ฉลามและกระเบน 18 ชนิดมีจำนวนลดลงถึง 70%
จากผลการติดตามจำนวนฉลามและปลากระเบนตั้งแต่ปี 1970 พบว่ามีจำนวนมากถึง 18 ชนิดที่มีจำนวนลดลงไปมากถึง 70% ซึ่งมันมีโอกาสเสี่ยงมากที่จะสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิงในระยะเวลาไม่กี่ทศวรรษนี้
ทีมนักวิจัยได้บันทึกจำนวนของฉลามครีบขาว จัดเป็นฉลามที่พบได้แทบทุกที่ในช่วงปี 1970 แต่หลังจากการบันทึกจำนวนพวกมันทำให้พวกเราถึงกับอึ้ง จำนวนพวกมันลดลงไปถึง 90% ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้จะถือว่ามันยังมีจำนวนเยอะอยู่ แต่สิ่งนี้ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
ฉลามหัวค้อนก็พบชะตามกรรมไม่ต่างกัน แม้ว่าการประมงจะไม่ค่อยสนใจฉลามมากนัก แต่กระนั้นครีบและน้ำมันตับของพวกมันก็มีค่ามาก ซึ่งสิ่งนี้สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างหนัก
การรวบรวมข้อมูล
ในปัจจุบันนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูลของฉลามและกระเบน 18 สายพันธุ์ ที่ตอนนี้อยู่ในรายงานของรัฐบาลอเมริกา มันถูกเก็บมานานจนไม่อัพเดท สิ่งที่สำคัญคือการกระตุ้นให้ความรู้กับสาธารณะชนเกี่ยวกับพวกปลาเหล่านี้ ทำให้หน่วยงานต่างๆ เริ่มเข้ามาให้ความสำคัญรวมถึงได้ข้อมูลใหม่ๆ
ทีมนักวิจัยได้ข้อมูลของตั้งแต่ปี 1905 – 2018 มากถึง 900 ไฟล์ซึ่งไฟล์พวกนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของประชากรฉลามในแต่ละน่านน้ำ และจากคอมพิวเตอร์ที่ช่วยย่นเวลาการคำนวนทำให้ได้ข้อมูลอัพเดทที่สุดของจำนวนพวกมันในปัจจุบัน
อีกปัญหาคือการจับปลาแบบผิดวิธี หลายครั้งอวนของเรือประมงได้จับฉลามและกระเบนมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ยิ่งในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจำนวนฉลามที่ติดมากับอวนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมากถึง 3 เท่า ซึ่งจากการที่ฉลามในปัจจุบันมีจำนวนลดลงหมายความว่า โอกาสที่ฉลามจะถูกจับในช่วงปี 1970 มีมากกว่าในปัจจุบันถึง 18 เท่า!
ปัญหาใหญ่ในเขตร้อน การเปลี่ยนชนิดเหยื่อ
ในส่วนจุดที่มีปัญหาจำนวนประชากรฉลามและปลากระเบนลดลงมากสุดคือในเขตร้อน เมื่อฉลามและกระเบนขนาดใหญ่หายากขึ้น ชาวประมงก็หันไปจับพวกที่มีขนาดเล็กแทน Holly Kindsvater นักชีววิทยาด้านประชากรสัตว์น้ำ ได้ศึกษากระเบนราหูหลายชนิดพบว่าประชากรบางส่วนอาจลดจำนวนได้ถึง 85% ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
แม้ผู้คนจะกินเนื้อมันด้วย แต่กับครีบของพวกมันนั้นเพิ่งมาได้รับความนิยมมากขึ้นในยาจีน การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เห็นว่าชาวประมงสามารถเปลี่ยนไปล่าสายพันธุ์อื่นๆ ได้เมื่อสัตว์ที่ล่าประจำหายากขึ้น
“ถึงแม้เรือประมงจะไม่ได้เน้นที่ฉลามและกระเบนจนหมด แต่การล่าปลาชนิดอื่นๆ เช่นปลาทูน่าและการล่าที่มากไปก็จะส่งผลกับพวกมันได้”
หาทางออกในเรื่องนี้
ผลกระทบของการจับปลาที่มากเกินไป ควรถูกกระตุ้นให้รัฐบาลแต่ละประเทศออกกฏเกณฑ์เพื่อให้การประมงนั้นถูกต้อง และสามารถจับปลาได้ตลอดไป เพราะไม่งั้นไม่ใช่แค่ฉลามที่ได้รับผลกระทบแต่จะเป็นมนุษย์เองด้วย
แต่หนทางนั้นยังอีกยาวใกล้ ถึงแม้การห้ามจับฉลามมาโกในแอตแลนติกเหนือจะได้ผลในสหรัฐ แต่พวกมันในยุโรปก็ยังถูกจับ ส่วนใหญ่มาจากสเปน ส่วนวิธีแก้ปัญหาอื่นๆ นั้นได้แก่การสร้างเขตอนุรักษ์ทางทะเล หรือเขตห้ามจับสัตว์น้ำในจุดที่มีฉลามมากมาย
Jessica Cramp ผู้ก่อตั้งองค์กรวิจัยและอนุรักษ์ทางทะเล Sharks Pacific และ National Geographic Explorer เห็นด้วยกับเรื่อง เธอได้ช่วยสร้างพื้นที่คุ้มครองหลายแห่ง และเขตรักษาพันธุ์ฉลามในหมู่เกาะคุก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสายพันธุ์ปลาอพยพรวมถึงฉลาม “สิ่งเหล่านี้อาจเป็นที่หลบภัยของสิ่งมีชีวิตเช่นปลาฉลามขาว”