นักวิจัยพ่น ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ ให้สิงโตเพื่อดูว่ามันจะเป็นมิตรมากขึ้นหรือไม่?

ดูเหมือนว่า "love drug oxytocin" (ออกซิโทซิน) จะมีผลดีต่อแมวตัวใหญ่ที่เลี้ยงอยู่ในกรงขัง สิงโตและถุงมือสังหารขนาดยักษ์ของพวกมันมีแนวโน้มที่จะก้าวร้าว เมื่อมันต้องไปอยู่กับสิงโตแปลกหน้า แต่การฉีดพ่นออกซิโทซินที่จมูกของพวกมัน ก็สามารถทำให้สัตว์พวกนี้มีอันตรายน้อยลงเล็กน้อย

สิงโต

การใช้ยาแบบใหม่นี้ถูกคิดค้นโดยนักชีววิทยาสัตว์ Craig Packer และนักประสาทวิทยา Sarah Heilbronner จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา ซึ่งตีพิมพ์ผลการวิจัยของพวกเขาไว้ใน iScience .. มันจะช่วยให้สิงโตเป็นมิตรมากขึ้น และได้ผลเร็วขึ้นด้วย

Jessica Burkhart ผู้เขียนคนแรกกล่าวว่า “การพ่นออกซิโทซินไปที่จมูกโดยตรง มันจะสามารถเดินทางผ่านเส้นประสาทไตรเจมินัล เส้นประสาทรับกลิ่นสุดท้ายจะไปยังสมองได้โดยตรง”

สิงโตที่เข้ารับการทดลอง (ทั้งหมด 23 ตัว) แสดงอาการเป็นมิตรมากขึ้นในทันที และพวกมันเองก็เริ่มมีความอดทนต่อสิงโตตัวอื่นๆ “คุณสามารถเห็นลักษณะที่แสดงออกของพวกมันดูอ่อนลงทันที พวกมัยเปลี่ยนจากรอยย่นที่ดูก้าวร้าวไปจนถึงท่าทางที่สงบโดยสิ้นเชิง” Burkhart กล่าวในแถลงการณ์




เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาและวัดระดับความทนทานของยา นักวิจัยจึงส่งของเล่นฟักทองชิ้นโปรดให้พวกมันเล่น สิงโตที่ยังระแวงจะรักษาระยะห่างระหว่างกันประมาณ 7 เมตร แม้จะถูกล่อด้วยฟักทอง แต่สิงโตที่พ่นออกซิโตซินจะอยู่ห่างจากกันไม่เกิน 3.5 เมตร

อย่างไรก็ตาม ความผลของออกซิโทซินได้ระเหยไปเมื่อพวกมันต้องอยู่ต่อหน้าอาหาร เพราะสิงโตจะไม่ยอมให้ผู้บุกรุกเข้าใกล้เนื้อของพวกมันแม้แต่ตัวที่ได้รับออกซิโทซิน

การหาวิธีปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสิงโตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงนั้น มีประโยชน์มากในสถานการณ์ที่พวกมันถูกจับ เนื่องจากมนุษย์บุกรุกเข้าไปในดินแดนที่สิงโตอาศัยอยู่ พวกมันและสัตว์อื่นมักจะถูกย้ายเข้าไปในเขตสงวนที่มีรั้วล้อมรอบ ในขณะที่เขตสงวนจะทำให้สัตว์ปลอดภัย แต่พวกมันก็วางไว้ใกล้กับสิงโตตัวอื่น ปัญหาการต่อสู้กันจึงเกิดขึ้นเสมอ




สุดท้ายความหวังของสิ่งนี้คือการช่วยให้สัตว์ต่างๆ ที่ถูกย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ จะสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้น “ออกซิโทซิน” จะช่วยให้ความอยากรู้อยากเห็นและความหวาดกลัวน้อยลง และนำไปสู่การผูกสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาiflscience