กิ้งก่าใหญ่ที่สุดในโลก Parson’s chameleon (Calumma parsonii) ได้รับการผสมพันธุ์สำเร็จ ที่สวนสัตว์เชสเตอร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร หลังผ่านมา 569 วัน ในตอนนี้สวนสัตว์ได้ต้อนรับฝูงลูกๆ ของกิ้งก่าที่พบได้ยาก
Parson’s chameleon ถือเป็นกิ้งก่าที่มีระยะฟักไข่นานที่สุดบรรดาสัตว์เลื้อยคลานของโลก แต่! 569 วัน ไม่ใช่ระยะฟักไข่นานที่สุดของกิ้งก่าชนิดนี้ เพราะเคยพบกรณีที่นานถึง 781 วัน และค่าเฉลี่ยอยู่ที่เกือบ 2 ปีเลยด้วยซ้ำ
Parson’s chameleon มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์ ในธรรมชาติพวกมันเดินเตร่อยู่ในป่าจะมีความยาวครึ่งเมตรและหนักประมาณ 700 กรัม (1.5 ปอนด์) เมื่อแรกเกิดพวกมันจะหนักเพียง 1.5 กรัม ..แต่จะเติบโตอย่างมากหลังผ่านไปไม่นาน
การเลี้ยงกิ้งก่าชนิดนี้ในสวนสัตว์เพื่อให้ได้ลูกนั้นเป็นเรื่องยากมากๆ โดยที่ผ่านมา UK ไม่เคยทำได้สำเร็จมาก่อน แต่ในตอนนี้พวกเขาทำได้สำเร็จแล้ว
ที่ผ่านมาทีมงานได้พยายามจำลองรูปแบบตามฤดูกาลของมาดากัสการ์ (โดยละเอียด) ซึ่งจะเลียนแบบสภาพแวดล้อมเดียวกับที่กิ้งก่าเหล่านี้พบเจอบนเกาะ นักวิจัยต้องปรับอุณหภูมิและความชื้นเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน แน่นอนว่าพวกเขาต้องบันทึกข้อมูลเอาไว้อย่างดี โดยหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประชากรให้กับกิ้งก่าชนิดนี้ และยังอาจช่วยสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์อื่นๆ ที่ถูกคุกคามของมาดากัสการ์ได้
สุดท้ายในมาดากัสการ์ ประชากรกิ้งก่า Parson’s chameleon ลดลงมากกว่า 20% ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาเนื่องจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยในภูมิภาค การตัดไม้ทำลายป่าได้ทำลายป่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ .. แม้ในตอนนี้จะยังพบเจอพวกมันได้อยู่ แต่สถานะของพวกมันก็อยู่ในความเสี่ยง