นี่นับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกสึนามิในมหาสมุทร 3 แห่ง นับตั้งแต่ที่เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย 2004 โดยที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่าคลื่นดังกล่าวเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ปริศนาคลื่นยักษ์นี้ได้รับการเปิดเผยแล้ว
ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในเดือนสิงหาคม 2021 ลึกลงไปในพื้นมหาสมุทร 47 กิโลเมตร ซึ่งลึกเกินกว่าจะทำให้เกิดสึนามิได้ แม้แต่คลื่นที่มีขนาดค่อนข้างเล็กที่สูงระหว่าง 15 – 75 เซนติเมตร ก็ยังยาก แต่อย่างไรก็ตามมันก็เกิดคลื่นยักษ์สึนามิขึ้นจริงๆ แถมยังใหญ่มากด้วย
สึนามินี้ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 7.5 แมกนิจูดเพียงครั้งเดียว เมื่อศึกษาข้อมูลแผ่นดินไหวโดยละเอียดอีกครั้ง พวกเขาก็พบว่า จริงๆ แล้วเป็นชุดของแผ่นดินไหวย่อยห้าครั้ง และท่ามกลางแผ่นดินไหวย่อยนี้ ได้ซ่อนเสียงดังกึกก้องที่ใหญ่กว่าและตื้นกว่ามาก ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสึนามิใหญ่ทั่วโลก
มันเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่ 3 ที่ “มองไม่เห็น” ซึ่งเกิดขึ้นใต้พื้นผิวโลกเพียง 15 กิโลเมตร ด้วยขนาด 8.2 แมกนิจูด ทว่าท่ามกลางแผ่นดินไหวอื่นๆ จึงทำให้ระบบติดตามแผ่นดินไหวของเราพลาดเรื่องนี้ไปอย่างสิ้นเชิง
Zhe Jia นักแผ่นดินไหววิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียอธิบายว่า “แผ่นดินไหวครั้งที่ 3 ถือว่าพิเศษมาก เพราะเป็นแผ่นดินไหวใหญ่มากแต่กลับเงียบมาก ความจริงคือแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงนี้ แทบจะมองไม่เห็นจากระบบตรวจสอบที่เรามีอยู่เลย”
Jia และเพื่อนร่วมงานของเขา ได้ตัดข้อมูลแผ่นดินไหวเป็นช่วงเวลาที่ยาวกว่า 500 วินาที ซึ่งเผยให้เห็นการปรากฏตัวของแผ่นดินไหวที่ตื้นและมาอย่างช้าๆ ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน
พวกเขาพบเสียงก้องนาน 3 นาที ของการแตกออกของพื้นผิวขนาด 200 กิโลเมตร โดยรวมแล้วเหตุการณ์เดียวนี้คิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของช่วงเวลาแผ่นดินไหวทั้งหมดที่บันทึกไว้
จากผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวและสึนามิของเรา จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง หากเราต้องการเตือนชุมชนชายฝั่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ ระบบของเราจำเป็นต้องอ่านระหว่างเส้นแนวแผ่นดินไหวเพื่อดูแผ่นดินไหวที่ใหญ่และซ่อนตัวอยู่
มิฉะนั้น ขนาดที่แท้จริงของแผ่นดินไหวที่ซับซ้อน อาจยังคงเกิดขึ้นโดยไม่มีใครสังเกตเห็น ปัจจุบันระบบติดตามแผ่นดินไหวมักจะเน้นที่คลื่นไหวสะเทือนในระยะสั้นและระยะกลาง
“การศึกษานี้เป็นตัวอย่างที่ดี ในการทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้ทำงานอย่างไร และเราจะตรวจจับเหตุการณ์นี้ได้เร็วขึ้นอย่างไร เพื่อให้ได้รับคำเตือนมากขึ้นเร็วขึ้นในอนาคต”