กรมอุทยานแห่งชาติฯ ตั้งคณะทำงาน 1 ชุดพิจารณาความเป็นไปได้ปลดนกกรงหัวจุก พ้นบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง กระบวนการแก้ระเบียบเอื้อคนเลี้ยง ผู้ค้าที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่กลุ่มคนเลี้ยง-ธุรกิจกรง หนุนปลดบัญชี เหตุสร้างรายได้และเป็นวิถีชีวิต
“อยากให้มีการปลดนกกรงหัวจุก ออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง อยากให้ผลักดันจริงจัง เคยผลักดันมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ยังไม่สำเร็จ คนเลี้ยงตามบ้านเป็นวิถี เกิดมาเห็นนกในบ้านทุกหลัง 2-3 ตัว”
โดยอ้างว่าประชาชนเสนอผ่านผู้บริหารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ต้อง การให้ปลด “นกกรงหัวจุก” ออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
เสน่ห์ของนกกรงหัวจุก?
“มัน” หนึ่งในผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก บอกว่า ที่บ้านเลี้ยงนกกรงหัวจุก 10 ตัว เลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2002 ทยอยเข้ามา บางส่วนก็มาจากนกที่เลี้ยงจับคู่กัน บางตัวก็แบ่งมาเพื่อนบ้านที่เพาะลูกนก จึงไม่ได้แจ้งครอบครอง และยอมรับว่า บางส่วนผู้เลี้ยงเองก็ไปจับจากพื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เอามาจากรังตอนที่ยังเล็กๆ
“ชอบเสียงของนกกรงหัวจุก แต่ละตัวจะร้องเพลงไม่เหมือนกัน สำนวนของนก กี่พยางค์เขานับคำตรงนี้แล้วเสียงเต็ม แรกๆ จะใช้ยูทูปเปิดเพลงให้นกฟัง ให้เขาเลียนเสียง แต่บางตัวฉลาดหน่อย ฟังเสียงเพื่อนก็เลียนเสียง และพัฒนาเสียงจากนกตัวอื่นๆ”
สุดท้ายสำหรับเรื่องการปลดนกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ก็ยังอยู่ในขั้นตอนทบทวน เรื่องเวลาอาจจะเร็วหรือช้า เพราะยังไงซะเรื่องนี้ก็เคยถูกนำมาพูดถึงกันเมื่อหลายปีก่อนแล้ว ยังไงก็ต้องรอดูกันต่อไป
เกี่ยวกับนกกรงหัวจุก
นกปรอดหัวโขน หรือ นกปรอดหัวจุก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นกกรงหัวจุก (Red-whiskered bulbul) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnonotus jocosus เป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมด 109 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบได้ 36 ชนิด
นกกรงหัวจุกเป็นนกขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร มีสีสันสวยงามและเสียงร้องไพเราะ ที่แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน อันเป็นที่มาของชื่อ ใต้ท้องมีขนสีขาว พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก
นกปรอดหัวโขนหากได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง สามารถมีอายุยืนนานได้ถึง 11 ปี และนกตัวใดที่มีเสียงร้องไพเราะและได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดแข่งขัน อาจมีสนนราคาถึงหลักล้านบาท
“ปัจจุบัน นกปรอดหัวโขน เป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535”