ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย เข้าใกล้อีกขั้นในการนำเสือแทสเมเนียนกลับมาจากการสูญพันธุ์ หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดลำดับจีโนมของตัวนัมแบต (Numbat) ซึ่งเป็นญาติสนิทที่ยังมีชีวิตอยู่ของเสือแทสเมเนีย
โดยตรงการนี้ได้ดำเนิดการโดย University of Western Australia’s (UWA) DNA Zoo. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้กล่าวว่า การจัดลำดับจีโนมของนัมแบตได้สำเร็จ ทำให้มีความเป็นไปได้ในการนำเสือแทสเมเนียกลับมาจากสูญพันธุ์
Parwinder Kaur ผู้อำนวยการ DNA Zoo และรองศาสตราจารย์ Parwinder Kaur อธิบายว่า “นัมแบตที่กินปลวกอาหาร เป็นหนึ่งในญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของเสือแทสเมเนีย ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อประมาณ 35 ล้านปีก่อน”
“สิ่งมีชีวิตลึกลับทั้งสองนี้มีลายทาง แต่นั่นไม่ใช่จุดสิ้นสุดของความคล้ายคลึงกัน แต่เพราะมากถึง 95% ของ DNA ของพวกมันอาจเหมือนกัน” ตัวนัมแบตเองก็กำลังจะสูญพันธุ์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 โดยครั้งหนึ่งเคยเดินเตร่ไปทั่วตอนใต้ของออสเตรเลีย
มีความพยายามในการอนุรักษ์ โดยชุมชนและรัฐบาลช่วยให้พวกมันปีนป่ายออกมาจากเขตแดนสูญพันธุ์ แม้ว่าจะมีน้อยกว่า 1,000 ตัวที่เหลืออยู่ในป่า แต่สายพันธุ์นี้ยังถือว่าใกล้สูญพันธุ์อยู่ดี
ในสวนสัตว์เพิร์ท ซึ่งให้ตัวอย่างเลือดสำหรับการจัดลำดับจีโนม เป็นสวนสัตว์แห่งเดียวในโลกที่เพาะพันธุ์นัมแบตในกรงขัง โดยตั้งแต่ปี 1993 สวนสัตว์ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์และปล่อยนัมแบตคืนสู่ป่าไปแล้วกว่า 220 ตัว
“การทำลำดับจีโนมของนัมแบต เป็นความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในความพยายามในการอนุรักษ์” Reece Whitby รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียกล่าว
แม้ตอนนี้การจัดลำดับจีโนมสัตว์ที่พิเศษอย่างนัมแบตได้สำเร็จ แน่นอนว่าเรื่องนี้ช่วยเรื่องการอนุรักษ์นัมแบตเป็นอย่างมาก แต่สำหรับเสือแทสเมเนีย มันยังเป็นอีกก้าวที่เข้าใกล้การคืนชีพมัน และนักวิจัยยังคงต้องทำอะไรๆ อีกหลายสิ่งเพื่อให้เป็นจริง