งูหางแฮ่มกาญจน์ พบเฉพาะกาญจนบุรี และใกล้สูญพันธุ์

งูหางแฮ่มกาญจน์ เป็นงูที่มีชื่อค่อนข้างแปลก และยังเป็นงูที่มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากเป็นงูที่มีประชากรน้อยมาก ด้วยความที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้บางพื้นที่ในประเทศไทยเท่านั้น และอาจมีอยู่เฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรี จนเป็นที่มาของชื่องูชนิดนี้

งูหางแฮ่มกาญจน์

งูหางแฮ่มกาญจน์ (Kanburi pitviper, Kanburian pit viper, Tiger pit viper) ชื่อวิทยาศาสตร์ Trimeresurus kanburiensis เป็นงูที่มีพิษที่มีขนาดใหญ่อยู่ในสกุลเดียวกันกับงูเขียวหางไหม้ และเป็นวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง

อาศัยในบริเวณที่ชุ่มชื้นและป่าชายเลน พบได้ในประเทศไทย บริเวณเขตจังหวัดกาญจนบุรี บางข้อมูลบอกว่ามีแนวโน้มที่จะพบที่รัฐกะเหรี่ยง เมียนมาร์ แต่ยังไม่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการ

งูหางแฮ่มกาญจน์ มีขนาดยาวประมาณ 70 เซนติเมตร (บางข้อมูลบอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร) โดยแบ่งเป็นส่วนหัว 4.5 เซนติเมตร ลำตัว 54.5 เซนติเมตร ช่วงหาง 11.5 เซนติเมตร จัดเป็นงูพิษที่สวยงามชนิดหนึ่ง

โดยตัวผู้มีลำตัวสีเขียวขี้ม้าปนน้ำตาล หรือสีเทา-เขียว มีลายปื้นซิกแซ็กพาดขวางลำตัว เพศเมียมีขนาดตัวสั้นกว่า ลำตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน มีปื้นสีน้ำตาลเข้มรอบลำตัว หัวสีน้ำตาลไหม้ ริมฝีปากบนสีเหลือง ท้องขาวมีลายประสีน้ำตาลออ่น เป็นงูที่ออกลูกครั้งละ 8-15 ตัว ลูกงูสีจะสดใสกว่า บริเวณลายจะเป็นสีน้ำตาลอมชมพู หรือน้ำตาลอ่อนสลับกับเหลืองอมเขียว (สีของงูยังสับสน บางแหล่งสีสดมากบางแหล่งสีมืด)

งูชนิดนี้มีพฤติกรรมที่ชอบอยู่ตามต้นไม้ ออกหากินเวลากลางคืน มีรายงานว่าชอบออกมาอาบแดดเวลากลางวันเช่นกัน แต่จะถอยกลับไปหาที่กำบังเมื่ออากาศร้อนเกินไป

และเนื่องจากเป็นงูที่สวยงามและหายาก แถมมันเป็นงูที่ “สถานะการอนุรักษ์ = ใกล้สูญพันธุ์” จึงเป็นงูที่มีราคาแพง โดยมีรายงานการซื้อขายระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก แม้ตอนนี้จะอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ แต่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับการปกป้องที่ดี ยังไม่แม้แต่ประกาศคุ้มครอง แต่ดูเหมือนเมื่อปีพ.ศ. 2564 มีการเสนอชื่อขึ้นไปแล้ว .. แต่ปัจจุบันยังเป็นฉบับร่าง “นอกจากจะมีงูหางแฮ่มกาญจน์ ยังมีงูหางแฮ่มกาญจน์ใต้อีกชนิด”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements