ฟอสซิลที่เหมือน ‘ยานอวกาศ’ เผยนักล่าที่หิวโหยเมื่อ 500 ล้านปีก่อน

เมื่อ 506 ล้านปีก่อน มีนักล่าตัวหนึ่งคลานไปตามพื้นตะกอนของมหาสมุทรในยุคแคมเบรียน มันใช้แขนของมันกวาดตามพื้นทะเลเพื่อหาเหยื่อของมัน

การค้นพบฟอสซิลที่เหมือนยานอวกาศ

Advertisements

ในปี 2018 ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ Royal Ontario ได้ค้นพบฟอสซิลของนักล่ายุคโบราณในระหว่างการสำรวจเทือกเขาร็อกกี้ของแคนนาดา ทีมงานได้ระบุสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีขนาด 19 นิ้วนี่ว่า Titanokorys gainesi มันเป็นหนึ่งในสัตว์นักล่าที่มีความเร็วมากที่สุดในโลกที่เคยมีมา

“ในช่วงเวลาที่สัตว์บนโลกส่วนมากมีขนาดเพียงนิ้วก้อย แต่มันกลับตัวใหญ่มาก และอาจจะอยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหารในเวลานั้น” – Joe Moysiuk นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตรอนโตและผู้เขียนร่วม

Titanokorys อยู่ในช่วงเวลาที่เริ่มต้นของระบบนิเวศ ซึ่งในเวลานั้นสิ่งมีชีวิตส่วนมากเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อ่อนนุ่ม เมื่อสัตว์นักล่าชนิดแรกวิวัฒนาการขึ้นมา ก็ทำให้ระบบนิเวศซับซ้อนมากขึ้น และสัตว์บางกลุ่มที่ยังมีชีวิตรอดจนถึงทุกวันนี้ก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นมา การหมุนเวียนทางธรณีวิทยานี้เรียกว่า “การระเบิดของยุคแคมเบรียน”

ในปี 1909 หลักฐานการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถูกค้นพบโดย Charles Walcott นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน ได้ค้นพบชั้นตะกอนที่มีร่องรอยของสัตว์ไม่มีการะดูกสันหลัง รวมถึงสัตว์ที่เหมือนหลุดมาจากนิยายของเลิฟคราฟท์ เช่น Opabinia และ Hallucigenia ซึ่งไม่มีแล้วในปัจจุบัน

สัตว์กินเนื้อหลักของระบบนิเวศนี้คือสัตว์ขาปล้องที่สูญพันธุ์ไปแล้วที่เรียกว่า Radiodonts ซึ่งตั้งชื่อตามกรามทรงกลมที่มีฟันของพวกมัน และยังมี Anomalocaris ซึ่งเป็นนักล่าขนาดใหญ่และโดดเด่นที่สุด มันมีความยาว 3 ฟุต มีลำตัวเพรียวบางช่วยให้มันพุ่งผ่านน้ำได้เร็วมาก

Jean-Bernard Caron ผู้ดูแลฟอสซิลสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่พิพิธภัณฑ์ Royal Ontario กล่าวว่า เป็นเวลานานหลายสิบปีที่ Anomalocaris เป็นนักล่าขนาดใหญ่ชนิดเดียวที่รู้จักจากแหล่งขุดค้นที่ชื่อ Burgess Shale มันเป็นช่วงปี 2014 ขณะที่เขาและเพื่อนร่วมงานกำลังรวบรวมฟอสซิลจากเหมืองในอุทยานแห่งชาติ Kootenay ในรัฐบริติชโคลัมเบีย พวกเขาเจอกับสัตว์ลึกลับชนิดใหม่ แต่ในตอนนั้นพวกเรายังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ สี่ปีต่อมาจึงได้มีการค้นพบกระดองที่สมบูรณ์และมีขนาดเท่าหมวกฟุตบอล

“มันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ฟอสซิลแบบนี้หายากมาก เราใช้เวลาพอสมควรในการรวบรวมสิ่งของทั้งหมด แต่ก็ทำให้เรารู้ว่ามีนักล่าขนาดใหญ่ในระบบนิเวศในช่วงเวลานั้น” – ดร. Caron กล่าว

แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับ Anomalocaris แต่ Titanokorys ก็เป็นนักล่าที่ต่างออกไป มันมีกระดอกทรงยานอวกาศและมีกรงเล็บกับปล้องตั้งขึ้น ทำให้รู้ว่ามันใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ก้นทะเล เป็นไปได้ว่าจะใช้ชีวิตเหมือนแมงดาทะเลในปัจจุบัน โดยการดูดกลืนเหยื่อจากพื้นทราย

การค้นพบนี้ยังชี้ให้เห็นว่าระบบนิเวศในยุคแคมเบรียน นั้นซับซ้อนกว่าที่เคยคิดไว้ ในเหมืองแห่งนี้ยังมีการค้นพบ Titanokorys ต่างชนิดกันแต่มีรูปร่างคล้ายกันอีกด้วย “มันเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่พบว่านักล่าสองชนิดใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดียวกัน แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทะเลในช่วงนั้นมีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับนักล่าต่างสายพันธุ์” ดร Caron กล่าว

การล่าอาจเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อเหยื่อพัฒนาเกราะที่แข็งแรงขึ้น ผู้ล่าก็จะพัฒนาขากรรไกรที่แข็งแรงกว่า ทั้งเหยื่อและผู้ล่ายังพัฒนาดวงตาให้ดีขึ้น

Advertisements

“แนวคิดเรื่องการแข่งขันทางอาวุธและการป้องกันตัวในวิวัฒนาการมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ล่ายุคแรกๆ อาจมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบนิเวศที่ซับซ้อนที่เรารู้จักในปัจจุบัน”

การค้นพบนี้ยังเน้นว่ายังมีอะไรให้เรียนรู้เกี่ยวกับยุคแคมเบรียนอีกมาก “ทุกครั้งที่เราย้ายแหล่งขุดค้นใหม่ เราจะพบสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไป เหมือนยอดของภูเขาน้ำแข็ง ยังมีอะไรอีกมากที่รอเราอยู่” ดร. Caron กล่าว

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาsci-news