หาชมยาก หลักฐานที่ว่า วาฬหัวทุยแคระ สามารถพ่นหมึกได้

ต้องมีน้าหลายคนเพิ่งจะรู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "วาฬสเปิร์มแคระ" อยู่บนโลกนี้เหมือนกับผม มันคือวาฬที่มีขนาดเล็ก และยังสามารถพบได้ในน่านน้ำไทยด้วย เพียงแต่พบได้ยากมากๆ แต่มีสิ่งที่แปลกกว่านั้นคือเจ้าวาฬชนิดนี้มันสามารถปล่อยน้ำสีดำๆ คล้ายกับหมึกออกมาได้ด้วย และไม่ได้ปล่อยน้อยๆ ด้วย ลองดูคลิปที่ท้ายบทเรื่องได้เลย

วาฬหัวทุยแคระ

ภาพจากคลิปเป็นการถ่ายได้บริเวณน้ำตื้นและใสสะอาดแถวๆ เคปทาวน์แอฟริกาใต้ พวกเขาโชคดีที่สามารถถ่ายคลิป วาฬหัวทุยแคระ ที่กำลังพยายามหลบหนีจากนักล่า โดยมันได้ปล่อยสิ่งที่คล้าย “ระเบิดควัน” มันเป็นของเหลวที่มีสีดำคล้ายหมึก

ในขณะที่วาฬหัวทุยแคระว่ายหนีจากนักล่า มันได้เข้ามาชนกับชายฝั่ง จากนั้นมันได้เริ่มปล่อยของเหลวที่ตอนแรกเป็นสีแดงขุ่น จนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเป็นสีดำในที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์จำพวกวาฬ กล่าวว่า “แม้ว่าพฤติกรรมการปล่อยน้ำหมึกของพวกมันจะเคยถูกบันทึกไว้แล้ว แต่ก็ยังถือเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากมาก โดยเฉพาะบนเขตน้ำตื้นที่มองเห็นได้ชัดเจนขนาดนี้”

ข้อมูลวาฬสเปิร์มแคระ

Advertisements

วาฬหัวทุยแคระ หรือ วาฬสเปิร์มแคระ (Dwarf sperm whale) ชื่อวิทยาศาสตร์ Kogia sima เป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนึ่งในสองชนิดเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์วาฬสเปิร์มเล็ก (Kogiidae)

วาฬหัวทุยแคระมีลักษณะทั่วไปคล้ายวาฬหัวทุยเล็ก (K. breviceps) ที่อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีจำนวนฟันน้อยกว่าและมีครีบหลังสูงกว่าเล็กน้อย (ประมาณร้อยละ 5 ของความยาวลำตัว) ลำตัวสีเทาดำท้องขาว ปากขนาดเล็กด้านอยู่ล่าง ลักษณะแคบ มีฟันเป็นเขี้ยวแหลมโค้งจำนวน 7–11 คู่บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่เห็นฟันออกมา แต่ในบางตัวที่มีอายุมากๆ จะมีฟันซ่อนอยู่ใต้เหงือก

ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวเพียง 2.7 เมตร น้ำหนักประมาณ 210 กิโลกรัม จัดเป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง กินอาหารได้แก่ กุ้ง, หมึก และปลา

“วาฬหัวทุยแคระจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535”

เหาฉลาม ไม่ใช่นักล่าและไม่ถูกล่า ทั้งชีวิตเกาะกินฟรี

ทูน่าครีบน้ำเงิน ปลาใกล้สูญพันธุ์ แต่ไม่ได้รับการปกป้อง

Advertisements
แหล่งที่มาsciencealert.com