายที่ฟู่นั้นจะมีต้นเหตุมาจากหลายประการ แต่ต้นเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดก็เป็นเพราะมีปริมาณสายในสปูลน้อยเกินไป แน่นอนว่ามากเกินไปก็ฟู่ได้เช่นกัน หรือจะเป็นตั้งความตึงของหลอดเก็บสายไม่ถูกต้อง กับใช้เทคนิกวิธีการตีเหยื่อไม่ถูกต้อง และสุดท้ายคือใช้คันเบ็ดกับรอกไปสมดุลกัน

รอกเบทคลาสติ้ง แต่ถ้าเราทำการตีสายเหวี่ยงเหยื่อด้วยวิธีที่ถูกต้อง ตั้งระดับเบรกหรือความตึงของหลอดเก็บสายถูกต้อง และใส่สายในสปูลให้มีปริมาณเต็มอย่างเหมาะสม ทุกคนก็สามารถมั่นใจได้กับประสิทธิภาพของรอกเบทคาสติ้งที่จะทำหน้าเป็นอย่างดี แม้จะมีโอกาสเกิดอาการสายฟู่บ้างก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ยากขึ้น

รอกกับอัตราทดสาย

ไม่ว่าจะเป็นรอกแบบไหน แต่ละรุ่นแต่ละโดเมลจะมี “อัตราเกียร์เรโช” หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า “อัตราทดสาย” หรือเรียกง่ายขึ้นอีกคือ “รอบ” ซึ่งรอกมีรอบให้เลือกใช้มากมาย แต่ที่พอจะบอกได้คือ ถ้าจะเน้นใช้งานเฉพาะงานน้ำจืดเท่านั้นก็ควรเลือกรอกที่มีอัตราทดอยู่ระหว่าง 5:1 – 7:1 ซึ่งจะครอบคลุมสภาพการตกปลาน้ำจืดได้ทุกสถานการณ์ และตัวเลข 5:1 นั้นหมายถึงว่าเมื่อเราหมุนมือหมุนไปครบ 1 รอบตัวสปูลหรือหลอดเก็บสายก็จะหมุนรอบตัวเองไปครบ 5 รอบเป็นต้น

รอกรอบต่ำกว่า 5 ไม่ค่อยจะได้เจอในรอกเบทคลาสติ้ง

Advertisements

ถ้าใช้เหยื่อผิวน้ำ อย่างเหยื่อใบพัด ควรเลือกใช้รอบสูงๆ 7 ขึ้นไป

รอกที่มีรอบต่ำเหมาะสมสำหรับใช้ทำการตกปลาด้วยเหยื่อปลอมที่จะให้แอ๊กชั่นดีที่สุด เมื่อหมุนกรอสายลากเหยื่อเข้ามาอย่างช้าๆ ส่วนรอกที่มีรอบสูง เช่น 6:1 นั้นเหมาะสำหรับงานลากเหยื่อปลอมที่ออกแบบมาให้ใช้ลากด้วยความเร็วสูง ดังนั้นถ้าใครมีทุนน้อยไม่อยากจะซื้อรอกมาใช้หลายๆ ตัวกับเหยื่อแต่ละรุ่นที่ต้องการความเร็วในการลากเหยื่อต่างกัน ก็ควรเลือกซื้อรอกที่มีรอบที่สอดคล้องกับชนิดของเหยื่อที่คุณคิดว่ามีโอกาสใช้งานมันมากที่สุดก็แล้วกัน

เมื่อทำการลากเหยื่อชนิดดำลึกที่จำเป็นต้องใช้แรงมากกว่าปกติเพื่อให้เหยื่อดำลงลึก ควรเลือกใช้รอกที่มีอัตราเกียร์เรโช 5:1 ซึ่งอัตราทดระดับนี้ก็เหมาะที่จะใช้กับเหยื่อชนิดผิวน้ำ เช่นเหยื่อใบพัดและเหยื่อบัซซ์เบทหรือเหยื่อจิ๊กในแหล่งหมายถึงที่มีสิ่งกีดขวางใต้น้ำเยอะ แต่ถ้าตกด้วยเหยื่อยาง เหยื่อปลั๊กดำลึกหรือเหยื่อปลากระดี่ตัวเล็กๆ และเหยื่อสปินเนอร์เบท ก็ควรเลือกใช้รอกที่มีรอบ 6:1

ถ้าเราใส่สายไว้เต็มของความจุที่กำหนดไว้ รอบนี้จะมีผลต่อปริมาณของสายเบ็ดที่ถูกกรอเข้าสู่สปูลในการหมุนมือหมุนไปแต่ละรอบ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารอกตัวนั้นมีรอบ 4:1 ก็จะเก็บสายเข้าสปูลได้ประมาณ 18 นิ้ว เมื่อหมุนมือหมุนไปครบหนึ่งรอบ และถ้ารอกที่ใช้มีรอบ 5:1 ก็จะเก็บสายเข้ามาได้ 22 นิ้ว ถ้ารอบ 6:1 ก็เก็บสายเข้ามาได้ประมาณ 28 นิ้วขึ้นไปต่อการหมุนมือหมุนครบหนึ่งรอบ แต่ปริมาณสายที่กรอเก็บเข้ามาและความเร็วในการลากเหยื่อจะเปลี่ยนไป ถ้าเราใส่สายไว้ในสปูลไม่เต็มตามสเป๊กที่กำหนด

ที่ว่ามาทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่ารอกเบทคาสติ้งมีข้อได้เปรียบกว่ารอกสปินนิ่งหลายประการในการใช้งานตีเหยื่อปลอม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่วางใจในประสิทธิภาพของรอกสปินนิ่งเลย ก็อย่างที่บอกไว้แล้วไงว่า ตามหลักการจริงๆ แล้วจะเลือกใช้งานรอกชนิดไหน ขนาดไหน มันต้องขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นน้ำ ชนิดของเหยื่อ ระดับความลึกที่ปลาอาศัยอยู่ และลักษณะภูมิประเทศของแหล่งน้ำนั้นๆ เพราะทั้งหมดเป็นตัวกำหนดว่าเราควรใช้รอกชนิดไหนสำหรับงานตีเหยื่อปลอมในช่วงเวลานั้น

อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ รอกสปินนิ่ง และ เบทคลาสติ้ง ในเรื่อง 9 คำถาม คลิ๊ก

Advertisements