ปริศนา ‘ปลา’ ในทะเลสองห้อง เมืองบาดาลที่ต้องสำรวจอีกมาก

รู้หรือไม่ว่า "ทะเลสองห้อง" ในประเทศไทยมี 2 แห่ง หนึ่งอยู่ที่จังหวัดตรัง สองอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เมื่อพูดถึงทะเลสองห้อง ก็จะคิดถึงที่นครศรีธรรมราชเป็นอันดับแรก เพราะที่นี่มีคนจมน้ำตายค่อนข้างบ่อย แต่ถึงอย่างงั้น ทะเลสองห้องของทั้งสองจังหวัด ก็ใช้ตำนานและเรื่องเล่าร่วมกัน จนทำให้ทั้งสองแห่งเหมือนเป็นที่เดียวกัน และสำหรับเรื่องนี้ผมจะเน้นไปที่ทะเลสองห้องจังหวัดตรัง ในเรื่องที่ว่าแหล่งน้ำแห่งนี้ มีสัตว์หรือปลาที่อะไรอาศัยอยู่ในนั้น และมันมีตัวอะไรพิเศษอยู่หรือไม่? มีสัตว์ประจำถิ่นหรือไม่?...และด้วยความสงสัยส่วนตัวของผม ก็เลยไปขุดเรื่องนี้มา แล้วเอามาสรุปเพื่อนำมาเล่าให้ฟังกัน

อยากจะบอกว่า เนื้อหาที่เล่าถึงทะเลสองห้องเกือบทั้งหมดที่พบได้ในประเทศไทย จะเป็นเรื่องตำนานที่ลอกๆ กันมาทั้งนั้น ผมจึงไม่ข้อพูดถึงเรื่องพวกนี้มากนัก แต่จะขอพูดถึงในส่วนของงานวิจัย ซึ่งมีน้อยมากๆ

ก่อนอื่นมาดูลักษณะทางกายภาพของทะเลสองห้องที่เล่าๆ กันมา ว่ากันว่าที่แห่งนี้เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่บนภูเขา มันมีลักษณะคล้ายกับว่าเคยเกิดภูเขาไฟระเบิด และก็มีบทความมากมายที่เขียนประมาณว่า “น้ำในทะเลสองห้อง” มีความเป็นด่างหรือกรดมากกว่าน้ำจืดทั่วไป ..ซึ่ง!! ทะเลสองห้องทั้งสองจังหวัดมีเรื่องเล่าประมาณนี้หรืออย่างน้อยก็คล้ายกัน แต่ดูเหมือนต้นเรื่องน่าจะมาจากจังหวัดตรัง ส่วนที่นครศรีธรรมราชจะเด่นเรื่องความตายมากกว่า

มันเป็นการอธิบายที่เหมือนกับการดูดวงที่บอกกว้างๆ เผื่อจะถูก และทั้งยังบอกว่าทะเลสองห้องไม่มีตาน้ำ แล้วทะเลสองห้องทั้งสองแห่งก็ไม่มีระบุความลึกเอาไว้ และถึงจะบอกว่ามีปลามากมาย แต่ไม่เคยบอกว่ามีปลาอะไร?

จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งทำมาเมื่อหลายปีก่อน และถึงมันจะทำมานานแล้ว แต่ก็อาจเป็นงานวิจัยชิ้นเดียว ที่ไม่ได้อ้างอิงตำนานหรือผีสางอะไร ซึ่งได้เปิดเผยหลายๆ สิ่งของทะเลสองห้อง จังหวัดตรัง

สองห้อง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เรื่องที่แรกคือ น้ำในทะเลสองห้อง มีค่า pH อยู่ในช่วง 5.9 – 8.1 ซึ่งอยู่ในระดับกรดอ่อนมาก – ด่างหน่อยๆ ทั้งนี้น้ำประปากรุงเทพจะมีค่า pH ประมาณ 7 เรื่องตำนานที่ว่าเอาน้ำไปล้างจานแล้วสะอาดกว่าปกติ จึงค่อนข้างไม่จริง

เรื่องที่สองลักษณะทางธรณีวิทยาของทะเลสองห้องในจังหวัดตรัง ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับภูเขาไฟ และจากงานวิจัยได้อธิบายว่า เกิดจากการยุบพังลงของโพรงหรือถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ใต้ผิวดิน เนื่องจากถูกกระแสน้ำใต้ดินกัดเซาะ จนเกิดเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แอ่ง ที่มีความกว้างรวมประมาณ 500 – 650 เมตร ซึ่งเป็นการสำรวจโดยสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2538

สองห้อง จังหวัดตรัง

และทั้งสองแอ่งจะเชื่อมต่อด้วยช่องแคบๆ ทั้งนี้ทะเลสองห้องถือเป็นแหล่งน้ำถาวร มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 70 – 100 เมตร และเพราะทะเลสองห้องเป็นแหล่งน้ำปิด ที่มีการเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำภายนอกที่น้อยมาก น้ำส่วนใหญ่จึงมาจากน้ำฝนและน้ำใต้ดิน

หากถามว่าทะเลสองห้องลึกแค่ไหน? สำหรับเรื่องนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด แต่จากเว็บไซต์สคูบาเวิร์ส (Scubaverse) ได้ประมาณความลึกของทะเลสองห้องในจังหวัดนครศรีธรรมราช ไว้ที่ 200 เมตร และคุณต้องรู้ว่า จุดลึกที่สุดของอ่าวไทยคือ 85 เมตร ด้วยความลึกประมาณ 200 เมตร จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะดำลงไปด้วยวิธีทั่วไป …ส่วนทะเลสองห้องจังหวัดตรังไม่มีการระบุความลึกเอาไว้

ความลึกสองห้อง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Advertisements

ความลึกที่เคยมีนักดำน้ำ ดำลงไปในทะเลสองห้องจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2557 คือ 177.57 เมตร แม้ตัวเลขจะดูน้อย แต่รู้หรือไม่ว่าการดำน้ำในครั้งนั้นต้องใช้เวลาถึง 366 นาที หรือมากกว่า 6 ชั่วโมง นี่แสดงให้เห็นว่ามันเป็นการดำน้ำที่ยากลำบากมาก แม้จะเป็นการดำโดยใช้สกูตเตอร์ดำน้ำช่วย และที่ความลึกนั้น นักดำน้ำได้พูดถึงปลาดุกตัวใหญ่! เพียงหนึ่งตัวเท่านั้น …ซึ่งไม่สามารถระบุชนิดที่แท้จริงได้

มีปลาแปลกๆ ในทะเลสองห้องจังหวัดตรังหรือไม่?

Advertisements

น่าเสียดายที่งานวิจัย เป็นการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำที่ความลึกไม่มากนัก ปลาที่พบส่วนใหญ่จึงเป็นปลาทั่วๆ ไป ยังไม่พบสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะในทะเลสองห้อง แต่ปลาแปลกที่สุดคงเป็นปลานิล เพราะมันไม่ควรมีอยู่ในทะเลสองห้อง …มันเป็นปลาที่มีคนเอามาปล่อย ส่วนปลาที่พบในทะเลสองห้องจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1 – กลุ่มกินสัตว์ ซึ่งประกอบไปด้วย

ปลาสลาด (Notopterus Notopterus)
ปลาซิวควายแถบดำ (Rasbora paviei)
Advertisements
ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii)
ปลาหัวกั่ว (Aplocheilus panchax)
ปลาช่อน (Channa striata)
Advertisements

2 – กลุ่มกินพืชและแพลงก์ตอนพืช ประกอบไปด้วย

ปลาซิวหนวดยาว (Esomus metallicus)
ปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus)
ปลานิล (Oreochromis niloticus)
ปลากระดี่หม้อ (Trichopodus trichopterus)

3 – กลุ่มกินสัตว์และแพลงก์ตอนพืช ประกอบไปด้วย

Advertisements
ปลาซิวหางกรรไกร (Rasbora trilineata)
ปลาเสือข้างลาย (Puntius partipentazona)
ปลาหนามหลัง (Mystacoleucus marginatus)
ปลาตะเพียนจุด (Barbodes binotatus)
ปลาหมอช้างเหยียบ (Pristolepis fasciata)
ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis)
ปลากริมข้างลาย (Trichopsis vittata)

ตามที่ระบุไว้ในรายงาน ปลาหมอช้างเหยียบมีมากที่สุด รองลงมาคือปลาซิวหางกรรไกร ส่วนปลาต่างถิ่นก็มีปลานิลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงคิดเอาไว้ก่อนว่า มันคือปลาที่ถูกนำมาปล่อยโดยมนุษย์

และจากรายชื่อนี้ ไม่มีปลาแปลกๆ รวมอยู่ด้วย แต่เพราะการสำรวจยังอยู่ในระดับความลึกที่น้อย เราจึงอนุมานได้ว่า น่าจะมีปลาชนิดอื่นอาศัยอยู่ที่ระดับความลึกมากๆ และเป็นไปได้ที่อาจจะมีปลาที่ยังไม่เคยพบอาศัยอยู่ด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements