Shimano SVS, SVS Infinity ประเภทและลักษณะของแต่ละเจนเนอเรชั่น

Braking System หรือที่บ้านเราเรียกกันอย่างติดหูว่า "ระบบหน่วง" ถือเป็นหัวใจสำคัญของรอกเบทคาสติ้ง โดยเฉพาะกับรอกเบทตีเหยื่อปลอม เพราะระบบนี้จะช่วยให้การตีเหยื่อของผู้ใช้ทำได้ง่ายขึ้น ในโลกนี้ถ้าข้ามเรื่องชื่อของระบบหน่วง เราสามารถแยกออกได้ 3 ประเภท นั้นคือ หน่วงแบบเม็ดรา, หน่วงแม่เหล็ก และ หน่วงไฟฟ้า

หน่วงชิมาโน

หน่วงเม็ดรา SVS, SVS Infinity

Advertisements

สำหรับเรื่องนี้ก็ตามที่จั่วหัวเอาไว้ ผมจะพูดถึงเฉพาะหน่วงเม็ดรา ที่ชื่อว่า SVS และ SVS Infinity ซึ่งเป็นหน่วงที่ดูโบราณหน่อย แต่ก็ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม มันถูกใช้เป็นระบบหน่วงหลักของ Shimano จนถึงทุกวันนี้ แน่นอนว่าถูกอัพเกรดอย่างต่อเนื่อง และผมจะมาพาน้าๆ ไปรู้จักกับ SVS ในแต่ละเจนเนอเรชั่น (ต่อจากนี้ขอเรียก เจนเนอเรชั่น เป็น รุ่น แล้วกันง่ายดี)

SVS รุ่นแรก

เป็น SVS รุ่นแรกที่ตรงกับคำว่าเม็ดราจริงๆ หลักการทำงานก็ง่ายๆ อาศัยแรงเหวียง เมื่อสปูนหมุนเร็วมากพอ เม็ดราจะออกมาชนกับด้านขอบ และทำให้สปูนลดความเร็วลง โดยตัวอย่างรอกรุ่นที่ใช้ระบบนี้คือ

• Bass One XT
• Calcutta
• ’18 Calcutta Conquest 300 & 400

จริงๆ หน่วงรุ่นนี้ผมก็เคยใช้ ผมจำได้ว่า Aldebaran 2009 ก็ใช้หน่วงแบบนี้ ผมว่าเป็นหน่วงที่ดีมากในตอนนั้น ควบคุมง่าย เข้าใจง่าย แต่เพราะผมเป็นพวกตีที่ใช้ความรู้สึกมาก เลยไม่ค่อยใส่ใจมันมากเท่าไร

SVS Infinity รุ่นแรก (6 Red Shoes) ปี 2012

หลังจาก SVS ธรรมดาใช้มาได้สักพัก ทาง Shimano ก็เข็น SVS Infinity รุ่นแรกออกมา รอกที่ได้ใช้ก่อนเพื่อนคือ Antares 2012 และ Metanium 2013 แต่ถึงงั้นชุดหน่วงของ Antares 2012 และ Metanium 2013 ก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ดูเหมือนมันจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย


เป็นเหมือนกับ SVS รุ่นเก่า ที่ระบบ SVS Infinity รุ่นแรกจะยังมาพร้อม เม็ดหน่วง 6 จุด แต่มันดูทันสมัย มั่นคง แล้วก็เริ่มไม่สามารถเรียกว่าเม็ดหน่วง จริงๆ ต่างประเทศเรียกว่า Red Shoes นอกจากนี้ยังมี ON/OFF ดันเม็ดหน่วงเข้าไปก็คือ OFF ถ้าดึงออกคือ ON

เนื่องจากผมใช้ Antares 2012 การปรับส่วนนี้ ผมเองใช้ ON อยู่แค่ 1 – 2 จุดเท่านั้น ถ้ามากกว่านั้นเคยลองแล้ว เหมือนตีไม่หนืดๆ แล้วไปปรับตัวเล่นระหว่าง 2 – 4 ก็แจ่มดี เหยื่อ 5 กรัมก็ตีสบายลองดูได้ครับ แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าผมตีแบบความรู้สึก นิ้วคุมนะ

ระบบหน่วงของรอกมีชื่อว่า SVS มันใช้เม็ดหน่วง หากเรียกแบบใหม่ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ขอเรียกเม็ดหน่วงละกัน มันมีทั้งหมด 6 เม็ด ซึ่งหากแกะมาใหม่ๆ จะเป็นสีแดงทั้งหมดครับ แต่จากภาพผมเปลี่ยนมันให้เหมาะกับตัวเอง

SVS Infinity รุ่นสอง (4 Red Shoes) ปี 2014

Advertisements

มาถึง SVS Infinity รุ่นสอง ถือเป็นรุ่นแรกที่เปลี่ยนมาใช้แบบหน่วง 4 เม็ด จริงๆ มันดูเรียบง่ายกว่า SVS Infinity รุ่นแรก เริ่มต้นใช้เมื่อปี 2014 ..จริงๆ รุ่นนี้ผมไม่เคยใช้ 555+ รอก Shimano ใหม่สุดของผมปี 2012

ตั้งแต่ปี 2014 SVS Infinity ได้พัฒนาจนกลายมาเป็น 4 Red Shoes หรือเม็ดหน่วง 4 เม็ด รุ่นที่ได้ใช้แรกๆ ก็เป็น Chronarch CI4+ 2014 , Calcutta Conquest 2014 การเปิดปิดของรุ่นสองจะใช้วิธี เลื่อนไปซ้าย – ขวา

แรกๆ ของรุ่นสองที่นำมาใช้ ดูเหมือนจะได้รับการวิจารณ์ว่าสู้แบบ 6 เม็ดไม่ได้ และมันยังมีแนวโม้มที่จะเกิดเสียงดังผิดปกติ โดยเฉพาะกับ Chronarch CI4+ 2014

SVS Infinity รุ่นสาม (4 Red Shoes) ปี 2016

ไม่นานหลังจากรุ่นสองออกมา ก็มีรุ่นสามตามมา มันมีความเรียบง่ายกว่าเดิม จริงๆ มันดูเรียบง่ายกว่า SVS ธรรมดารุ่นแรกซะอีก

SVS Infinity เริ่มใช้เมื่อปี 2016 โดยตัวอย่างรอกที่มีรุ่นสามคือ Metanium MGL 2016 , Bantam MGL 2018, Antares 2019 .. ข้อดีของรุ่นสามคือการที่มันปรับได้ง่ายมาก และยังทำงานได้แม่นยำมากขึ้นด้วย แถม SVS Infinity รุ่น 1 – 2 ชอบมีเสียงดังแปลกๆ ด้วย (จริงนะผมใช้ Antares 2012 ก็มีเสียงแปลกๆ ยิ่งถ้าเปิด 4 เม็ดเมื่อไร รู้เรื่องเลย) ..เอาล่ะก็ขอจบเรื่องของ SVS – SVS Infinity แค่นี้ก่อน เอาไว้เดี๋ยวจะทำวิธีใช้ระบบนี้ให้อ่านเพิ่มเติมในตอนต่อๆ ไปครับ แล้วเจอกันใหม่

อ่าน : เส้นทางสู่รอกเบทเบาที่สุดในโลกของ Shimano Aldebaran

Advertisements
แหล่งที่มาikahime