การค้นพบ ‘ไดโนเสาร์ไทย’ ที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของทีเร็กซ์

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอนน์และพิพิธภัณฑ์สิรินธรในประเทศไทย ได้ระบุไดโนเสาร์ใหม่สองสายพันธุ์ พวกเขาวิเคราะห์ซากฟอสซิลที่ถูกค้นพบเมื่อปี 1993 ซึ่งก็ราว 30 ปีที่แล้วในประเทศไทย ทั้งสองสายพันธุ์เป็นญาติห่างๆ ของไทแรนโนซอรัสที่โด่งดัง แต่พวกมันมีลักษณะที่ค่อนข้างเก่าแก่มากกว่า แต่ก็ยังเป็นนักล่าที่มีประสิทธิภาพมากอยู่ดี

เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อราว 30 ปีก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ไทยคนหนึ่ง ค้นพบกระดูกฟอสซิลบางส่วน และได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑ์สิรินธร แต่ก็ไม่เคยตรวจสอบสิ่งที่ได้รับมาอย่างละเอียด และมันก็ถูกเก็บไว้อย่างนั้น

“เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมค้นพบสิ่งเหล่านี้ระหว่างการวิจัย” คุณอดุลย์ สมาธิ นักบรรพชีวินวิทยาชาวไทย ผู้กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่สถาบันธรณีวิทยา วิทยาแร่และบรรพชีวินวิทยา Steinmann ที่มหาวิทยาลัยบอนน์ กล่าวถึงการค้นพบ เขานำฟอสซิลบางส่วนมาที่นี่เพื่อวิเคราะห์ร่วมกับ Dr. Martin Sander หัวหน้างานระดับปริญญาเอกของเขาโดยใช้วิธีการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย




จากการตรวจสอบพบว่ามันเป็นกระดูกของไดโนเสาร์กินเนื้อจำพวก “เมก้าแรปเตอร์” (megaraptors ) พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง ที่ยังคงความลึกลับเนื่องจากพบชิ้นส่วนน้อยมาก เช่นเดียวกับทีเร็กซ์ พวกมันวิ่งและเดินด้วยสองขาหลังอันทรงพลัง แต่ต่างจากราชากิ้งก่า แขนของพวกมันแข็งแรงและมีกรงเล็บยาวที่มีนิ้วสามนิ้ว และมีหัวที่เรียวยาวคล้ายกับไดโนเสาร์จำพวกโดรมีโอซอร์หรือเวโลซีแรปเตอร์ผู้โด่งดัง

“เมื่อเราสามารถระบุกระดูกนี้ว่าเป็นของเมก้าแรปเตอร์ชนิดใหม่ได้ ซึ่งเราตั้งชื่อให้มันว่า ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenator yaemniyomi)” คุณอดุลย์ อธิบาย ชื่อนี้ให้เกียรติแก่อำเภอภูเวียง และผู้ค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ไทยตัวแรกคือ คุณสุดธรรม แย้มนิยม




ภูเวียงเวเนเตอร์น่าจะวิ่งได้เร็ว ด้วยความยาวประมาณ 6 เมตร มันจึงเล็กกว่าทีเร็กซ์ ซึ่งวัดได้ประมาณ 12 – 13 เมตร ปกติเมก้าแรปเตอร์ จะถูกค้นพบในอเมริกาใต้และออสเตรเลีย

“เราได้เปรียบเทียบฟอสซิลของไทยกับพวกมันที่นั่น” คุณอดุลย์กล่าว “ลักษณะต่างๆ ของภูเวียงเวเนเตอร์ บ่งบอกว่ามันมีอายุเก่ากว่าพวกที่พบในอเมริกาใต้และออสเตรเลีย เราใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เมก้าแรปเตอร์ มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆในภายหลัง”

ในระหว่างการวิจัยของเขาในประเทศไทย นักศึกษาระดับปริญญาเอกคนนี้ได้ค้นพบฟอสซิลที่ไม่สามารถระบุได้เพิ่มเติม มันเป็นของไดโนเสาร์กินเนื้อซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อยโดยมีความยาวประมาณ 4.5 เมตร เนื่องจากชิ้นส่วนที่น้อยเกิดทำให้ไม่สามารถระบุชนิดได้แน่นอน




อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่าว่า “วายุแรปเตอร์ หนองบัวลำภูนีซิส (Vayuraptor nongbualamphuenisis)” พวกมันน่าจะใช้ชีวิตในบริเวณเดียวกันเมื่อช่วงต้นยุคครีเตเชียส “ถ้าจะให้เปรียบเทียบ ภูเวียงเวเนเตอร์คงเป็นสิงโต ส่วนวายุแรปเตอร์คงเป็นเสือชีตาห์” คุณอดุลย์กล่าว

Advertisements




ไดโนเสาร์ที่พบในไทย 16 ชนิด มี 9 ไดโนเสาร์เป็นสายพันธุ์ใหม่ในไทย

Advertisements

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เคยมีการขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในประเทศไทยแล้วกว่า 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก 9 ชนิด ได้แก่

  1. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus Sirindhornae)
  2. กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus Khonkaennsis)
  3. สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrannus Isanensis)
  4. สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus Suteethorni)
  5. อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ (Isanosaurus Attavipachi)
  6. ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ (Psittacosaurus Sattayaraki)
  7. สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon Nimngami)
  8. สิรินธรนา โคราชเอนซิส (Sirindhorna Khoratensis)
  9. ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus Suranareae)




อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาarchaeology