โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายคนเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น “ฮิโนกิ มาหาพญานาค” “จิ้งเหลนหางยาว” “งูผสมกับขี้โก๋” “แปลกมากไม่เคยเห็น” “น่าจะเป็นจิ้งเหลนที่กินงูเขียวเข้าไป” “พญานาคบ่ครับ” “ขอบ้านเลขที่แหน่ครับ” “จิ้งเหลนไฟตระกูลจิ้งเหลน” “เจ้าเซื่อเรื่องพญานาคบ่ อีคำแก้วมันเป็นงู”
บางคนถึงกับแซวว่าอาจเป็น ซาลาเกต (Salahgade) มังกรตัวจิ๋ว เป็นบรรพบุรุษของงูอนาคอนด้าในปัจจุบัน ปกติ ซาลาเกตจะมาอายุราวๆ 35,000 ปี ซึ่งมันมีนิสัยดุร้าย พ่นพิษได้ไกล 900 เมตร
จริงๆ แล้วมันคือ สางห่า หรือ งูคา
สางห่า หรือ งูคา เป็นสัตว์ที่แปลกประหลาด จริงๆ แล้วสามารถพบเห็นได้ทั่วไปแม้แต่ในกรุงเทพ แต่จำนวนที่น้อยลงจึงกลายเป็นสัตว์ที่หาค่อนข้างยาก .. สางห่า มาพร้อมความเชื่อแปลกๆ อย่างเช่นมันเป็นสัตว์มีพิษอะไรทำนองนั้น
สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Six-striped grass lizard) ชื่อวิทยาศาสตร์ Takydromus sexlineatus เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae)
ความเชื่อของสางห่าในไทยในหลายภาค โดยเฉพาะภาคอีสาน จะมีความเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับ ที่ชอบอาศัยอยู่ตามแอ่งน้ำหรือในถ้ำ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน “มีพิษอยู่ที่เขี้ยว” หรือบางความเชื่อว่า “มีพิษอยู่ที่เล็บ” .. หรือแม้แต่อยู่ที่หาง ..ว่ากันว่าหากถูกหางของมันฟาดเข้า จะจะเกิดเป็นรอยแผลไหม้จนถึงแก่ความตายได้
ส่วนทางแถบภาคกลางก็ไม่น้อยหน้า เชื่อว่า สางห่าเป็นงูขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีขา อาศัยอยู่ตามยอดหญ้า พอหญ้าเหี่ยวเฉา ก็จะย้ายไปหาหญ้าใหม่ บางท้องที่เชื่อว่า สางห่าเป็นคางคกป่าชนิดหนึ่ง และมีเสียงร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า .. “ความจริงแล้ว สางห่าไม่มีพิษ และไม่มีภัยอะไรต่อมนุษย์เลย”
และจากความเชื่อนี้ ทำให้สางห่าได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมเรื่อง “เพชรพระอุมา” ของพนมเทียน เป็นสัตว์ประหลาดหรือธิดาของพญานาค นอกจากนี้แล้ว สางห่ายังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น งูคา, กิ้งก่าน้อยหางยาว หรือ กระห่าง