ประวัติ ‘ปลาดูดกระจก’ ที่เข้าเป็นสายพันธุ์รุกรานที่น่ากลัวในไทย

ช่วงนี้ชอบเขียนเรื่องปลา ที่มีประวัติแปลกๆ สำหรับน้าๆ นักตกปลาก็อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ช่วงนี่ไม่มีอุปกรณ์ใหม่ๆ อัพเดทเลย ค่ายต่างๆ ปิดตัวเงียบกันหมด สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาๆ ของปลาซัคเกอร์ หรือที่สมัยก่อนเรียกกันว่า "ปลาดูดกระจก" นั้นเอง

ปลาดูดกระจก

ทำไมจึงเรียกปลาดูดกระจก..?

Advertisements

ผมว่าเรื่องนี้เด็กรุ่นใหม่อาจไม่เข้าใจว่าทำไม “ปลาซัคเกอร์” คือ “ปลาดูดกระจก” ..มันมีเหตุผลง่ายๆ คือ การนำเข้าปลาซัคเกอร์เข้ามาไทยเนีย เป้าหมายแรกเริ่มเลยคือ เพื่อเอามาทำความสะอาดตู้ พวกตะไคร่น้ำ เศษอาหารประมาณนี่ มีอยู่ช่วงนึงเจ้าปลาซัคเกอร์ มันคือปลาที่สามารถใช้คำว่า “ของมันต้องมี” ได้เลย

“ทุกตู้ปลา ต้องมีปลาซัคเกอร์อยู่ 1 – 2 ตัว และเมื่อมันเข้าไปในตู้ มันจะชอบเกาะที่ตู้กระจกด้วยปากอันทรงพลังของมัน”

ปลาซัคเกอร์

ปลาซัคเกอร์ (Sucker Catfish หรือ Common sucker) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypostomus plecostomus มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ ประเทศบราซิล มีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลากด ปลาแขยง และปลาดุกของประเทศไทย (ตามข้อมูลบอกว่า ปลาซัคเกอร์ ที่ระบาดในไทยมี 2 สกุลคือ Common sucker และ Sailfin catfish แต่จะขอพูดรวมไปเลยจะได้ไม่วุ่นวาย)

พวกเลี้ยงปลาบ้านๆ อย่างเรา ก็คิดว่าเป็นปลาตัวเล็กน่ารัก

แรกเริ่มปลาชนิดนี้ถูกนำเข้ามาโดย กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ได้มีการนำเข้า ปลาซัคเกอร์มาจากประเทศบราซิลเข้ามาในบ้านเรา “โดยเจตนาเลี้ยงเพื่อให้มัน ทำความสะอาดตู้ปลา” ปีที่นำมาคือปี พ.ศ. 2520 ก็ประมาณ 40 กว่าปีก่อน (ก่อนผมเกิดซะอีกอีก)

แรกเริ่มถ้าเป็นคนเลี้ยงทั่วไป การซื้อปลาซัคเกอร์มาใส่ตู้ มันเป็นอะไรที่ไม่ต้องคิดไรมาก เพราะร้านขายปลาสวยงามจะมีปลาพวกนี่ขายในราคาที่ไม่แพง แถมตัวมันก็เล็กด้วย อาจจะแค่ 2 นิ้วด้วยซ้ำ แต่หารู้ไม่ว่าเจ้าปลาปีศาจนี่โตได้ถึง 2 ฟุต และมันทรงพลังมาก!

ปลาซัคเกอร์
จริงแล้วปลาซัคเกอร์อาจโตได้ถึง 2 ฟุตเลยนะ

“ในบางครั้งพฤติกรรมของปลาพวกนี้ ถ้าหากกินไม่อิ่มอาหารไม่พอ ก็จะก้าวร้าว ไล่ดูดเมือกของปลาอื่นจนถึงตายได้”

ปลาซัคเกอร์ มีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แม้ในภาวะที่เป็นพิษ แหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำมันก็อยู่ได้ ทำให้เป็นปลาต่างถิ่นที่ก่อปัญหากับสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ

“สำหรับในประเทศไทย กรมประมงได้ประกาศให้เป็นปลาต้องห้ามสำหรับเลี้ยง และจำหน่าย และโดยรณรงค์ให้นำไปปรุงเป็นอาหารอีกด้วย ในปัจจุบันมีผู้นำไปหลอกขายเป็นปลาปล่อยวัด โดยเรียกว่าปลาราหู”
หลอกว่าเป็น “ปลาราหู” พบเจอได้ตามวัด อีกสาเหตุที่ทำให้มันระบาด

ปลาเพียงไม่กี่ชนิดที่คนไทยไม่อยากจะกิน

ปลาซัคเกอร์เป็นปลาที่ไม่มีความสวยงาม มันน่ากลัวด้วยซ้ำ แถมไม่นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหารอีก และนี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มันยากจะลดจำนวน เพราะปกติคนไทยกินปลาได้เกือบทุกชนิด แต่ถูกนำมาเลี้ยงกับปลาสวยงามเพื่อจุดประสงค์ในการทำความสะอาดตู้ปลา อย่างที่พูดไว้ก่อนหน้า และเมื่อคนเลี้ยงหมดความต้องการ ก็มักทิ้งขว้างหรือนำไปปล่อยทิ้งตามแหล่งน้ำสาธารณะ กลายเป็น “ปลามหาภัยของแหล่งน้ำสาธารณะ”

เขาว่าจริงๆ แล้วมันเป็นปลาที่อร่อยนะ
Advertisements

ความน่ากลัวของปลาซัคเกอร์

Advertisements

ปลาชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว ทำลายระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำจืด โดยทำให้ปลาเศรษฐกิจท้องถิ่นของไทยบางชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลาสวาย ลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุเนื่องจาก ปลาซัคเกอร์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นไปทำลายหรือกินไข่ปลา และลูกปลาที่มีขนาดเล็ก

โดยธรรมชาติปลาน้ำจืดเหล่านี้มักวางไข่ติดตามรากไม้หรือก้อนหิน แต่ปลาซัคเกอร์เป็นปลาที่กินซากพืชซากสัตว์หรือตะไคร่น้ำที่ติดตามวัสดุต่างๆ บริเวณพื้นน้ำ ดังนั้นไข่ปลาที่ติดอยู่จึงถูกจับกินไปด้วย นอกจากนี้ ปลาซัคเกอร์ยังขยายพันธุ์ได้ง่าย พวกมันมีลูกครั้งละหลายร้อยตัว โดยใช้วิธีขุดโพรงดินวางไข่ และเฝ้าระวังให้ลูกฟักออกมาอย่างอดทน จนมีพวกมันเต็มแหล่งน้ำ

การลดจำนวนปลาซัคเกอร์ ผมว่าทำไม่ง่ายสาเหตุหลักๆ เลยคือ คนปล่อย และคนไทยไม่อยากกินมันอีก มีส่วนน้อยมากที่กิน แน่นอนตลาดก็ไม่เอามาขาย จึงไม่เกิดอาชีพหาปลาซัคเกอร์มาขาย

“แต่สิ่งที่สามารถทำได้คือ เมื่อตกมันได้ก็อย่าปล่อยลงน้ำ ให้โยนลงถังขยะไปเลยก็ได้”

มีสมัยนึงบึงสำราญโดนปลาซัคเกอร์รุกรานอย่างหนัก เรียกว่าโคตรเยอะ มันเยอะซะจนมีการตั้งรางวัลค่าหัวปลาซัคเกอร์เลย ในตอนนั้นทางบึงให้ตัวละ 5 บาท ตกมาส่งเพื่อให้บึงเอาไปทิ้ง ตอนนั้นผมเข้าบึงแทบทุกวันเพื่อตกปลาตัวนี่ ก็ไม่รู้มีใครได้ตกช่วงนั้นหรือเปล่า ไปทีไรก็ได้มาหลายบาท 555+ เอาล่ะสำหรับเรื่องปลาซัคเกอร์ขอจบตรงนี้เลยนะคร๊าบ อย่าลืมแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นได้อ่านกันด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements