Cystisoma ‘ดูดซับแสง 99.9%’ แม้ตัวจะใส กุญแจสร้างวัตถุที่เกือบมองไม่เห็น

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสัตว์จำพวกครัสเตเชียนบางตัว สวมสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นกันสะท้อนเพื่อซ่อนตัวจากนักล่า มันเป็นสุดยอดการพรางอันชาญฉลาดของสัตว์ทะเลได้เพิ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อไม่นาน

แม้ว่านักวิจัยจะพยายามศึกษาเจ้า “Cystisoma” แต่ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับมันไม่มากนัก นั้นเพราะมันอยู่ในที่ๆ เข้าถึงได้ยาก และยังมองเห็นได้ยากอีกด้วย โดย Cystisoma เป็นลูกพี่ลูกน้องของครัสเตเชียนที่ได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อย ความจริงมันใสราวกับกระจกและดูนุ่มนิ่ม แต่ความจริงแล้วสิ่งมีชีวิตที่เป็นของแข็ง

Cystisoma อยู่ในกลุ่มย่อยของสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งที่เรียกว่า hyperiid amphipods ซึ่งอาศัยอยู่ในมหาสมุทรทุกแห่งตั้งแต่ใต้ผิวน้ำไปจนถึงใกล้พื้นสมุทร

มันเป็นสัตว์ที่คล้ายแมลงและเป็นเจ้าแห่งการปลอมตัว แม้ในภาพจะเห็นมันตัวใส แต่มันสามารถพัฒนาลายพรางที่แตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับความลึก เมื่อแสงแดดส่องถึง สปีชีส์นี้จะมีสีแดงหรือสีดำ สายพันธุ์โปร่งใส เช่น Cystisoma มีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่ระหว่าง 30 ถึง 1,000 ฟุต

และเพื่อให้เข้าใจพวกมันมากขึ้น นักชีววิทยาทางทะเลของ Duke Laura Bagge และ Karen Osborn นักสัตววิทยา ได้จับตัวอย่างของ Cystisoma ด้วยหุ่นยนต์ดำน้ำลึก โดยตัวที่พวกเขาจับมาได้มีขนาดประมาณมือมนุษย์

เมื่อกลับมาที่ห้องแล็บ นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาชิ้นส่วนเล็กๆ ของเปลือกภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน โดยจากการวิเคราะห์เผยให้เห็นรูปทรงกลมเล็กๆ ทั่วเปลือกของมัน สิ่งนี้เป็นเหมือน “สิ่งเล็กๆ ที่ดูเหมือนขน” แต่มันทำหน้าที่เหมือนสารเคลือบผิว

Advertisements
จากนั้นเมื่อนักวิจัยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างที่เคลือบผิวดังกล่าว มันส่งผลต่อแสงอย่างไร จนในที่สุดพวกเขาก็พบว่าสารเคลือบนี้ สามารถดูดซับแสงได้ถึง 99.9% และด้วยสารเคลือบนี้ทำให้ Cystisoma มองเห็นได้ยากมาก

การค้นพบนี้อาจเป็นก้าวสำคัญ ที่จะช่วยให้วิศวกรออกแบบโครงสร้างที่คล้ายกันนี้ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของกระจกและการดูดซับแสงสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ หรือแม้แต่สร้างผ้าคลุมล่องหนที่บิดเบือนแสงได้ .. สุดท้ายเราอาจสร้างสิ่งที่เกือบจะมองไม่เห็นได้จริงๆ จากโครงของสายเคลือบที่เกิดจาก Cystisoma

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาsmithsonianmag