หนูหงอนแอฟริกาคล้ายเม่น
จริงๆ แล้วหนูชนิดนี้มีหน้าตาคล้ายเม่นตัวเล็กๆ มากกว่าจะเป็นหนูซะอีก ขนาดโตเต็มที่ 14 – 21 นิ้ว มีขนค่อนข้างยาว และบางส่วนเป็นหนามอีกต่างหาก
หนูหงอนแอฟริกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ Lophiomys imhausi แม้หนูชนิดนี้จะมีพิษร้ายแรง แต่มันก็ไม่ใช่นักฆ่าที่ดุร้าย แต่ถึงงั้นหากมนุษย์ไม่ระวังแล้วไปโดนขนของมัน ก็อาจตายได้เช่นกัน
ที่มาของพิษ ไม่เหมือนพิษงู
ตัวหนูเอง ไม่สามารถสร้างพิษเองได้ หากย้อนกลับไปในปี 2011 มีการศึกษาครั้งแรกเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ผิดปกติของหนูชนิดนี้ โดยพวกเขาคิดว่าหนูชนิดนี้ได้สกัดเอาสารพิษของต้นไม้ลูกศรพิษ (Acokanthera schimperi )
ซึ่งปกติแล้วมนุษย์จะใช้ทำลูกศรอาบยาพิษสำหรับล่าสัตว์ .. นักวิจัยคิดว่ามันสร้างหงอนที่คล้ายหนาม แล้วนำพิษจากต้นไม้พิษทาบนหงอนของมันหรือเปล่า?
เพื่อค้นหาว่ายาพิษเป็นเรื่องธรรมดาของพวกมันหรือไม่ นักวิจัยจึงจับหนูหงอนแอฟริกัน 25 ตัว หลังจากนั้นพวกเขาติดตาม และตรวจสอบนานกว่า 1 พันชั่วโมง
พวกเขาพบว่าหนูพวกนี่มีการรวบรวมสารพิษจาก Acokanthera อย่างเป็นปกติ และมันกัดเปลือกไม้ รวมทั้งชิ้นส่วนของต้นไม้ แล้วสกัดพิษออกมาทาที่ขนของมัน และที่น่าแปลกคือพิษไม่มีผลกับตัวมัน ..แต่ที่น่าทึ่งอีกอย่างคือพฤติกรรมทางสังคมของพวกมัน ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป
สรุปคือแม้ว่าหนูหงอนจะมีพิษร้าย (ในธรรมชาติ) แต่พวกมันก็เป็นสัตว์กินพืชที่รักสงบ โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในการกินอาหาร เพื่อผสมพันธุ์ ดูแลกัน หรือปีนกำแพงขึ้นไปนอนในรัง นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่าจะเป็นสัตว์ที่จับคู่ครั้งเดียวแล้วอยู่ด้วยกันตลอดไป
“มันถือเป็น ‘กล่องดำ’ ของสัตว์ฟันแทะ” ในตอนแรกเราต้องการยืนยันว่าพฤติกรรมการกักเก็บสารพิษเป็นเรื่องจริง และในระหว่างนั้นก็ได้ค้นพบบางสิ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคม การค้นพบของเรามีผลต่อการอนุรักษ์สำหรับหนูที่ลึกลับและเข้าใจยากตัวนี้”