หมีน้ำ สัตว์ที่ทรหดที่สุดในโลกใบนี้ แม้โคจรรอบโลก 12 วันก็ไม่ตาย

ก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรที่สามารถฆ่ามันได้ง่ายๆ เหมือนกัน สิ่งมีชีวิตตัวนี้ถึงแม้ตัวมันจะเล็กจิ้วจนมองแทบไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นแบคทีเรีย โดยหมีน้ำ มันได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความทรหดที่สุดในโลก ส่วนจะเป็นเพราะอะไรนั้น ผมได้เตรียมคลิปท้ายบทคามและเนื้อหาเอาไว้ให้ได้อ่านกัน

หมีน้ำ
“หมีน้ำ (Water bear) หรือชื่อสามัญว่า ทาร์ดิกราดา (Tardigrada) หรือ ทาร์ดิเกรด (Tardigrade) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tardigrada”

หมีน้ำถูกค้นพบครั้งแรกโดย โยฮานน์ ออกุสต์ อิปพาเรียม เกิทเซอ นักวิทยาศาสตรชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1773 โดยคำว่า “Tardigrades” มีความหมายว่า “ตัวเดินช้า” (Slow walker)

ชื่อ “หมีน้ำ” มาจากท่าทางการเดินของพวกมัน หมีน้ำมีรูปร่างเหมือนหนอนตัวอ้วนๆ มีรูปร่างเป็นปล้อง มีขนาดเล็กจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเพียง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวที่เล็กที่สุดมีขนาด 0.1 มิลลิเมตร

ในช่วงตัวอ่อนมีขนาดเพียง 0.05 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา มีเล็บที่แหลมคม มีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีแดง, ขาว, ส้ม, เหลือง, เขียว, ม่วง และดำ เชื่อว่ามีมากกว่า 1,000 สปีชีส์ โดยมากเป็นพวกกินพืช ส่วนน้อยกินแบคทีเรีย และกินสัตว์ และยังสามารถพบได้ทั่วโลก

สภาวะความทนต่อสิ่งแวดล้อม

Advertisements
“หมีน้ำได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความทรหดที่สุดในโลก สามารถพบได้ตั้งแต่ที่ยอดเขาหิมาลัยที่ความสูงกว่า 6,000 เมตร จนถึงในทะเลลึกถึง 4,000 เมตร ไม่ว่าจะเป็นที่ขั้วโลก หรือในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ก็จะเจอมัน”

หมีน้ำชอบอาศัยอยู่ตามต้นมอส หรือพวกเห็ดราต่างๆ และยังสามารถพบได้ตามทราย, ชายหาด, พื้นดิน, แร่ธาตุ บนหญ้า และในตะกอนน้ำ

  • มันสามารถอยู่ได้ในที่ๆ มีแรงดันสูงถึง 6,000 บรรยากาศ ซึ่งแรงดันปกติที่มนุษย์อยู่ทุกวันนี้คือแรงดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1 บรรยากาศเท่านั้น โดยแรงดันที่หมีน้ำทนได้นั้นมากกว่าแรงดันของทะเลที่ลึกที่สุดถึง 6 เท่าตัว
  • หมีน้ำเป็นสัตว์ที่ทนต่อรังสีต่างๆ ที่เป็นอันตรายแม้แต่มนุษย์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งรังสียูวี สารเคมีต่างๆ
  • มีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิ 151-272 องศาเซลเซียส (ได้ประมาณ 1 นาที)
  • มีชีวิตอยู่ได้ในที่เย็นจัด -20 องศาเซลเซียส (นาน 30 ปี) และที่ -200 องศาเซลเซียส (ประมาณ 1 วัน)
  • สามารถอดน้ำได้นานถึง 200 ปี
  • แม้ว่าจะถูกปล่อยให้แห้งตายนานกว่า 100 ปี ก็สามารถฟื้นกลับมามีชีวิตได้หากได้น้ำ

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่แน่ชัดกว่า หมีน้ำเกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทว่าซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุในอยู่ช่วงกลางของยุคแคมเบรียน นับว่ามีความเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์เสียอีก โดยจากงานวิจัยพบว่า ซากฟอสซิลของหมีนํ้าที่ค้นพบนั้น มีอายุนานถึง500 ล้านปีเลยทีเดียว

วีรกรรมหนึ่งที่ค่อนข้างสร้างชื่อให้กับหมีน้ำ นั้นคือการที่มันติดไปกับยานอวกาศ FOTON-M3 ของรัสเซีย และได้เข้าสู่วงโคจร นาน 12 วัน หมีน้ำต้องสัมผัสกับสุญญากาศ ความเย็นและการแผ่รังสีของอวกาศ พวกมันไม่เพียงรอดชีวิต แต่ยังวางไข่และฟักออกมาอีกด้วย!

เอาที่อ่านความสามารถของมัน สิ่งที่ผมเคยคิดว่าแมลงสาบคือสิ่งสุดท้ายที่จะรอดหากโลกแตก ผมขอเปลี่ยนใจล่ะ ขอไปอยู่ข้างหมีน้ำแทนล่ะกัน ผมมีคลิปคนเอาหมีน้ำไปใส่ในยาคูลท์ ก็ลองดูกันว่ามันจะตายหรือเปล่า?

ทดลองเอาหมีน้ำใส่ในยาคูลท์

นักชีวะตะลึง พบปลาไหลไฟฟ้า 2 สายพันธุ์ใหม่ ปลดปล่อยประจุไฟฟ้ามากที่สุด

สะตือ ปลาน้ำจืดอีกสายพันธุ์หายากในไทย

Advertisements
แหล่งที่มาsciencefocus