แน่นอนว่ามีความพยายามมากมาย ที่จะนำเอาฉลามขาวมาเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ แต่ทั้งหมดล้มเหลวอย่างรวดเร็ว อย่างในกรณีล่าสุด และน่าจะเป็นความพยายามครั้งสุดท้าย ที่มนุษย์พยายามกักขังฉลามขาว นั้นคือที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโอกินาวา ชูราอูมิ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่งผ่านไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนแต่มันตายภายในเวลาเพียงสามวัน
ก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามที่จบลงด้วยความน่าหดหู่พอๆ กัน มีหลายสิบครั้งในการจัดแสดงฉลามขาวต่อสาธารณชน โดยความพยายามครั้งแรกเท่าที่ทราบคือ ทำโดย Marineland of the Pacific ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและสถานที่ท่องเที่ยวในแคลิฟอร์เนีย ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 ฉลามขาวอยู่รอดได้น้อยกว่าหนึ่งวัน
ในความเป็นจริงในปี 2004 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ กลายเป็นสถาบันเดียวที่รักษาฉลามขาวให้มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 16 วัน แต่สุดท้ายก็ไม่ต่อไม่ไหว
คลิปกรณีที่ฉลามขาวตายภายใน 3 วัน
ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงฉลามขาวได้คืออาหารของพวกมัน ฉลามขาวที่ยิ่งใหญ่เป็นนักล่าระดับสุดยอด ในธรรมชาติ พวกมันจะหิวโหยไล่ล่าและจะกินเฉพาะเหยื่อที่ยังมีชีวิต และยังกินเยอะด้วย ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้หาอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของฉลามขาว
ปัญหาอีกข้อหนึ่งคือ ฉลามขาวเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่โชคร้าย ที่ต้องว่ายน้ำไปข้างหน้าตลอดเวลา เพื่อให้น้ำผ่านเหงือกเพื่อรับออกซิเจน และสายพันธุ์นี้มักจะเติบโตได้ยาวถึง 6 เมตร คุณจึงต้องใช้ถังขนาดใหญ่มาก เพื่อให้มันสามารถว่ายน้ำได้อย่างเป็นอิสระ หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง
ต้องไม่ลืมว่าฉลามขาวเดินทางจากแอฟริกาไปยังออสเตรเลียและกลับมาอีกครั้ง …ระยะไปกลับของมันไกลกว่า 20,000 กิโลเมตร และยังใช้เวลาเพียงเก้าเดือน นี่แสดงให้เห็นว่าฉลามขาวเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามากขึ้นไหน
ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า เพราะสภาพแวดล้อมเทียมของแท็งก์แก้ว สามารถสร้างความสับสนให้กับการรับรู้ทางไฟฟ้าที่เฉียบคมของฉลามขาวได้ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสนี้ ช่วยให้พวกมันสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวเล็กน้อย และการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางทะเลได้
อย่างไรก็ตามในแท็งก์แก้วมันจะสับสนได้ง่าย เมื่อมีสิ่งเร้าจำนวนมากล้อมรอบพวกมัน ตั้งแต่ผนังกระจกไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ … และจากสาเหตุทั้งหมดนี้ จึงทำให้เราไม่ได้เห็นฉลามขาวในสภาพกักขังเลย