ปลาเบี้ยว หรือ ปลาคางเบือน เจ้าฟันแหลมแห่งลุ่มน้ำไทย

ถ้าพูดถึงปลาเบี้ยว ผมว่าเป็นชื่อที่ได้ยินค่อนข้างบ่อย แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเรียกกันเพราะเข้าผิดปลาชนิดอื่นว่าเป็นปลาเบี้ยวหรือเปล่า เพราะวงศ์ปลาเนื้ออ่อนมันหน้าตาคล้ายๆ กันหลายตัวด้วย พอตกปลาแบบนี้มาได้และตัวไม่ค่อยใหญ่ ก็อาจเข้าใจผิดได้ แต่จริงๆ ปลาเบี้ยวก็มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ปากถ้าจำได้ ก็คงแยกไม่ผิดและเรื่องนี้จะพูดถึงแต่ปลาเบี้ยว ถ้าน้าๆ อยากรู้จักปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นกดดูที่ลิงค์ด้านล่างครับ

ปลาเบี้ยว หรือ ปลาคางเบือน (Twisted-jaw catfish, Twisted-jaw sheatfish) อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Belodontichthy (/เบล-โอ-ดอนท์-อิค-ธีส/; “Belo” เป็นภาษากรีกหมายถึง “ทุกทิศทาง”, “odon” หมายถึง “ฟัน” และ “ichthyos” หมายถึง “ปลา” มีความหมายรวมหมายถึง “ปลาที่มีฟันทุกทิศทาง”

มีรูปร่างโดยรวมคือ ปากกว้างและเชิดขึ้นอันเป็นที่มาของชื่อ ภายในมีฟันแหลมคม ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก มีก้านครีบแขนง 3 หรือ 4 ก้าน ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง นัยน์ตามีเยื่อไขมันบางๆ คลุม

เป็นปลาที่สังเกตุได้ไม่ยากเท่าไร เพราะคางจะดูงัดๆ ขึ้น

อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ กินอาหาร จำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยุ่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น และพบปลาเบี้ยวอยู่ 2 ชนิดคือ โดย Belodontichthys truncatus พบในภูมิภาคอินโดจีน และไทย มีความยาวได้ 60 เซนติเมตร (ตัวในคลิปแรก)

ปลาดังแดง อีกสายพันธุ์ปลาเนื้ออ่อนแห่งลำโขง

Advertisements

ปลาน้ำเงิน หรือ ปลานาง Common Sheatfish

Advertisements