หมูป่า 10 นิ้ว ‘ตัวเล็กที่สุดในโลก’ ที่คิดว่าสูญพันธุ์ ตอนนี้กำลังกลับคืนสู่ป่า

ในบริเวณเขตทุ่งหญ้ารกสูงใกล้กับเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่หมูป่าแคระที่ใกล้สูญพันธุ์ สายพันธุ์นี้เล็กจนสามารถเอาใส่ในเป้ได้ มีความสูงเพียง 10 นิ้ว หมูป่าขี้อายตัวนี้ท่องไปทั่วบริเวณใกล้ชายแดนของอินเดีย เนปาล และภูฏาน หากินรากไม้และแมลงเป็นอาหาร

หมูป่า

แต่ศตวรรษที่ผ่านมามีการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน ทั้งนี้ก็เพื่อการเกษตรและถิ่นอาศัยของมนุษย์ ทำให้พวกมันแทบจะหายไป และในการสำรวจปี 1971 ทำให้เชื่อว่าพวกมันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ..เพราะไม่พบพวกมันเลย

ในช่วงกลางยุค 90 นักอนุรักษ์ธรรมชาติได้เจอพวกมันอีกครั้ง และได้นำพวกมันบางส่วนกลับมาเพื่อทำการเพาะพันธุ์ และปล่อยกลับไปยังเขตรัฐอัสสัม ทางเหนือของอินเดียที่ซึ่งพวกมันยังมีชีวิตอยู่ที่นั้น

25 ปีต่อ ผลของโครงการนี้ส่งผลอย่างดี จำนวนพวกมันมีมากขึ้น 300-400 ตัวในธรรมชาติ และอีก 76 ตัวในที่เลี้ยง และจำนวนพวกมันค่อยๆ เพิ่มอย่างช้าๆ

จากความสำเร็จของโครงการนี้นั้นได้นำไปสู่ความพยายามในการคืนที่อยู่ในเขตอื่นที่พวกมันเคยอยู่ ในระหว่างปี 2008 ถึง 2020 นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการปล่อยหมูป่าแคระ 130 ตัวในสองอุทยานแห่งชาติ Manas และ Orang และสองเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Barnadi และ Sonai Rupai ทั้งหมดอยู่ในรัฐอัสสัม

นอกจากนี้ยังแผนที่จะปล่อยหมูป่าอีก 60 ตัวในอุทยาน Manas ในอีก 5 ปีข้างหน้า กล่าวโดย Parag Deka ผอ.โครงการ อนุรักษ์หมูป่าแคระ ซึ่งอยู่ในเมือง Guwahati เมืองหลวงของรัฐอัสสัม

“มันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผมที่จะต้องให้สายพันธุ์รอดจากการสูญพันธุ์ เราทุกคนรักชีวิตของเรา และพวกมันก็รักชีวิตของพวกมันเหมือนกัน และควรให้โอกาสพวกมันได้กลับคืนถิ่นที่เคยอยู่อาศัย”

หมูป่าที่ไม่ธรรมดา

Advertisements

มีหมูป่ามากถึง 17 สายพันธุ์อาศัยอยู่ทั่วโลก และส่วนมากพวกมันเริ่มถูกคุกคาม แต่อะไรที่ทำให้หมูป่าแคระนั้นพิเศษกว่าถ้าไม่นับขนาดของมัน สิ่งนั้นคือการวิวัฒนาการของพวกมัน มันเป็นสายพันธุ์เดียวของหมูโบราณตระกูล Porcula ที่ยังอยู่มาจนทุกวันนี้ กล่าวโดย Matthew Linkie ผู้ประสานงานฝั่งเอเซียของหน่วยงานอนุรักษ์พันธุ์หมูป่า

“ถ้ามันสูญพันธุ์ไป นั้นเท่ากับว่าทั้งสายพันธุ์ของพวกมันก็จะหมดไปจากโลก และการวิวัฒนาการของพวกมันก็จบลง”

โครงการนี้ทำให้พวกมันมีโอกาสรอดมากขึ้น และยังช่วยปกป้องหมูป่าแคระในที่เลี้ยงจากโรคด้วย อย่างเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู ซึ่งโรคนี้โผล่มาในเขตนี้ในช่วงปี 2020 พร้อมกับโควิด 19

ในศูนย์เพาะเลี้ยงหมูป่าแคระนั้นได้รับการตรวจความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเต็มที่สำหรับเจ้าหน้าที่ ยานพาหนะและอุปกรณ์เมื่อเข้ามาใช้เขตที่เลี้ยง

“เรามั่นใจว่าจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องพวกมั้น แม้แต่จากโรคต่างๆ”

“การค้นพบครั้งใหม่”

มันถูกพบโดยนักสำรวจตะวันตกในปี 1847 หมูป่าแคระนั้นยากที่จะพบในตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ด้วยขนาดที่เล็กของมัน ในหนังสือ สัตว์ป่าของอินเดีย ในปี 1964 นักธรรมชาติวิทยา Edward Pritchard Gee เขียนไว้ว่า เขาได้พยายามที่จะหาหมูป่าแคระเพื่อพิสูจน์ว่ามันยังมีอยู่

Advertisements

ซึ่งการที่มันหายากทำให้รายละเอียดเกี่ยวกับนิสัยและการใช้ชีวิตมันนั้นหายาก หมูป่าแคระที่โตแล้วมีน้ำหนักอยู่ที่ 6-9 กิโลกรัม มักซ่อนตัวในหญ้าสูงเพื่อปกป้องพวกมันจากนักล่าอย่างงูเหลือมและอีกา และยังเป็นที่ปลอดภัยสำหรับรวบรวมวัสดุในการสร้างรัง

หมูป่าแคระจะใช้หญ้าสูงในการสร้างเป็นหลังคาที่รังของพวกมัน โดยปกติพวกมันจะอยู่กันเป็นครอบครัวประมาณ 3-5 ตัว โดยหมูป่าตัวผู้จะเข้ามาอยู่ด้วยไม่กี่เดือนช่วงฤดูผสมพันธุ์

ในปี 1971 หลังจากการพบเห็นครั้งสุดท้ายนั้น แรงงานในไร่ชาได้จับหมูแคระจำนวนหนึ่งได้ ซึ่งพวกนั้นหนีไฟป่ามากจากเขตอนุรักษ์ Barnadi ในรัฐอัสสัม นับว่าโชคดีที่เจ้าของไร่ที่มีชื่อว่า Richard Graves ได้ซื้อหมูป่าทั้งหมดมาจากคนงานและรวมถึงตัวที่โดนเอาไปขายในตลาดแล้วด้วย ซึ่งโชคดีที่เขาช่วยมาได้ทั้งหมด

เจ้านายของ Graves ที่มีชื่อว่า John Yandel ได้แจ้งนักธรรมชาติวิทยา Gerald Durrell ผู้ก่อตั้งโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เดินทางมายังรัฐอัสสัมเพื่อตรวจหมูพวกนี้ และก็เป็นการเริ่มต้นโครงการเพาะพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ในปี 1996

เมื่อหมูป่าในการเพาะเลี้ยงอายุได้ 6 เดือน จะถูกย้ายไปยังพื้นที่กลางแจ้งสำหรับเตรียมปล่อยในธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้หมูพวกนี้ปรับตัวสำหรับการใช้ชีวิตในธรรมชาติได้ หลังจากการปล่อยหมูคืนสู่ป่า พวกมันจะถูกติดตามด้วยกล้องและไมโครซิป

ทะเลทรายสีเขียว

โครงการขยายพันธุ์หมูป่าแคระนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทางออก พวกมันต้องการทุ่งหญ้าที่มีสภาพดี ซึ่งมีขนาดกว้างขวางพอสมควร แต่มันก็เป็นการยากที่จะหาพื้นที่แบบนั้น เพราะบริเวณทุ่งหญ้าของรัฐอัสสัมถูกทำลายเพื่อสร้างพื้นที่เกษตรกรรม และเขตอนุรักษ์ Barnadi ที่ซึ่งหมูแคระถูกพบในปี 1971 พื้นที่ทุ่งหญ้านั้นถูกทำลายไปจำนวนมาก

ในอดีตที่ผ่านมา การทำเกษตรแบบผิดกฏหมายนั้นได้เผาทำลายทุ่งหญ้าจนคุกคามหมูป่าแคระ ซึ่งสร้างปัญหาอย่างมากทั้งการหาที่ทำรังได้ยากขึ้นและทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อของนักล่าได้ง่ายกว่าเดิม และการเผายังกระตุ้นให้วัชพืชให้เติบโตและแทนที่หญ้าพื้นเมือง “มันดูเขียวขจีมาก แต่ฉันเรียกมันว่าทะเลทรายสีเขียว เพราะไม่มีอะไรสามารถเติบโตได้ที่นั่น” กล่าวโดย Deka

ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ทางทีมงานต้องทำงานร่วมกับทางชุมชนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อลดแรงกดดันระหว่างชาวบ้านและทางการ และเพิ่มการพัฒนาให้ดีกว่านี้

การสร้างแนวกันไฟระหว่างแนวของทุ่งหญ้า เพื่อทำให้มั่นใจว่าแนวเปลวไฟนั้นไม่ไปยังเขตอื่นในช่วงการเผา ทำให้พืชใหม่ได้เติบโตขึ้นในเขตนี้ โดยเป้าหมายของเรานั้นต้องการเพิ่มพื้นที่อย่างน้อย 11 ตารางไมล์ของทุ่งหญ้าในอุทยาน Manas ในปี 2025 ณ เวลานี้โครงการฟื้นฟูประชากรหมูป่าแคระนั้นกำลังเพิ่มขึ้นทีละนิด ..ซึ่งถือเป็นข่าวดี

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements