เกี่ยวกับปลาเสือตอ
เสือตอ ชื่อภาษาอังกฤษคือ Siamese tiger fish ในไทยตอนนี้ที่เลี้ยงๆ กันส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์จากประเทศเพื่อนบ้าน นั้นเพราะในไทยไม่มีอีกแล้ว ที่สำคัญ เสือตอเป็นปลาที่เพาะพันธ์ได้ยากมาก โดยเฉพาะเสือตอ ลายใหญ่ มันเพาะพันธุ์ในฟาร์มได้ยากซะจนหลายสิบปีมานี้ ยังไม่รู้เลยจริงๆ แล้วมีฟาร์มที่เพราะได้หรือยัง (แต่มีคนบอกว่าต่างประเทศมีทำได้)
แหล่งกำเนิดและถิ่นฐานของปลาเสือตอ
ปลาเสือตอ และญาติพี่น้องของมันทั้งหมดจัดอยู่ในวงศ์ ปลาเสือตอ (Datnioididae) โดยแหล่งกำเนิดหลักๆ มี 3 แหล่ง
- แหล่งแรกคือปาปัวนิวกีนี ในประเทศอินโดนิเชีย ดังนั้นชื่อของมันก็คือ “ปลาเสือตอปาปัวนิวกีนี” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides campbelli ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนักเนื่องจากความสวยงามสู้ ปลาเสือตอเขมรและปลาเสือตออินโดนีเชียไม่ได้
- แหล่งที่สองคือประเทศอินโดนีเชีย หรือที่เรียกกันว่า “ปลาเสือตออินโด” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides microlepis ซึ่งเป็นปลาชนิดที่มีขายกันทั่วไปในประเทศไทยทุกวันนี้ ปลาเสือตอจากอินโดนีเชียมีทั้งแบบที่เป็นลายใหญ่และลายคู่ แต่ในทางวิทยาศาสตร์จะจำแนกชนิดด้วยแหล่งที่มาของปลาเสือตอเท่านั้น โดยไม่มีการจำแนกชนิดตามลายของมันแต่อย่างใด ดังนั้นปลาเสือตอทั้งลายใหญ่และลายคู่จากอินโดจะใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นชื่อเดียวกัน
- แหล่งสุดท้ายคือ ในประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม ปลาลายใหญ่และลายคู่จากแหล่งนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่เหมือนกันว่า Datnioides pulcher แต่ในวงการปลาเสือตอประเทศไทยจะเรียกปลาจากแหล่งนี้ว่า “ปลาเสือตอเขมร” เนื่องจากปลาที่ขายกันอยู่นั้นมาจากเขมร
นอกจากนี้บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาในไทย ยังค้นพบ “ปลาเสือตอลายเล็ก” อีกด้วย ในทางวิทยาศาตร์ก็แยกมันออกมาเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งโดยให้ชื่อว่า Datnioides undecimradiatus ในปัจจุบันมีการจับมาขายกันเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่ายินดีว่ากรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายเล็กได้แล้ว
อ่านเพิ่มเติม : ปลาเสือตอ อีกหนึ่งสายพันธ์ุ ที่อาจหาไม่ได้แล้วในธรรมชาติ