เอาละจากตอนที่แล้วที่ผมได้ทำเรื่องการสร้างเหยื่อปลอมมาให้น้าๆ ได้ดูกันไป ซึ่งก็จบที่ทำตัวเหยื่อเสร็จ แต่เหยื่อยังไม่สามารถใช้งานได้นะ เพราะเรายังต้องถ่วงน้ำหนักเพื่อสามารถสมดุลให้กับเหยื่อก่อน สำหรับขั้นตอนถ่วงน้ำหนักสิ่งที่เราต้องมีคือ “ตะกั่ว” จะเป็นตะกั่วอะไรก็ได้ จากนั้นให้เตรียมเหยื่อก่อน โดยการใส่ตัวเบ็ดให้เรียบร้อย ถ้าให้ดีใส่ตัวเบ็ดที่เราคิดจะใช้กับเหยื่อตัวนี้เลยก็ดี เพื่อให้ได้รู้น้ำหนักจริงๆ และสำหรับเหยื่อตัวนี้เรามีเป้าหมายถ่วงน้ำหนักให้เหยื่อตั้งอยู่ในแนวนอน และต้องไม่จมน้ำด้วย
การทำสมดุลให้เหยื่อแบบง่าย
อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่วงน้ำหนักในครั้งนี้ จับหนังยางให้อยู่ในตำแหน่งประมาณนี้ |
ใส่ตะกั่วถ่วงน้ำหนักลงไป เอาแค่พอประมาณก่อน |
จับเหยื่อไปลงถังน้ำดู ให้กะน้ำหนักให้เนื้อที่ส่วนใหญ่ของเหยื่อจมน้ำอยู่ดังภาพ ถ้าได้ประมาณนี้ก็พอไหว |
เมื่อได้น้ำหนักมาแล้ว ก็ถึงเวลามารค์จุดเจาะรูสำหรับใส่ตะกั่วลงไป ให้ตรงกลางหน่อยนะครับ รูใหญ่ๆ หน่อย เดี๋ยวอุดเอา |
ในการเจาะรู จะเห็นว่ามีเนื้อไม้ถูกเอาออกไปด้วย ซึ่งหมายความว่ามีการนำน้ำหนักออกไปเช่นกัน ตรงนี้อาจต้องเพิ่งตะกั่วอีกนิดหน่อย เพื่อทดแทนน้ำหนักของไม้ที่เสียไป ส่วนเรื่องการเจาะให้ลึกขนาดไหน หรือกว้างขนาดไหน ตรงต้องกะดูเอา แบบให้พอที่จะใส่ตะกั่วลงไปได้ (ควรเจาะรูโดยให้คิดว่าเมื่อเทลงไปแล้ว จะเหลือเนื้อที่ประมาณ 2 – 3 มิลิเมตร เพื่อจะได้ใช้กาวอุดอย่างสวยงามได้)
พอเจาะรูเหยื่อเรียบร้อย ก็เตรียมเอาตะกั่วไปละลาย |
ในการหลอมเหยื่อ ก็เลือกใช้เครื่องมือตามที่ถนัดได้เลยนะครับ แต่ต้องคิดเอาไว้ด้วยว่า จะต้องรีบเทตะกั่วลงรู ให้แม่นๆ ด้วย แต่ในขั้นตอนนี้ไม่ค่อยกดดันเท่าไร เพราะถึงเทพลาดก็เอาออกมาละลายใหม่ได้อยู่ดี ^ ^
ในขั้นตอนนี้ทำอย่างระวังหน่อย เพราะมันร้อน ระวังโดนมือด้วยครับ |
เทมาได้ดังรูป สวยงามสมใจ |
จับไปลอยน้ำดู 555+ เหมือนเรือดำน้ำเลย ^ ^ |
เอาละถ้าทำได้ดี เหยื่อก็น่าจะลอยน้ำอย่างดี อาจจะเอียงกันบ้าง ก็แล้วแต่ฝีมือของแต่ละครับ อันนี้คงต้องฝึกอีกอีกหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นการจบขั้นตอนการทำตัวเหยื่อแล้ว ซึ่งจริงๆ ก็เอาไปตี เอาไปตกปลากันได้แล้วนะ แต่ยังก่อน เราจะต้องมาเพิ่มความสวยงามให้กับเหยื่อด้วยการทำสีต่อนะครับ
มาเริ่มทำสีเหยื่ออย่างง่าย (มั่ง)
การทำสีเหยื่อ ถ้าทำไม่ดีสีหนาเกินไป จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับเหยื่อ หรืออาจจะทำให้เสียสมดุลไปเลยก็ได้ แต่ยังดีที่เหยื่อที่ทำอยู่ตามแบบมีขนาด 150mm ซึ่งตัวใหญ่ เลยมีผลกระทบไม่มากเท่าไร แต่หากจะทำสีให้กับเหยื่อตัวเล็กๆ ต้องระวังในจุดนี้ และขั้นตอนการทำสีที่กำลังจะชมต่อไปนี้ดิบหน่อย ไม่ใช่เทคโนโลยี่ดีๆ อะไรมากนะครับ
ก่อนทำสี ต้องเตรียมชิ้นงานซะก่อน ขัดให้เรียบและสะอาด |
สำหรับสีที่จะเลือกทำจะเป็นลายง่ายๆ จึงมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากนักนะครับ โดยเริ่มจากการรองพื้นสีให้กับตัวเหยื่อก่อน เราใช้วิธีจุ่มลงไปเลยนะครับ แนะนำให้ใช้สีขาวเป็นสีพื้น ทำแบบนี้สัก 2 ครั้งก็ดี สำหรับเหยื่อตัวใหญ่
จุ่มสีไปเลย หาที่เหมาะๆ ด้วยนะครับ เพราะต้องปล่อยให้แห้งอีก |
พอแห้งแล้ว ก็เตรียมทำสีภายนอก เริ่มจากสีดำก่อน |
พ่นสีดำ แล้วปล่อยให้แห้งก่อน |
ในขั้นตอนการทำสีจริง จะเริ่มจากสีดำ ซึ่งจะทำสีด้านบน กับด้านข้าง ซึ่งจะเป็นการเตรียมการสำหรับทำลายตาข่ายให้กับเหยื่อ ตรงนี้ต้องไปเตียมตาข่ายมาไว้ด้วย จะเป็นตาข่ายเหล็ก ตาข่ายเชือกก็ได้ เล็กหน่อยนะครับ
จับเอาตาข่ายมาติดตามรูป (ไม่ได้ติดถาวรนะ) |
ในขั้นตอนติดตาข่ายบนเหยื่อ เราจะต้องติดให้แน่นที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะหากมันหลวม ตอนพ่นสีอาจจะไม่ได้ลายเส้นตามที่ต้องการ อย่าลืมจับให้แน่นๆ
ต่อไปพ่นสีหลักลงไป จะใช้สีอะไรก็ได้ แต่ในภาพเป็นสีเงินโครม |
งานสีตรงนี้อยู่ที่ฝีมือแล้วนะครับ เพราะต้องพ่นทั้งตัวเลย แต่เอาจริงๆ มันก็ไม่ได้มีผลกับการใช้งานสักเท่าไร แต่ดูจะมีผลทางใจมากกว่า พอพ่นสีเสร็จ รอจนแห้งจึงเอาตาข่ายออกได้นะครับ ในการทำสีหัวเหยื่อ ก็ให้ทำแบบร่างของเหยื่อด้วยดินสอ จะเอากระดาษไปทาบแล้วขูดๆ ดู หรือจะหาภาพในเว็บมาก็ได้ครับ และไม่จำเป็นต้องเหมือเหยื่อก็ได้ เพราะเราจะทำสีที่ส่วนหัวอย่างเดียว
ได้สีทั้งตัวแล้ว ต่อไปมาทำหัวเหยื่อต่อ ใช้วิธีเอากระดาษมาทาบ |
เมื่อทำสีบริเวณหัวแล้ว ก็จะได้ดังรูป |
ทำสีเหงือก ก็เล่นกันง่ายๆ ดังรูป |
ทำสีตา ก็เอาหัวตะปูมากดเลย ..ใครมีวิธีดีกว่าก็จัดการเล่นนะครับ |
ตาในสีแดง ชอบสีไหนก็เลือกตามสบาย |
สุดท้ายก็จะได้ตามภาพ |
เอาละเมื่อจบขั้นตอนทำสีแล้ว ต่อไปคือจะเอามันไปเคลือบน้ำยาอีกหรือเปล่า ตรงนี้ต้องเลือกเอา ถ้าไม่แคร์เรืองสีจะพังไว ก็ไม่ต้องเคลือบก็ได้ หรือถ้าแคร์ก็เคลือบเรซิน หรือน้ำยาเคลือบคันเบ็ดก็ได้ครับแต่แพงหน่อย เคลือบสักสองชั้นก็เป็นอันเรียบร้อย ..ก็เป็นอันปิดงานกับการสร้างเหยื่อครูด้วยมือเราเอง