ปลาดุกลำพัน (อังกฤษ: Slender walking catfish, Nieuhof’s walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias nieuhofii) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาดุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae)
ปลาดุกลำพันเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลาดุกอุย หรือปลาดุกด้าน รูปร่างยาวเรียว ลำตัวด้านข้างแบนหัวเล็กสั้นทู่ มีหนวดยาว 4 คู่ อยู่บริเวณหน้านัยน์ตา 2 คู่ และใต้คาง 2 คู่ นัยน์ตาเล็ก ครีบหูเล็ก มีก้านครีบอันหน้าเป็นหนามแหลมที่เรียกกันว่า เงี่ยง ครีบท้องเล็กและอยู่ใกล้กับครีบก้นครีบหลังและครีบก้นยาวมีฐานติดกับครีบหาง ส่วนปลายแยกครีบหางเล็กปลายกลมมน
สีของลำตัวค่อนข้างดำ และลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และสภาพแวดล้อมตัวโตเต็มวัยจะมีลำตัวสีเข้ม แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อจะมีสีน้ำตาลเหลืองข้างลำตัวมีจุดสีขาวเรียงเป็นแถวตามขวางประมาณ 13 – 20 แถวยกเว้นบริเวณท้อง
ปลาดุกลำพันมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจ ทำให้มันสามารถหมกตัวอยู่ในโคลนตมที่มีน้ำไม่มากนักได้เป็นเวลานานเป็นเดือนๆได้เลยทีเดียวปลาดุกลำพันจัดได้ว่าเป็นสัตว์น้ำที่หาได้ยากในเขตป่าพรุของไทย ปลาดุกลำพันสามารถนำมาเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แต่เพื่อให้ปลาปรับสภาพน้ำได้ง่ายขึ้น
ผู้เลี้ยงก็อาจจะหาใบหูกวาง หรือ ใบไม้แห้งๆมาหมักน้ำให้ น้ำมี pH ที่ต่ำกว่า 7 เล็กน้อย และ น้ำจะมีค่าอ่อนลงซึ่งเป็นลักษณะที่ใกล้เคียงกับสภาพน้ำของเขาในธรรมชาติจริงๆก็จะสามารถทำให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาดุกชนิดนี้ได้ง่ายขึ้นครับ ปลาดุกชนิดนี้เป็นปลาพื้นบ้านของไทยที่มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัว ที่น่าสนใจมากๆครับ
แหล่งอาศัย
อาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่เป็นกรด และมีสีชา เช่น ตามป่าพรุ และลำธารในป่าดิบชื้น พบเฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และภาคตะวันออกตั้งแต่ จังหวัดจันทบุรี และยังพบในมาเลเชียถึงบอร์เนียว
มีพฤติกรรมชอบรวมกลุ่มกันเป็นฝูงในฤดูแล้ง มีขายเป็นครั้งคราวในตลาดสดทางภาคใต้ เช่น ที่จังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช เนื้อมีรสชาติดีกว่าปลาดุกชนิดอื่น ๆ มีราคาขายค่อนข้างสูง โดยมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า “ปลามัด” และยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีพบขายเป็นครั้งคราวในตลาดปลาสวยงามอีกด้วย
ปลาดุกลำพัน สัตว์น้ำหายากในเขตป่าพรุของไทย
ปัจจุบัน ปลาดุกลำพันจัดเป็นปลาที่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในประเทศไทยมีรายงานพบ 2 สปีชีส์ คือ Prophagorus cataractus และ P. nieuhofii ซึ่งชนิดหลังจะพบมากที่สุดแหล่งอาศัยของปลาดุกชนิดนี้อยู่ในพื้นที่ภาคใต้บริเวณป่าพรุ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.สงขลา
อีกทั้งสามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกชนิดนี้ได้โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยเพื่อให้สามารถเพาะเลี้ยงปลาในบ่อและมีศักยภาพเป็นปลาเศรษฐกิจได้ อีกทั้งสามารถเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีผสมเทียมเช่นเดียวกับปลาดุกอุยได้ (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 26 กรกฎาคม 2546 หน้า 30)
ค้นพบ ปลาช่อนมังกร Dragon Snakehead ปลาดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต