พบกระรอกบินตัวเท่าแมว 2 สายพันธุ์ใหม่ ในเทือกเขาหิมาลัย ความสูง 16,000 ฟุต

มันไม่ง่ายเลยที่จะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางภูเขาหินที่มีลมแรงของเทือกของหิมาลัย สถานที่ที่สูงที่สุดในโลก นอกจากก้อนหินและถ้ำ มีต้นไม้เพียงไม่กี่ต้นที่เป็นที่อยู่ของสัตว์และยังปกป้องจากนักล่าได้อีกด้วย

กระรอกบิน

ในสถานที่แห่งนี้มีสัตว์ไม่กี่ชนิดอาศัยอยู่หนึ่งในนั้นคือกระรอกบิน (Eupetaurus Cinereus) ที่มีน้ำหนักประมาณสามปอนด์และยาวสามฟุต เป็นหนึ่งในกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังเป็นสัตว์ที่คนรู้เกี่ยวกับมันน้อยมาก มันถูกค้นพบเมื่อ 130 ปีที่แล้ว กระรอกขนาดเท่าแมวนี้เดิมเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วก่อนจะพบอีกครั้งในช่วงยุค 1990

Kristofer Helgen หัวทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสัตว์ที่เคยคิดว่าสูญพันธุ์ชนิดนี้ โดยเขาและทีมวิจัยได้ตรวจสอบตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์และจากข้อมูลอย่างเช่นรูปภาพ

กระรอกบิน

ผลจากการศึกษาข้อมูลนี้ทำให้ได้ผลที่คิดไม่ถึง กระรอกบินหิมาลัยจริงๆแล้วมีสองชนิดซึ่งมันอยู่ห่างกันไปหลายพันไมล์ สายพันธุ์แรกคือกระรอกบินหิมาลัย (Eupetaurus Tibetensis) อีกชนิดคือกระรอกบินยูนาน (Eupetaurus Nivamons) เดิมสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่แค่ในบริเวณอินเดีย ภูฐาน และธิเบต แต่ภายหลังบางส่วนได้อพยพย้ายไปยังบริเวณยูนานทางใต้ของจีน

“การค้นพบครั้งนี้นั้นน่าตื่นเต้นมาก ทั้งสองสายพันธุ์นั้นจัดว่าเป็นสัตว์มีขนาดใหญ่ที่เคยคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มันยังคงอยู่แถมมีสายพันธุ์ย่อยอีกด้วย ทำให้เรารู้ว่ายังมีอะไรอีกมากที่เราไม่รู้เกี่ยวกับพวกมัน” John Koprowski ผู้เชี่ยวชาญกระรอกจากมหาวิทยาลัยไวโอมิ่ง

ไม่มีนักสัตว์วิทยาคนกล้าที่จะบรรยายถึงพวกมัน

Advertisements

กระรอกบินหิมาลัยจะอยู่ที่ความสูงมากถึง 16,000 ฟุต และเป็นพื้นที่ที่ยากที่จะเข้าถึงและห่างไกล เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไม่ค่อยมีคนเจอพวกมัน กระรอกชนิดนี้จะมีขนสีน้ำตาลที่พรางตัวเข้ากับก้อนหินทำให้ยากที่จะมองเห็นมัน เมื่อนักสัตว์วิทยา Oldfield Thomas พบมันในปี 1888 เค้าถึงกับบรรยายว่า “ไม่มีนักสัตว์วิทยาคนไหนที่จะกล้าบรรยายถึงมันได้”

ในปี 1994 นักสัตว์วิทยา Peter Zahler พบมันอีกครั้งในเทือกเขาที่ห่างไกลของปากีสถาน ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับพวกมันมากขึ้นอีก อาหารของมันในบริเวณนั้นคือต้นสนเข็มและใบต้นจูนิเปอร์ ฟันของมันออกแบบเพื่อบดใบพวกนั้นและดึงสารอาหารออกมา

“กระรอกบินพวกนี้จะกระโจนไปมาระหว่างหน้าผา หางของมันยาวและยังช่วงในการควบคุมทิศทางส่วนขนาดตัวนั้นทำให้ช่วยในการรับมือกับลมที่แรงบริเวณนั้น”

ความลับของกระรอก

ทาง Helgen และเพื่อนร่วมงาน Stephen Jackson ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระรอกมากขึ้น ทำให้เชื่อว่าเทือกเขาหิมาลัยนั้นอาจะจเป็นบ้านของกระรอกบินชนิดอื่นอีก

ทางทีมงานได้ไปพิพิธภัณฑ์ 8 แห่งทั่วโลกเพื่อตรวจสอบตัวอย่างของกระรอกบิน 24 ตัว โดยตัวที่มีอายุน้อยสุดมีอายุมากถึง 50 ปี Helgen และ Jackson พบว่ากะโหลกนั้นมีความต่างกัน และทำให้กระรอกนั้นได้ชื่อว่า E.Tibetensis โดยมีลายดำที่หาง และจากการตรวจสอบ DNA ทำให้ยืนยันว่าเป็นคนละชนิดกัน

Eupetaurus Nivamons
Eupetaurus Nivamons

“สายพันธุ์นี้รออยู่ในห้องเก็บตัวอย่างพิพิธภัณฑ์มากกว่าร้อยปี” Melissa Roberts Hawkins ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและกระรอกของสถาบันสมิทโซเนี่ยน

Hawkins ได้กล่าวว่าจากการตรวจโครงสร้างร่างกายของมันพบว่ากระรอกทั้งสองชนิดนั้นต่างกันอย่างมาก โดยภาพยนอกเหมือนกันแต่โครงสร้างภายในนั้นต่างกันอย่างมาก ซึ่งทำให้รู้ถึงการวิวัฒนาการที่ใช้เวลานับล้านปี

ตั้งแต่ข้อมูลนี้ได้ถูกรวบรวมจากตัวอย่างที่จำกัดของพิพิธภัณฑ์ โดยประชากรของกระรอกบินชนิดนี้ยังไม่ทราบแน่นอน “มันแค่การเริ่มต้น” Helgen กล่าว ต่อไปนี้มันมีชื่อที่ชัดเจนและนักวิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพวกมันได้มากขึ้น

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements