ปริศนา ‘ปลาหุ้มเกราะขนาด 2 นิ้ว’ เอาตัวรอดจากปลาปิรันยาได้ยังไง

ปลาขนาดเล็กมีบางสิ่งที่มนุษย์อย่างเราคาดไม่ถึง อย่างปลาแพะ (Corydoras trilineatus) ก็เป็นหนึ่งในนั้น ผมเชื่อว่าน้าๆ คงเคยเห็นเจ้านี่ตามร้านขายปลาสวยงามมาบ้าง มันเป็นปลาที่แทบจะไม่พบเจอภาพถ่ายในธรรมชาติเลย อาจเพราะถิ่นกำเนิดของมันอยู่ในแม่น้ำอเมซอน และมันก็มีขนาดเล็กเพียง 1 - 2 นิ้วเท่านั้น เดี๋ยวมาดูปริศนาที่น่าประหลาดใจของพวกมันกัน

ทีมนักวิจัยในห้องแลปชีวะวิทยาที่แคลิฟอร์เนียได้จัดแสดงสิ่งที่น่าจะเป็นการจับคู่สัตว์น้ำที่น่าจะแปลกประหลาดที่สุด มุมหนึ่งคือ ปิรันย่าแดงจอมโหด ส่วนอีกมุมคือปลาแพะสามตัวที่มีขนาดตัวเพียงหนึ่งนิ้ว และนี่คือการทดลองที่เพิ่งถูกเปิดเผยออกมา

Threestripe corydoras (Corydoras trilineatus) ปลาแพะขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว มีเกาะที่แข็งแกร่งกว่าที่เห็นมากๆ

ปิรันย่าต้อนเจ้าปลาแพะที่น่าสงสารเข้ามุมก่อนจะอ้าปากเพื่องับมันแต่ทว่าหลังพยายามถึง 10 ครั้ง เจ้าปิรันย่าก็ยอมแพ้แล้วปลาแพะก็เป็นอิสระเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ปลาตัวเล็กตัวนี่ใช้อะไรป้องกันตัว?

Advertisements

“มันน่าอัศจรรย์มาก ยิ่งตอนมันว่ายออกจากปากปิรันย่าจอมโหด เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น” – ดร. Misty Paig-Tran รองศาศตราจารย์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย California กล่าวพร้อมหัวเราะไปด้วย เหมือนมันออกจะรำคาญปิรันย่าด้วยซ้ำ แถมหลังจากนั้นปิรันย่าก็ไม่ยุ่งกับมันอีกเลยแบบ ฉันไม่สนใจพวกแกแล้ว ไปให้พ้น!

ปลาตัวเล็กๆ แบบนี้รอดจากเจ้าปิรันย่าจอมโหดได้อย่างไร ทั้งที่ปลาหรือสัตว์ขนาดใหญ่กว่ามันหลายเท่า ยังต้องถูกฉีกเป็นชิ้นๆ ซึ่งความลับก็คือเกล็ดของมันและเงี่ยง ซึ่งเกล็ดของมันนั้นเบามาก แต่ทนแรงได้มหาศาล นักวิจัยหวังว่าเกล็ดของมันสามารถจะวิจัยต่อยอดเพื่อสร้างวัสดุที่แข็งแรงและเบาในการทำเสื้อเกราะได้

ปลาปิรันยาแดง (Red-bellied piranhas) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักราว 3.5 กิโลกรัม

เอาตัวรอดวันต่อวัน

ปลาแพะนั้นจัดอยู่ในตระกูลปลาดุก แต่มันไม่ใช่ปลาดุกทีเดียว เพราะว่ามันเองก็มีเกล็ดเพียงแต่เกล็ดของพวกมันนั้นเล็กและถี่มาก เหมือนพวกปลาหมู พวกมันจะใช้ชีวิตอยู่ตามก้นน้ำที่ไม่ลึกมากของป่าอเมซอน

ด้วยขนาดเพียง 1 – 2 นิ้ว ทำให้พวกมันสามารถถูกกินโดยนักล่าขนาดใหญ่ เช่น นากยักษ์หรือโลมาสีชมพู แต่กับปิรันย่านั้นเกล็ดของมันช่วยให้พวกมันนั้นสามารถโต้ตอบได้

จากการทดสอบในที่เลี้ยงนั้น ปิรันย่าสามารถฉีกปลาอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันได้สบายๆ แต่กับเจ้าปลาแพะตัวเล็กๆ นี่ หลังจากมันพยายามงับถึง 10 ครั้ง สุดท้ายมันก็ยอมแพ้

โครงสร้างพิเศษของเกล็ด
Advertisements

นอกจากเกล็ดอันแข็งแกร่งแล้ว ครีบของมันนั้นก็แข็งมาก รวมถึงเงี่ยงใกล้เหงือกของมันที่ทิ่มแทงใส่ผู้ล่าได้ การที่พวกมันพยายามกัดทะลุเกราะของปลาแพะนั้นยากมาก เฉลี่ยแล้วถ้าปิรันย่าล่าปลาแพะจะมีเพียง 20% เท่านั้นที่มันสามารถกัดจนทะลุได้ แต่ส่วนมากพวกมันจะยอมแพ้ก่อน และนี่คือโอกาสที่ปลาแพะจะหนีไปซ่อนได้

ถึงแม้มันสามารถถูกนักล่าขนาดใหญ่กว่ามากๆ กินได้ แต่การที่รอดจากปิรันย่าแดงจอมโหดได้ก็ช่วยต่อชีวิตพวกมันไปได้อีกวัน

ความพยายามลอกเลียนแบบปลาแพะ

เกล็ดของปลาแพะนั้นแข็งแรกกว่าที่เห็นมาก ซึ่งมันผ่านการวิวัฒนาการทางธรรมชาติเป็นเวลานาน ถ้าปลาแพะนั้นเป็นนักสู้รุ่นไลท์เวท ส่วนเฮวี่เวทของอเมซอนนั้นคงจะเป็นปลาช่อนอเมซอน ซึ่งเจ้ายักษ์นี้ก็มีเกราะที่เเข็งและหนามาก

นักวิจัยพยายามค้นคว้าว่าการที่มีเกล็ดหนาแบบนี้ส่งผลอย่างไรสำหรับพวกมันในการวิวัฒนาการ รวมถึงการประยุกต์ในการพัฒนาวัสดุสำหรับทำเสื้อเกราะในอนาคตที่เน้นความเบาแต่ทนทานด้วย ซึ่งในตอนนี้มีความพยายามจำลองวัสดุที่จะมาใช้ทำเสื้อเกราะโดยอิงจากเกล็ดปลาอีกด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements