จิ้งเหลนขาจิ๋ว สัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกที่สามารถ ‘สืบพันธุ์แบบสองมิติ’

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์รายงานว่าสังเกตเห็นจิ้งเหลนขาจิ๋ว Three-toed skink (Saiphos equalis) สามารถวางไข่และให้กำเนิดลูกเป็นตัวในครอกเดียวกัน นี่เป็นครั้งแรกที่สัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถทำได้แบบนี้

จิ้งเหลน

จิ้งเหลนขาจิ๋วหรือจิ้นเหลนสามนิ้ว เป็นหนึ่งในสัตว์ที่สามารถ “สืบพันธุ์แบบสองมิติ” เพียงไม่กี่ชนิดที่เราเคยพบ สัตว์ที่วางไข่และบางชนิดสามารถให้กำเนิดลูกเป็นตัวได้ แต่เราไม่เคยเห็นใครทำทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน การสังเกตครั้งแรกของโลกนี้สามารถช่วยแนะนำการวิจัยของเราเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการตั้งท้องของสัตว์พวกนี้ได้

การผสมผสานที่น่าแปลกใจ

Advertisements

จิ้งเหลนพวกนี้มีถิ่นกำเนิดที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย ในเขตที่ราบสูงทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ซึ่งพวกที่พบแถวนั้นมักจะเป็นพวกที่ยังไม่โต ในขณะกลุ่มที่อยู่ในและรอบๆ ซิดนีย์จะเป็นพวกที่ใกล้จะวางไข่ Dr. Camilla Whittington แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์รายงานเกี่ยวกับจิ้งเหลนตัวหนึ่งซึ่งออกไข่สามฟอง และสัปดาห์ต่อมาก็ให้กำเนิดลูกที่ออกมาเป็นตัว

Dr. Camilla Whittington จาก School of Life and Environmental Sciences และ Sydney School of Veterinary Science แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า “นี่เป็นการค้นพบที่ไม่ธรรมดามาก”

“เรากำลังศึกษาพันธุกรรมของจิ้งเหลนเหล่านี้ เมื่อเราสังเกตเห็นตัวเมียตัวหนึ่งออกไข่ 3 ฟอง” หลายสัปดาห์ต่อมามันได้ให้กำเนิดลูกอีกตัว ซึ่งครั้งออกมาเป็นตัว การได้เห็นตัวอ่อนนั้นเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมาก! ..คาดว่าการค้นพบนี้ทำให้สัตว์ตัวนี้ซึ่งดูเหมือนงูที่มีขาเล็กๆ ได้เป็นหนึ่งใน “กิ้งก่าที่แปลกประหลาดที่สุดในโลก”

ทีมงานได้เขียนข้อสังเกตของพวกเขา พร้อมกับใช้กล้องจุลทรรศน์ขั้นสูงกับเปลือกไข่ พวกเขาอธิบายว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกวางไข่ และบางตัวมีวิวัฒนาการมานับพันปี เพื่อให้ลูกอยู่ในร่างกายในขณะที่พวกมันพัฒนา ในที่สุดระยะเวลาที่พวกมันทำเช่นนั้นก็นานขึ้นและนำไปสู่การให้กำเนิดลูกแบบเป็นตัว

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมักเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ประเภทนี้ แต่มีสัตว์เลื้อยคลานสมัยใหม่หลายชนิดที่ให้กำเนิดแบบนี้ ตั้งแต่เต่าและกิ้งก่าไปจนถึงงู จระเข้ และอาจจะรวมถึงไดโนเสาร์บางชนิด

อย่างไรก็ตาม การค้นหาสัตว์ที่สามารถวางไข่และออกลูกเป็นตัวได้เป็นการค้นพบที่เหลือเชื่ออย่างแท้จริง ทีมงานเปรียบมันเหมือนการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการวิวัฒนาการ ทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้น ทีมงานหวังว่าการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้จะช่วยให้เราทราบได้ว่าการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร

“ในบริบทของชีววิทยาวิวัฒนาการ ความสามารถในการสลับไปมาระหว่างการวางไข่และการให้กำเนิดแบบออกลูกเป็นตัว อาจทำให้สัตว์สามารถป้องกันความเสี่ยงจากการเดิมพันได้ตามสภาพแวดล้อม” Dr. Camilla Whittington กล่าวเสริม

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements