มันเป็นหนึ่งในภาพที่โดดเด่นและดึงดูดความสนใจ และทำให้เกิดการโต้เถียงกันหลายปีหลังจากที่มันถูกถ่าย .. ในเดือนพฤษภาคม 2022 Nick Ut ช่างภาพที่ถ่ายภาพดังกล่าว และ Phan Thi Kim Phuc เด็กหญิงในภาพ ได้นำเสนอสำเนาภาพถ่ายดังกล่าวแก่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความชั่วร้ายของสงคราม ทำให้เห็นว่าภาพนี้มีผลกระทบกว่าที่คิดไว้มาก
จนในปี 2016 .. Facebook ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งด้วยการลบรูป “Napalm Girl” ออกจาก Facebook เนื่องจากรูปถ่ายแสดงให้เห็นว่า Kim Phuc อายุ 9 ขวบเปลือยเปล่าทั้งหมด ซึ่งเกิดจากเธอฉีกเสื้อผ้าที่กำลังลุกไหม้ในขณะที่เธอและเด็กๆ ที่หวาดกลัวคนอื่นๆ วิ่งหนีจากหมู่บ้านของพวกเขา
ภายหลัง Facebook ตัดสินใจยกเลิกการลบภาพและนำภาพนี้กลับมาอีกครั้ง ท่ามกลางการถกเถียงระดับนานาชาติเกี่ยวกับนโยบายเสรีภาพของโซเชียลเน็ตเวิร์ก
เรื่องดังกล่าวส่งสัญญาณว่า “Napalm Girl” เป็นมากกว่าหลักฐานอันทรงพลัง ของผลกระทบจากสงครามที่ไม่เลือกปฏิบัติต่อพลเรือน ภาพที่ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prizes) หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ “ความหวาดกลัวแห่งสงคราม” ยังก่อให้เกิดตำนานที่ขับเคลื่อนด้วยสื่ออย่างเหนียวแน่นอีกด้วย
ตำนานสื่อคืออะไร? เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องราวที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับข่าวที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางและมักถูกเล่าขาน แต่ภายใต้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็อาจไม่มีหลักฐานหรือเป็นการพูดเกินจริงจากข่าวเดิมไปอย่างมาก
ผลการบิดเบือนของตำนานสื่อ ได้เกิดกับภาพถ่ายซึ่ง Ut ถ่ายเมื่อตอนที่เขามีอายุเพียง 21 ปี และเป็นช่างภาพของ The Associated Press
ความโดดเด่นในตำนานของ “Napalm Girl” ซึ่งผมกล่าวถึงในหนังสือที่ผมเขียน “Getting It Wrong: Debunking the Greatest Myths in American Journalism” คือเครื่องบินรบและนักบินที่ทิ้งนาปาล์ม ซึ่งเป็นสารก่อไฟเจลาติน ที่หมู่บ้านตรังบัง นั้นเป็นของกองทัพอากาศ กองทัพเรือหรือนาวิกโยธินสหรัฐ? ..แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น
การโจมตีด้วยระเบิดนาปาล์มที่หม่บ้านตรัง บัง ดำเนินการโดยเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน A-1 Skyraider ของกองทัพอากาศเวียดนามใต้ซึ่งพยายามจะทำลายกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่ซ่อนตัวใกล้หมู่บ้าน ซึ่งข่าวที่รายงานนั้นรายงานได้ตรงและชัดเจน
พาดหัวข่าวจากรายงานของ The New York Times จากตรังบัง กล่าวว่า “South Vietnamese Drop Napalm on Own Troops” หน้าแรกของ Chicago Tribune เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 1972 ระบุว่า “นาปาล์ม ถูกทิ้งโดย A-1 Skyraider ของกองทัพอากาศเวียดนาม ได้ทิ้งระเบิดพลาดเป้า ” Christopher Wain นักข่าวชาวอังกฤษผู้มีประสบการณ์ เขียนถึง United Press International “เครื่องบินเหล่านี้เป็นเครื่องบินเวียดนามใต้ทิ้งระเบิดนาปาล์มพลาดใส่ชาวนาและกองทหารเวียดนามใต้ ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน”
ตำนานความผิดของชาวอเมริกันที่ตรังบัง เริ่มเกิดขึ้นระหว่างการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 1972 เมื่อผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต George McGovern อ้างถึงภาพถ่ายในการ กล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์ เขาประกาศว่านาปาล์มที่เผาเด็กน้อยอย่างโหดร้าย “ถูกทิ้งจากเครื่องบินและนักบินของอเมริกา”
ตัวเร่งการสิ้นสุดของสงคราม?
อีกสองตำนานสื่อที่เกี่ยวข้องสันนิษฐานว่า “Napalm Girl” มีพลังมากจนต้องส่งผลกระทบอย่างทรงพลังต่อผู้คน ตำนานเหล่านี้อ้างว่า ภาพถ่ายได้เร่งการยุติสงครามและทำให้ความคิดเห็นของประชาชนสหรัฐ ต่อต้านสงครามมากขึ้น
แม้ว่ากองกำลังพลของสหรัฐ ส่วนใหญ่จะกำลังออกจากเวียดนามในช่วงเวลาที่ Ut ถ่ายภาพนั้น เหลือเพียงกำลังสนับสนุนทางอากาศ, ช่างเทคนิค และที่ปรึกษาทางทหารรวมถึงพวกหน่วยรบพิเศษบางส่วน แต่สงครามยังคงดำเนินต่อไปอีกเกือบสามปี สุดท้ายจุดจบมาถึงในเดือนเมษายน 1975 เมื่อกองกำลังคอมมิวนิสต์เข้ายึดไซง่อนและปิดฉากสงครามอันยาวนาน
มุมมองของชาวอเมริกันเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้กลับกลายเป็นเชิงลบมานานก่อนเดือนมิถุนายน 1972 โดยวัดจากคำถามแบบสำรวจที่องค์กร Gallup ตั้งขึ้นเป็นระยะ โดยพื้นฐานแล้วเป็นตัวแทนของความคิดเห็นของชาวอเมริกันเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม และการส่งกองทหารสหรัฐฯ ไปนั้นมีข้อผิดพลาดหรือไม่ เมื่อคำถามถูกถามครั้งแรกในฤดูร้อนปี 1965 มีเพียง 24% ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าไม่เห็นด้วยกับการส่งทหารไปเวียดนาม
แต่ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 1971 ประมาณหนึ่งปีก่อนการจะเกิด “Napalm Girl” ผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 61% ตอบว่าการส่งทหารไปเวียดนามถือเป็นนโยบายที่ผิดพลาด
กล่าวโดยสรุป ประชาชนชาวอเมริกันได้ต่อต้านสงครามมานานก่อนที่ภาพของ “Napalm Girl” จะปรากฏออกมาให้เห็น
มันแพร่หลายจริงหรือ?
อีกตำนานหนึ่งคือ “Napalm Girl” ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในอเมริกา ในความเป็นจริงหนังสือพิมพ์รายวันเจ้าใหญ่ของสหรัฐ จำนวนมากได้เผยแพร่ภาพถ่ายดังกล่าว แต่หนังสือพิมพ์หลายฉบับก็งดเผยแพร่ อาจเป็นเพราะว่ามันเป็นภาพเปลือยและมีความรุนแรง
ในการตรวจสอบอีกครั้ง ได้มีการนำเอาหนังสือพิมพ์รายวันของสหรัฐ 40 ฉบับ ในช่วงเวลานั้นและทั้งหมดเป็นสมาชิกของ Associated Press มีชื่อบทความว่า “Napalm Girl” จำนวน 21 ฉบับที่ลงหน้าแรก
แต่หนังสือพิมพ์ 14 ฉบับ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้เผยแพร่ภาพ “Napalm Girl” เลยในวันที่เกิดเรื่อง ซึ่งรวมถึงหนังสือพิมพ์ในเมืองใหญ่อย่าง ดัลลาส,เดนเวอร์,ดีทรอยต์,ฮูสตัน และนวร์ก
มีการตรวจสอบหนังสือพิมพ์เพียง 3 ฉบับจากทั้งหมด 40 ฉบับ ได้แก่ The Boston Globe, New York Post และ The New York Times ที่ตีพิมพ์บทบรรณาธิการที่กล่าวถึงภาพถ่ายโดยเฉพาะ บทบรรณาธิการใน New York Post ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีแนวคิดเสรีนิยมได้ทำนายไว้ว่า “ภาพเด็กๆ จะไม่มีวันหายไปจากใจของใครก็ตามที่ได้เห็น”