Swimbait เทคนิคเล่นกับน้ำหนักของเหยื่อ Part 1 พื้นฐานเหยื่อที่ดี

ตกปลา อย่าไปยึดติดกับสิ่งที่เหยื่อให้กับเรา เหยื่อปลอมหลายๆ ชนิด เราไม่สามารถปรับเปลี่ยนแอคชั่นของมันได้มากนัก แต่สำหรับ Swimbait ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ น้าๆ สามารถสร้างความแตกต่างให้กับเหยื่อ

สร้างแอคชั่นใหม่ๆ ด้วยเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ให้กับมันได้ ไม่ว่าจะด้วยตัวเบ็ด หรืออื่นๆ แต่ที่ผมจะพูดถึงตอนนี้คือ การเล่นกับน้ำหนักของเหยื่อ

ซึ่งเป็นเทคนิคที่ต้องเข้าใจเหยื่อมากหน่อย โดยใน Part 1 ขอนำเสนอวิธีดูเหยื่อแบบไหนคือเหยื่อที่ดีก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าเหยื่อ Swimbait แบบไหนที่จะเอามาใช้เทคนิคนี้ เข้าใจเหยื่อที่ใช้ก่อน ว่าแบบไหนคือเหยื่อที่ดี

ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อปลอมแบบไหน ถ้าไม่รู้จักและไม่เข้าใจเหยื่อที่ใช้ จะไม่สามารถใช้เหยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน  หากถามว่าจะต้องเข้าใจอะไรบ้าง หลักคือ

เมื่อเหยื่อ Swimbait ลงน้ำ จะเป็นอย่างไร ?

Advertisements

สำคัญมากๆ ที่จะต้องรู้ว่าเหยื่อลงน้ำแล้วเป็นอย่างไร ? มันจม แล้วจมเร็วแค่ไหน.. ถ้ามันลอย ? มันจะลอยอย่างไร หัวจมหางกระดก หรือลอยขนาน หรือหัวลอยหางจม วิธีลองก็ง่ายๆ เลย หาถัง หาตู้ปลาเล็กๆ จับเหยื่อมาลงน้ำดูได้เลย

1.1 เหยื่อ Swimbait (S) ที่ดี หากจมน้ำ ถ้ามันจมถึงพื้น ไม่ว่าจะจมเร็วหรือจมช้า มันต้อง “ตั้ง” (เอียงเล็กน้อยพอไหว) ถ้าถึงพื้นแล้วนอนลง นั่นคือเหยื่อไม่ดี แต่ไม่ดีไม่ได้หมายความว่าใช้ไม่ได้นะ เพียงแต่มันเป็นการแสดงให้เห็นว่า เหยื่อตัวนี้ขาดความสมดุล เมื่อลากเหยื่อจะไม่ตั้งตรง และไม่สามารถลากเร็วได้

ถ้าเหยื่อจมเร็วจะมีมุมของการจม โดยที่หัวกดลงราวๆ 30 – 60 องศา ถือเป็นเหยื่อที่ดี ส่วนเหยื่อจมช้าองศา 5 – 20 องศา ถือเป็นเหยื่อที่ดี หากองศามากกว่านี้เหยื่อลอยหากลาก มันจะจมลงน้ำมากจนเกินไป

swimbait
จะเห็นว่าเมื่อลงถึงพื้นเหยื่อตั้งตรง และหางลอยขึ้นสูง
swimbait hooks
จมช้า เหยื่อจะไม่มีทางถึงพื้นอย่างแน่นอน อย่างมากก็ยืนอยู่ด้วยตัวเบ็ด และหากตีลงไปแล้วลากทันที มันอาจจะเป็นเหยื่อที่ว่ายอยู่ในระดับผิวน้ำได้ ซึ่งน้าๆ สามารถดูได้จากองศาของเหยื่อ หากจมช้า และหัวกับหางอยู่ในระดับใกล้กัน เหยื่อตัวนี้สามารถเล่นในระดับผิวน้ำได้ (เหยื่อจมช้า หากเหยื่อไม่มีลิ้น หัวต้องไม่ลอยสูงกว่าหางนะ ไม่งั้นแย่)

จะเห็นว่าเมื่อลงถึงพื้นเหยื่อตั้งตรงและหางลอยขึ้นสูงจมช้า เหยื่อจะไม่มีทางถึงพื้นอย่างแน่นอน อย่างมากก็ยืนอยู่ด้วยตัวเบ็ด และหากตีลงไปแล้วลากทันที มันอาจจะเป็นเหยื่อที่ว่ายอยู่ในระดับผิวน้ำได้

ซึ่งน้าๆ สามารถดูได้จากองศาของเหยื่อ หากจมช้า และหัวกับหางอยู่ในระดับใกล้กัน เหยื่อตัวนี้สามารถเล่นในระดับผิวน้ำได้ (เหยื่อจมช้าหากเหยื่อไม่มีลิ้น หัวต้องไม่ลอยสูงกว่าหางนะ ไม่งั้นแย่)

1.2 เหยื่อ Swimbait (F) แบบไม่มีลิ้น องศาของเหยื่อเมื่อลอยอยู่เฉยๆ ไม่ควรเกิน 20 องศา (ถ้าอยากให้เหยื่อจมลงเมื่อลาก) หากเหยื่อลอยขนาน (หางหัวลอยเสมอกัน) เหยื่อมักจะหลุดแอคชั่นง่ายๆ แต่เราสามารถนำมันไปเล่นกับเทคนิคเกี่ยวกับน้ำหนักได้หลากหลาย

ราวๆ 15 องศา เมื่อลาก เหยื่อที่ลอยแบบนี้เป็นแบบกึ่งจมกึ่งลอยครับ ถ้าตัวเบ็ดใหญ่นิดนึงมันจะกลายเป็นจมช้ามาก และหากมันลอย เมื่อลาก มันจะจมลงเล็กน้อย

1.3 เหยื่อ Swimbait (F) แบบมีลิ้น ถ้าแบบนี้ เหยื่อควรลอยขนานกัน (หางหัวลอยเสมอกัน) หรือหาจมหน่อยๆ

ลอยเกือบขนาน เหยื่อแบบนี้ลอยเต็มตัว มีการเพิ่มลิ้น เพื่อช่วยให้เหยื่อส่ายมากขึ้น และกดเหยื่อให้จมลงเมื่อลาก
Advertisements
swimbait rods
แบบหัวลอยหางตก และมีลิ้นด้วย (ลอยแบบนี้ถ้าไม่มีลิ้นนี่แย่หนัก) สำหรับผมเหยื่อแบบนี้ แอคชั่นใช้ไม่ได้ เหยื่อพลิกไปพลิกมา ไม่มั่นคง แต่สามารถนำมาดันแปลง เล่นอะไรสนุกๆ ได้

ลอยเกือบขนาน เหยื่อแบบนี้ลอยเต็มตัว มีการเพิ่มลิ้น เพื่อช่วยให้เหยื่อส่ายมากขึ้น และกดเหยื่อให้จมลงเมื่อลากแบบหัวลอยหางตก และมีลิ้นด้วย (ลอยแบบนี้ถ้าไม่มีลิ้นนี่แย่หนัก) สำหรับผมเหยื่อแบบนี้ แอคชั่นใช้ไม่ได้ เหยื่อพลิกไปพลิกมา ไม่มั่นคง แต่สามารถนำมาดันแปลง เล่นอะไรสนุกๆ ได้

เมื่อเริ่มลากเหยื่อ Swimbait จะเป็นอย่างไร ?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า พื้นฐานของการลาก Swimbait คือ ลากกลับมาเฉยๆ เรื่องวิธีลากแบบอื่นจะขอพูดถึงทีหลัง เมื่อรู้ว่าเหยื่อจมยังไงแล้ว มาดูเมื่อมันว่ายน้ำจะเป็นยังไง

ข้อนี้ เชื่อว่าน้าหลายคนอาจคิดว่า เหยื่อ Swimbait ว่ายน้ำเหมือนกัน ซ้าย ขวา ร่อนไปมาแค่นั้น แต่จริงๆ แล้ว ต้องดูว่าขนาดเหยื่อร่อนเร็วและยาวแค่ไหน เส้นทางที่มันร่อนกว้างแค่ไหน และมันส่ายแค่ไหน วิธีสังเกตเรื่องพวกนี้ สามารถดูได้ง่ายๆ จาก

2.1 ขนาดเหยื่อ Swimbait รู้หรือเปล่า ยิ่งตัวเล็กยิ่งส่ายถี่ และ ส่ายถี่มาก คือไม่ดีนะ นั่นเป็นเหตุผลที่เหยื่ออย่าง Swimbait จะไม่มีตัวเล็กๆ ส่วนใหญ่ขนาด 8cm ขึ้นไป

ขนาดเหยื่อที่เหมาะสมที่สุดคือ 13 – 20 cm แต่หากสามารถสร้างเหยื่อเล็กกว่า 13cm และเข้าเงื่อนไขข้อ 2.2 – 2.3 ได้ ถือว่าโอเคแล้วครับ

2.2 ร่อนเร็วมากแค่ไหน คือการที่เหยื่อSwimbait ว่ายโฉบซ้าย ขวา ด้วยความเร็วแค่ไหน ไม่เกี่ยวกว่าน้าลากเร็วแค่ไหนนะครับ ยกตัวอย่างเช่น น้าลากเหยื่อกลับมา 1 ฟุต เหยื่อร่อนไปแล้ว 10 รอบ จากประสบการณ์ผมนั้นคือ “เร็วเกินไปมาก”

ผมคิดว่า สำหรับ Swimbait ยิ่งร่อนช้า ก็ยิ่งเรียกความสนใจปลาได้ดี แต่ เหยื่อยิ่งตัวใหญ่ ก็ยิ่งร่อนช้า อาจจะ 2 ฟุต ต่อรอบเลยก็ได้ เหยื่อ Swimbait ขนาดใหญมาก ไม่ค่อยเหมาะ จึงไม่เกิน 13cm ที่ร่อนไม่เกิน 1-2 รอบต่อฟุต หายากหน่อย ส่วนใหญ่เป็นเหยื่อแบบยาว 20cm+

2.3 เส้นทางที่มันร่อนกว้างแค่ไหน ลองนึกภาพถนน ถนนจะมีขอบหรือเส้นถนนซ้ายขวา มันกว้างแค่ไหน เหยื่อจะร่อนไปชนขอบซ้ายและขอบขวา คือระยะความกว้างในการร่อนต่อรอบของเหยื่อ

จากประสบการณ์ของผม เชื่อว่าเหยื่อSwimbait มีระยะร่อนที่แคบ จะดูเป็นธรรมชาติกว่า และเรียกความสนใจปลาได้มากกว่า ความกว้างของการร่อน ไม่เกิน 15cm และหากน้อยกว่าจะยิ่งดี

แต่กฎข้อนี้จะขัดแย้งกับข้อ 2.2 นะครับ เพราะว่าเหยื่อที่มีระยะความกว้างในการร่อนน้อย จะเป็นเหยื่อขนาดเล็ก หากหาเหยื่อที่เข้ากันกับข้อ 2.2 – 2.3 นั้นคือเป็นเหยื่อที่ดี

swimbait techniques

2.4 มันจะหลุดจากแอคชั่นเดิม เมื่อลากเร็วแค่ไหน  ข้อนี้ถ้าเหยื่อสมดุล จะสามารถลากได้เร็วเท่าที่ต้องการ  โดยที่ไม่หลุดออกจากเส้นทาง (ไม่ได้เร็วขนาดเอาเรือลากนะ) ข้อนี้ปกติแล้ว เหยื่ออย่าง Swimbait จะไม่ลากเร็วอยู่แล้ว แค่ลากเร็วพอประมาณ แล้วไม่หลุด ก็พอแล้ว แต่ถ้าลากช้าแล้วดันหลุด ก็คือใช้ไม่ได้

Swimbait ยังไงปลาก็กิน

ขอจบวิธีดูเหยื่อ Swimbait ที่ดีเอาไว้แค่นี้ น้าๆ สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ ปรับให้เข้ากับความชอบส่วนตัว เหยื่อที่ไม่ตรงจากที่เขียน ก็ไม่ได้หมายความว่าปลาจะกินไม่ดีนะครับ เพราะผมเองเชื่อว่าเหยื่อทุกตัวปลาจะกิน มันจะมีวันของมันเสมอเช่นกัน

หากน้าๆ ที่อยากเรียนรู้และได้เทคนิคเพิ่มเติม ไปดูเรื่องเกี่ยวกับ Swimbait ได้ที่ อะไรคือดีที่สุด คันเบ็ดสำหรับ Swimbait

Advertisements