ตัวเบ็ด ชุดปลายสายสำคัญ กับเรื่องที่ควรรู้

เทอร์มินับ แทคเกิ้ลหรือที่นักตกปลาบ้านเรานิยมเรียกกันว่า ชุดลีดเดอร์ ก็จะมาถึงอุปกรณ์ตกปลาชิ้นเล็กๆ อีกชิ้นหนึ่ง นั่นก็คือ ตัวเบ็ด หรือ ฮุค (Hooks) อาจกล่าวได้ว่าตัวเบ็ดชุดเทอร์มินับ แทคเกิ้ล

เรากำลังพูดกันถึง เทอร์มินับ แทคเกิ้ล (Termnal Tackle) ซึ่งหมายถึงส่วนเชื่อมต่อออกไปจากสายเบ็ด ส่วนมากเราจะเริ่มกันจาลูกหมุนเป็นเกณฑ์เรื่อยไปจนสุดชุดของ เทอร์มินับ แทคเกิ้ลหรือที่นักตกปลาบ้านเรานิยมเรียกกันว่า ชุดลีดเดอร์ ก็จะมาถึงอุปกรณ์ตกปลาชิ้นเล็กๆ อีกชิ้นหนึ่ง นั่นก็คือ ตัวเบ็ด หรือ ฮุค (Hooks) อาจกล่าวได้ว่าตัวเบ็ดชุดเทอร์มินับ แทคเกิ้ล เก่าแก่มากพอๆ กับสายเบ็ดซึ้งในสมัยโบราณนั้นชุด เทอร์มินัล แทคเกิ้ลไม่มีรูปแบบอย่างทุกวันนี้ ตัวเบ็ดจะผูกต่อจากสายเบ็ดโดยตรงกันเลย ตัวเบ็ดที่เก่าแก่มากที่สุดย้อนยุคไปในสมัยหลายพันปี ตั้งแต่ใช้วัสดุที่ทำจากไม้ กระดูกสัตว์ จนมาถึงโลหะอย่างเช่น ทุกวันนี้

ตัวเบ็ดตกปลา

Advertisements

ตัวเบ็ดมีความสำคัญต่อการตกปลามากส่วนหนึ่ง มันเป็นตัวยึดเหนี่ยวหรือเกี่ยวปลาเอาไว้ จะได้ตัวปลาหรือไม่ก็มีส่วนจากตัวเบ็ดมากทีเดียว คำว่า ตัวเบ็ดตกปลา หรือ ฮุค (Hooks) ในบ้านเรา มีการเรียกขานในชื่อ ต่างออกไปน้อยมากตัวเบ็ดนั้นบางท่านเรียกว่า ขอเบ็ด หรือ ตาเบ็ด อาจมีคำเรียกอื่นอีกบ้าง แต่คงเป็นการเรียกในบางทิ้งถิ่น ถ้ามีการแยกส่วนของตัวเบ็ดออกเป็นส่วนๆ นักตกปลาบ้านเราเรียกกันไม่กี่สวน เช่น เงี่ยงเบ็ด คือ ส่วนที่เป็นเงี่ยงแหลมแยกจากส่วน ปลายเบ็ด จากนั้นก็จะเป็นส่วนก้านเบ็ดที่โค้งเป็นตะขอเรื่อยไปจนถึงส่วน ห่วงเบ็ด หรือ ตูดเบ็ด ซึ่งเป็นจุดใช้ผูกเงื่อน

ตัวเบ็ด มีคำพูดจาประสาชาวบ้านเกี่ยวกับเบ็ดตกปลาอยู่คำนึงที่ไม่ได้หมายถึงการ ตกปลาโดยตรงเท่าใดนัก ก็คือ คำว่า ตกเบ็ด ความหมายของคำๆ นี้ที่รู้จักกันคือการ่อ ให้ของโดยมีเครื่องมือหรือสิ่งล่อ ส่วนอีกความหมายก็คือ การพนันอย่างหนึ่งพอๆ กับคำว่า อ่อยเหยื่อ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตกปลาคือหมายถึงการให้สิ่งของเงินทองที่ละเล็กละน้อย ทั้งคำว่าตกเบ็ดและอ่อยเหยื่อมักจะมีความหมายเป็นไปในการพนันส่วนใหญ่

คราวนี้ย้อนมาดูกันถึงตัวเบ็ดตกปลาที่เราใช้กับการตกปลาโดยตรงว่ามีอะไรแปลกไปจากที่เคยรู้กันบ้าง ประการแรกเลย ก็คงเป็นเรื่องของสรีระของตัวเบ็ด ที่พูดจาประสาคนตกปลาทางต่างประเทศเขา มีการเรียกขานกันต่างออกไปจากนักตกปลาบ้านเรามากทีเดียว เรามาเริ่มต้นจากส่วนต่างๆ ของตัวเบ็ดดังนี้

ส่วนปลายแหลมหรือพอยท์ (Point)

ส่วนปลายแปลมของตัวเบ็ด หรือคมเบ็ด เขาเรียกว่า พอยท์ (Point) ซึ่งส่วนมากเราจะรู้กันว่าหมายถึง จุด เช่น จุดทศนิยม หรือ ทิศทาง เป็นต้น อีกความหมายก็คือ สิ่งที่เป็นปลายแหลม เฉพาะเจ้าตัว Point หรือคมเบ็ดนี้มีลักษณะต่างๆ กันออกไปอีกหลายแบบ เช่น

ฮอลโล่ พอยท์ (Hollow Point) เป็นคมเบ็ดชนิดที่เราเห็นหรือใช้กันทั่วๆ ไป ประเภทปลายแปลมออกไปตรงๆ
เคิร์ฟ พอยท์ (Curved in Point) คมเบ็ดชนิดนี้มีรูปแบบเดียวกับแบบแรกเพียงแต่ส่วนปลายงองุ่มเข้าด้านใน เรามักจะพบเห็นเบ็ดชนิดนี้กับงานตกปลาน้ำจืดทั่วๆ ไป มากกว่างานตกปลาทะเล ซึ่งคงมีเบ็ดชนิดนี้ในชื่อ Circle Hook ใช้กันอยู่กับงานตกปลาทะเลบางกรณี
ซุพพีเรีย พอยท์ (Superior Point) เป็นคมเบ็ดชนิดไม่กลมเรียวแหลม ซึ่งจะพบกับเบ็ดตกปลาทะเลชนิดแข็งพิเศษ
ดับลิน พอยท์ (Dublin Point) เป็นชนิดคมเบ็ดเรียวแหลมพิเศษ ซึ่งจะช่วยให้เกี่ยวปากปลาได้เร็วขึ้น
ไนฟ์ เอดจ์ พอยท์ (Knife edge Point) เป็นคมเบ็ดที่มีส่วนสันด้านในของคมเบ็ดคมแบบใบมีด เบ็ดที่มีคมแบบนี้พบอยู่กับเบ็ดตกปลาทะเลที่มีปากเป็นกระดูกแข็ง เช่น ปลาทูน่า ปลากะโทงแทง เป็นต้น

 

ตัวเบ็ด

นอกจากนี้คมเบ็ดของัวเบ็ดยังมีตำแหน่งคมเบ็ดต่างกันไป 3 แบบคือ

1. แบบ เคิร์ฟ (Kirbed) ถ้ามองไปทางคอมเบ็ดจะพบว่าคมเบ็ดแบบนี้จะเบี่ยงไปทางซ้ายมือ นักตกปลาบ้านเราเรียกว่าเบ็ดหน้าเบี่ยง ไม่ว่าจะเบี่ยงด้านซ้ายหรือขวาเราก็เรียกเหมือนกัน
2. แบบ สเตรท (Stright) ก็คือคมเบ็ดอยู่ในแนวเดียวกับก้านเบ็ด หรือที่เราเรียกกันว่าเบ็ดหน้าตรง
3. แบบ รีเวิร์ส (Reversed) เป็นคมเบ็ดที่เบี่ยงไปทางตรงกันข้ามกับแบบ ก. คือเบี่ยงไปทางขวา นักตกปลาบ้านเราอาจไม่ได้สังเกตุว่า เบ็ดหน้าเบี่ยงนั้นมันเบี่ยงไปทางใด เบ็ดหน้าเบี่ยงมีผลต่อการเกี่ยงปากปลาได้ไวกว่าเบ็ดหน้าตรงอยู่บ้าง

จะเห็นได้ว่างทางต่างประเทศเขาให้ความสำคัญกับตัวเบ็ดแค่ใด เพียงแต่คมเบ็ดอ่างเดียวก็มีข้อแตกต่างกันไปหลายอย่าง ซึ่งมันจะมีประโยชน์ต่อการใช้งานแล้วแต่กรณี

ส่วนที่เป็นเงี่ยงเบ็ดนั้น เขาเรียกว่า บาร์บ (Barb)

Advertisements

ตัวเบ็ดทั่วไปจะมีเงี่ยงเบ็ดเพื่อช่วยไม่ให้ตัวเบ็ดหลุดออกจากการเกี่ยวได้โดยง่าย ดังนั้นถ้าจะตกปลาเพื่อการปล่อยไปนักตกปลามักจะบีบเงี่ยงเบ็ดให้พับลงมา เพื่อทำให้การปลดปลาปล่อยทำได้ง่ายขึ้น และก็มีเบ็ดบางรุ่นที่ผลิตออกมาแบบไม่มีเงี่ยงซึ่งเรียกว่า บาร์บเลส ฮุค (Barbless Hook) ซึ่งใช้กับการตกปลาบางกรณี

ส่วนโค้งของตัวเบ็ดเรียกว่า เบนด์ (Bend) ซึ่งหมายถึงโค้งหรืองอ ส่วนโค้งของตัวเบ็ดมีทั้งแบบโค้งทรงกลมและโค้งแบบเอียงคล้ายตัวอักษร งอ งู. ในภาษาไทยกลายๆ

ส่วนโค้งด้านในของตัวเบ็ดมาจนถึงปลายคมเบ็ดเขาเรียกว่า โธรท(Throat) ซึ่งหมายถึงคอหรือลำคอ คอของตัวเบ็ดคงไม่มีนักตกปลาบ้านเราท่านใดให้ความสนใจแต่อย่างใด เพราะไม่รู้ว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง คอเบ็ดที่ลึกจะเกี่ยวได้มั่งคงกว่าคอที่ตื้นกว่า

ส่วนกว้างระหว่างคมเบ็ดกับตัวเบ็ดนั้นเรียกว่า แก็บ (GAP) อันหมายถึงช่องห่าง ซึ่งวัดจากคมเบ็ดกับตัวก้านเบ็ด ส่วนของตัวเบ็ดทั้ง 3 ส่วน คือส่วนคอเบ็ด (Throat) ส่วนโค้ง (Bend) และช่องห่าง (Gap) ของตัวเบ็ดจะมีความสัมพันธ์กันตลอดไปเพื่อทำให้ตัวเบ็ดเกิดความสมดุลหรือความพอดี

ก้านตัวเบ็ด หรือ แซงค์ (Shank)

เป็นส่วนสำคัญของตัวเบ็ดที่นอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านการตกปลาแต่ละแบบแล้วยังใช้เป็นตัววัดขนาดของตัวเบ็ดในตัวอีกด้วย ก้านเบ็ดมีรูปแบบต่างๆ กันออกไปตามประเภทของการใช้งานเท่าที่มีใช้กันอยู่ในวงการตกปลาเท่านั้น ก้านเบ็ดมีแบบดังนี้
สเตรทแชงค์ (Straight Shank) เป็นก้านเบ็ดแบบตรงๆ ซึ่งจะพบเห็นได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ
ฮัมพ์ แชงค์ (Hamped Shank) ตัวก้านเบ็ดจะถูกตัดเป็นลอนคลื่นเล็กน้อย ตรงกลางก้านเบ็ดเพื่อช่วยยึดตัวเหยื่อปลอมบางชนิด
สไลซ์ แซงค์ (Slice Shank) เป็นก้านเบ็ดที่มีเงี่ยงเล็กๆ อยู่ 3-4 อันด้วยกันเพื่อ ใช้ยึดตัวเหยื่อสด เช่น หนอนหรือไส้เดือน นิยมใช้กันในวงการตกปลาน้ำจืด
เซ็นทรัล ดราฟท์ แซงค์ (Central Shank) เป็นก้านเบ็ดที่ออกแบบมาให้คมเบ็ดฝังเร็วขึ้นเช่นกัน
เบนด์ ดาวน์ แซงค์ (Bend Down Shank) เป็นก้านเบ็ดที่ออกแบบมาใช้กับเหยื่อปลอมประเภทเหยื่อจิ๊ก (Jig)
สเต๊ฟแซงค์ (Step Shank) เป็นก้านเบ็ดที่ออกแบบมาใช้ป้องกันคมเบ็ดเกี่ยวกับสาหร่ายใต้น้ำ

รูปแบบของก้านเบ็ดต่างๆ ดังกล่าวนั้น นักตกปลาบ้านเราอาจพบอยู่เพียงบางแบบเท่านั้น เพราะผู้นำเข้ามักจะสั่งเฉพาะตัวเบ็ด ที่ขายได้ง่ายมากกว่า เราจึงไม่ค่อยพบเห็น ตัวเบ็ดรูปแบบแปลกๆ กันเท่าใดนัก ก้านเบ็ดชนิดก้านตรงนั้น มีให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบคือ

แบบก้านกลม หรือ Regular เป็นก้านเบ็ดที่เราพบเห็นมากที่สุด ใช้กั้นอยู่กับการตกปลาเกือบทุกประเภท
แบบก้านเหลี่ยม หรือ Forge ก้านเบ็ดประเภทนี้จะพบกับเบ็ดตกปลาทะเลเป็นส่วนมาก วัสดุที่ใช้ทำเบ็ดก้านเหลี่ยมมักจะแข็งกว่าชนิดก้านกลม

นอกจากนี้ก้านเบ็ดยังมีให้เลือกใช้ ทั้งชนิด ก้านสั้น (Shot Shank) และ ชนิดก้านยาว (Long Shank) การเลือกใช้ตัวเบ็ดก้านสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับประเภทงานและประเภทของปลากับลักษณะของเหยื่อที่ใช้เกี่ยวเป็นหลัก ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวโดยตรง นักตกปลามักจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้กันเอง

แต่กระนั้นก็ตามตัวเบ็ดก้านยาวหรือสั้นอาจถูกระบุกับการใช้งานตกปลา บางประเภทโดยเฉพาะ เช่นเบ็ดทูน่า (Tuna Hook) เป็นตัวเบ็ดแบบก้านสั้นเช่นเดียวกับเบ็ดตกปลาทาร์ปอน (Tapon) ก็จะเป็นแบบก้านสั้นเช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วตัวเบ็ดที่ใช้ตกปลาทะเลส่วนมากมักจะนิยมใช้ตัวเบ็ดชนิดก้านยาวกันมากกว่า

อ่านเรื่อง เรื่องราวของเบ็ด Circle Hooks

Advertisements