กิ้งก่าครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดนี้อาศัยอยู่ตามลำธารของคอสตาริกาและปานามา มันสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 16 นาที ซึ่งช่วยให้มันซ่อนตัวจากนักล่าและยังหาอาหารใต้น้ำได้ โดย Lindesy Swierk นักนิเวศวิทยาที่เข้าไปศึกษาพฤติกรรมของสัตว์เป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญ ระหว่างการใช้กล้องสำรวจสิ่งมีชีวิตในลำธาร
“มันง่ายที่จะจินตนาการว่าสัตว์ขนาดเล็กนี้ ได้ใช้ฟองอากาศช่วยในการหายใจทำให้มันหลบซ่อนจากนักล่าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการวิวัฒนาการครั้งใหม่” แต่คำถามสำคัญคือมันทำอย่างไรให้สามารถอาศัยอยู่ใต้น้ำได้นานขนาดนี้
ทีมนักวิจัยยังค้นคว้าเกี่ยวกับระบบการหายใจใต้น้ำของสัตว์ชนิดนี้ พวกเขาพบว่ากิ้งก่าครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดนี้สามารถหายใจซ้ำๆ ได้ โดยการนำอากาศที่หายใจออกซึ่งติดตามผิวหนังกลับมาใช้อีกครั้งได้
นักวิจัยเชื่อว่าระบบผิวแบบไฮโรโฟบิก ที่ได้จากกิ้งก่าอาโนลอาจจะเป็นหนทางสู่การวิวัฒนาการสำหรับการเริ่มปรับตัวใช้ชีวิตในน้ำของกิ้งก่าชนิดนี้ ซึ่งระบบการหายใจแบบนี้ออกแบบสำหรับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำโดยเฉพาะ และฟองอากาศที่อยู่รอบตัวของมัน อาจจะมีความสามารถในการขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วปล่อยออกทางช่องทางอื่น เหลือแต่เพียงออซิเจนไว้เท่านั้น เรียกได้ว่าล้ำหน้ากว่าการหายใจแบบใช้ถังอากาศที่มนุษย์ใช้ในการดำน้ำมาก ซึ่งไอเดียนี้ทำให้เริ่มมีการคิดค้นถังอากาศแบบใหม่ที่สนับสนุนไอเดียนี้
“ระบบการหายใจที่ใช้ฟองอากาศที่เก็บตามผิวหนังนี้ได้นำไปสู่คำถามมากมาย อย่างเช่น อัตราการใช้ออกซิเจนจากฟองอากาศนั้น ทำให้ระบบการหมุนเวียนเลือดของกิ้งก่าเพิ่มมากขึ้นขนาดไหน และการดำนํ้านี้ช่วยในการปรับอุณหภูมิร่างกายของมันให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในน้ำหรือไม่?’’
แต่กระนั้นยังมีแผนสำหรับโครงการในอนาคตที่จะทำให้เข้าใจการวิวัฒนาการของมันให้ดีขึ้น กิ่งก่าอาโนลนั้นเป็นกิ้งก่าที่มีความพิเศษ มันอาจจะยังนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ ที่จะช่วยเหลือพวกเราได้มากขึ้นก็เป็นได้