ในความมืดมิดของถ้ำแห่งหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดราชบุรี มีคนไทยบางคนที่สวมไฟฉายไว้บนหัว พวกเขาเดินเข้าถ้ำเพื่อเก็บสะสมมูลค้างคาวเพื่อนำไปขายเป็นปุ๋ย พวกเขาต้องยกถุงปุ๋ยเดินผ่านอุปสรรคหินงอกหินย้อย
ในขณะที่นักวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งดูแลโดยนักไวรัสวิทยาค้างคาวชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของโลก กำลังดักจับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีปีก เพื่อนำไปทดสอบหาร่องรอยของไวรัสโคโรน่าที่เป็นจุดเริ่มต้นของโควิด-19 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันเกิดขึ้นจากค้างคาว
พื้นที่รอบๆ ถ้ำค้างคาว อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ได้รับโชคลาภจากค้างคาว พวกมันดึงดูดนักท่องเที่ยว บริษัทปุ๋ย และที่สำคัญที่สุดในตอนหลังคือ หมอนวดแผนโบราณ และนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่บินได้ตัวนี้
ถ้ำค้างคาว ในวัดเขาช่องพราน เป็นถ้ำหินปูนที่มีค้างคาวสามล้านตัวจาก 10 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ค้างคาวบางตัวสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจเป็น 800 ครั้งต่อนาทีได้
เกือบหนึ่งในสี่ของสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในโลกเป็นค้างคาว มันมีความสามารถในการบินในขณะที่ตัวมันเองเป็นเหมือนจานเพาะเชื้อไวรัส ทำให้พวกมันเป็นทั้งสัตว์มหัศจรรย์และเป็นพาหะนำโรคที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน
โรคติดต่อที่เกิดจากค้างคาวในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ Coronaviruses เช่น SARS และ MERS พร้อมกับไวรัสอื่นๆ เช่น Nipah, Hendra และ Ebola ไวรัสเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกถ่ายโอนจากค้างคาวไปยังโฮสต์ระดับกลาง เช่น ชะมด หรือ อูฐ ก่อนที่จะส่งถึงมนุษย์
และแม้ค้างคาว จะมีการเชื่อมโยงกับ Covid-19 แต่ นพ. ศุภภรณ์ กล่าวว่า ทีมของเธอไม่พบร่องรอยของ Coronavirus ที่คล้ายกับที่ทำให้เกิด Covid-19 ในค้างคาวของวัดเขาช่องพราน แม้ว่าจะมีการค้นพบ Coronaviruses อื่นๆ ที่นี้ และเมื่อทดสอบมนุษย์ในพื้นที่รอบๆ เขาช่องพราน รวมถึงนักเก็บมูลที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกับค้างคาวมาหลายสิบปี ก็ไม่พบหลักฐานแอนติบอดีของไวรัสเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากการพบเห็นนักวิจัยซึ่งสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลตั้งแต่หัวจรดเท้า ได้สร้างความประหลาดใจและความกังวลให้กับชุมชนที่ต้องอาศัยค้างคาวเป็นแกนนำทางเศรษฐกิจ
“ที่นี่ไม่มีโควิด” อุ่นจิตต์ แก้วตะโก อาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอที่เดินทางมาเขาช่องพรานมากว่า 40 ปี กล่าว “ทำไมเราต้องโทษค้างคาว”
ความหวาดกลัวของชาวต่างชาติได้เพิ่มขึ้นพร้อมกับ Chiroptophobia (ความกลัวค้างคาว) ซึ่งในมุมมองของนักเก็บมูลค้างคาวที่เขาช่องพรานซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชายแดนพม่า ความวิตกกังวลที่เกิดจากค้างคาวก็เพิ่มขึ้นมาก เพราะมีค้างคาวอยู่ 17 สายพันธุ์ในพื้นที่ และมีเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้นที่เป็นค้างคาวกินผลไม้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของโรค ส่วนที่เหลือกินแมลงซึ่งหมายความว่ามูลค้างคาวจะเต็มไปด้วยปีกแมลง
“แม้กระทั่งก่อนรุ่นปู่ของฉัน พวกเราเก็บมูลจากถ้ำ” แจ๋ว แย้มอิ่ม วัย 65 ปี กล่าว ขณะพักอยู่บริเวณวัดด้วยเท้าเปล่าวางอยู่ในกองมูลค้างคาวเนื้อนุ่ม “พวกเขาสบายดี และเราก็สบายดี”
ทุกเช้าวันเสาร์ก่อนรุ่งสาง ที่เขาช่องพรานจะอนุญาตให้นักเก็บมูล ซึ่งบางคนหมวกสวมไหมพรมทำเอง เพื่อป้องกันตัวเองจากการหยดมูลในถ้ำ คนงานหลายคนเดินเท้าเปล่าเพราะมันเดินได้ดีกว่าในพื้นลื่นๆ ของถ้ำ แน่นอนพวกเขาเดินบนมูลค้างคาว
จำนวนค้างคาวในอำเภอโพธารามลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา พวกมันตกเป็นเหยื่อของการขยายเมืองที่กินพื้นที่ชนบทของประเทศไทย การการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างหนักจนทำให้ค้างคาวขาดอาหารอีกด้วย
เมื่อมีค้างคาวน้อยลง ก็มีหนูที่มากขึ้น และการมีอยู่ของค้างคาวที่น้อยลง ได้รบกวนรูปแบบการผสมเกสร ทำลายระบบนิเวศเขตร้อนในลักษณะเดียวกับการลดลงของผึ้ง และที่สำคัญนักไวรัสวิทยาค้างคาวบางคน เชื่อว่าความเครียดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่ค้างคาว อาจทำให้สัตว์เหล่านี้เสี่ยงต่ออาการเป็นโรคมากขึ้น และอาจเพิ่มโอกาสที่ไวรัสจะแพร่กระจายไปยังสายพันธุ์อื่นเช่นกัน
ปกติค้างคาวจะสามารถมีสุขภาพดีได้ด้วยไวรัสหลายชนิดที่ไหลผ่านร่างกายของพวกมัน แต่สิ่งที่มนุษย์สร้าง เช่น อาคารสูง สายไฟ และพื้นที่กว้างใหญ่ของซีเมนต์ อาจทำให้ร่างกายของค้างคาวเครียดได้ เนื่องจากพวกมันทำงานมากขึ้น เพื่อใช้ในการหาตำแหน่งสะท้อนเสียง (Echolocation) การส่งเสียงความถี่เพื่อกำหนดสภาพแวดล้อมโดยรอบ
พระสมนึกซึ่งปัจจุบันเป็นภิกษุอยู่ที่วัด เล่าว่าเมื่อยังเด็ก ท้องฟ้ามืดครึ้มกว่า 2 ชั่วโมงในตอนพลบค่ำ โดยมีเงาของค้างคาวหลายล้านตัวออกไปหาอาหารยามเย็น แต่ตอนนี้การบินของค้างคาวเสร็จสิ้นภายใน 45 นาที “เรากังวลว่าวันหนึ่งค้างคาวจะเป็นเพียงตำนานของที่นี่ หากเราเสียค้างคาว เราก็สูญเสียสิ่งที่ทำให้เราพิเศษ”